เพชฌฆาตประหารชีวิตนักโทษ บาปหรือไม่?


เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นจึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ

คำถาม : เพชฌฆาตประหารชีวิตนักโทษ บาปหรือไม่?

1.คำจำกัดความ,ความหมาย

1. ประหารชีวิต, ฆ่า = การทำชีวิตของมนุษย์หรือสัตว์ให้พรากจากกัน, ขาดจากกัน

2. บาป  = การกระทำความผิดข้อห้ามในศาสนา, ความชั่ว, ความมัวหมอง

In put  +   process = out put _  out come

เพชฌฆาต, นักโทษ +  ประหาร  = นักโทษเสียชีวิต  _  ? 

2.แสดงกระบวนการแต่ละขั้นตอนจนถึงการประหาร

คู่กรณีของจำเลย   "  จำเลย  "   โจทย์   "    ตำรวจ  "   ทนาย,อัยการ

                                                                                             ?

?  !    ประหาร     !      เพชฌฆาต   !    ผู้พิพากษา     !   คณะลูกขุน 

3.แสดงความเป็นเหตุและผล โดยหลักของการเป็นเหตุปัจจัย มีความเชื่อมโยง และอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนี้           

                              เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี

                              เมื่อสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นจึงเกิด

                              เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นก็ไม่มี

                              เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ

กรรม = การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ

กุศลกรรมบถ 10 = ผู้กระทำกรรมดี    "    บุญ    มีสวรรค์ภูมิเป็นที่ไป 

อกุศลกรรมบถ 10 = ผู้กระทำกรรมชั่ว   "   บาป  "   มีนรกภูมิเป็นที่ไป(ตามคำจำกัดความ,ความหมาย) 

กุศลกรรมบถ 10 ข้อที่ 1 = ไม่ฆ่าสัตว์ (ปาณาติบาต)  "   บุญ  "   มีสวรรค์ภูมิเป็นที่ไป                      

อกุศลกรรมบถ 10 ข้อที่ 1 = ฆ่าสัตว์ (ฆ่ามนุษย์)   "   บาป   "    มีนรกภูมิเป็นที่ไป 

เพชฌฆาตฆ่ามนุษย์(โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน) = อกุศลกรรม = บาป

[กุศล = สิ่งที่ดีที่ชอบ, กรรม = การกระทำทางกาย, อ = ไม่, อกุศลกรรม = การกระทำที่ไม่ดี]

เพชฌฆาตฆ่าตามหน้าที่โดยไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรองและมีค่าเงินเดือนตอบแทน นักโทษผิดจริงผู้พิพากษาวินิจฉัยถูก[บาป]

เพชฌฆาตฆ่าตามหน้าที่โดยไม่ใช้ปัญญาไตร่ตรองและมีค่าเงินเดือนตอบแทน นักโทษไม่ผิดวินิจฉัยผิด แพะรับบาป [บาป+บาป]

คู่กรณีของจำเลย + จำเลย + โจทย์,ผู้เสียหาย,ทายาท = ผู้มีกรรมต่อกัน

ตำรวจ + ทนาย + อัยการ + คณะลูกขุน + ผู้พิพากษา + เพชฌฆาต = ผู้มีกรรมร่วม

4. อภิปรายผล มีคำถามว่า

(1)    การทำความดี มีเมตตา กรุณาตามหลักพรหมวิหาร4 จะมีหนทางไปสู่นรกภูมิหรือไม่?ตอบว่า ไม่

(2)    การที่เพชฌฆาตทุกคนทำการประหารนักโทษหลายๆครั้งจะมีหนทางไปสู่สวรรค์ภูมิหรือไม่? ตอบว่า ไม่  เพราะ  ถ้าการที่เพชฌฆาตประหารชีวิตนักโทษแล้วเชื่อว่าได้ไปสวรรค์ ถ้าคุณมีความเชื่อเช่นนั้นจริง แล้วให้คุณไปเป็นเพชฌฆาต คุณจะเป็นหรือไม่  

          ดังเช่น : องคุลิมานตั้งเป้าหมายประหารชีวิตมนุษย์ให้ครบ 1,000 คน เพื่อบรรลุผลบางอย่างและได้ไปสวรรค์อันเป็นการเข้าใจผิด เพราะเป็นอวิชชา องคุลิมานประหารชีวิตมนุษย์ได้ 999 คน เหลืออีก 1 คน ก็จะครบ 1,000 คน องคุลิมานมาพบพระพุทธเจ้าและวิ่งไล่ตาม ไล่อย่างไรก็ไม่ทัน องคุลิมานจึงบอกให้พระพุทธเจ้าหยุด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิยังไม่หยุด ถ้าหากว่าการฆ่าทำให้องคุลิมานมีสวรรค์ภูมิเป็นที่ไปแล้วพระพุทธเจ้าจะทรงห้ามองคุลิมานมิให้ฆ่าคนเพิ่มอีกทำไม หากว่าการฆ่าคนไม่เป็นบาปก็ควรส่งเสริมการฆ่าสิ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ซึ่งการที่องคุลิมานฆ่ามนุษย์โดยที่เขาเหล่านั้นไม่เคยโกรธ เกลียด เคียดแค้นกันเลย คนเหล่านั้นก็อาจจะมีทั้งผู้บริสุทธิ์(คนดี) และผู้สมควรถูกฆ่า(คนชั่ว) ปะปนกันไป องคุลิมานฆ่าโดยเห็นผิดคืออวิชชา(ผู้พิพากษา) จากอกุศลกรรมคือธรรมฝ่ายชั่วให้ฆ่าคน 1,000 คน เพื่อบรรลุผลบางอย่าง จึงเปรียบ

          องคุลิมาน = เพชฌฆาต

พระพุทธเจ้าทรงห้ามองคุลิมานฆ่ามนุษย์ = พระพุทธเจ้าทรงห้ามเพชฌฆาตฆ่ามนุษย์ 

พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าองคุลิมานฆ่ามนุษย์เป็นบาป = พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าพชฌฆาตฆ่ามนุษย์เป็นบาป(บาปตามคำจำกัดความ ,ความหมาย)Ans(คำตอบฝ่ายธรรม) 

แต่ถ้าจะตอบคำตอบทางฝ่ายโลก คือ คู่กรณีจำเลย+โจทย์เป็นผู้เสียหาย,จำเลยกระทำความผิด,

กฎการอยู่ร่วมกันของสังคมคือการบังคับใช้กฎหมาย "  ตำรวจจับกุม"  ส่งอัยการฟ้องศาล

                                                                                                 $

สังคมว่าไม่บาป ! เกิดความชอบธรรม !  เพชฌฆาตประหาร ! ศาลวินิจฉัย

$

เป็นคำตอบฝ่ายโลก

คุณจะเชื่อพระพุทธเจ้าหรือคุณจะเชื่อใคร?

โดย

สักทอง ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง

หมายเลขบันทึก: 140207เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สำหรับการประหารชีวิต ในความคิดของนก
  • มันเป็นเรื่องของการกระทำ ที่ผู้ที่ถูกประหารได้กระทำไว้กับอีกชีวิตหนึ่ง ผลมันก็ย้อนกับมาหาผู้นั้นคะ
  • ถ้าเราทำ ผลเราก็ต้องรับคะ
  • เราปลูกมะม่วง ผลมันก็ออกมาเป็นมะม่วงคะ คงไม่ออกมาเป็นผลอย่างอื่นคะ
  • ขอบคุณมากคะสำหรับบันทึก

สวัสดีค่ะ

  กฎแห่งกรรมค่ะ อย่างไรการฆ่าก็ต้องบาป มากหรือน้อย อยู่ที่เจตนา

 อยากให้เพิ่มขนาดในบันทึกนี้ จะทำให้อ่านได้ชัดเจนขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ มีคำกล่าวว่า "ปลาเน่าตัวเดียว ไม่เอาออก มันจะเน่าหมดข้อง" เวรนั้นอโหสิได้ กรรมผู้ใดทำผู้นั้นรับ แต่ก็ปรวนแปรเปลี่ยนเหมือนองคุลิมาน เช่น ต้นมะพร้าวยังออกผลเป็นกล้วยให้คนไปกราบไหว้เลย สวัสดีครับ

ถ้าฆ่าในเมื่อ สิ่งที่ฆ่าเป็นประโยชน์ต่อหมู่ข้างมาก  .........น่าคิดครับ

  • เมื่อฆ่า ต้องเป็นบาป
  • หมึกหนึ่งหยดในแก้วน้ำเมื่อไม่มีน้ำ เห็นชัดเป็นน้ำหมึก ดื่มไม่ได้หรือไม่ดื่มแน่นอน
  • ครั้นเติมน้ำสะอาดลงไป หมึกก็เจือจาง แต่ไม่หายไปไหน หมึกก็คือหมึกอยู่ในนั้นแหละ
  • ยิ่งเติมน้ำสะอาดลงไปมากเท่าไร ก็เจือจางมากเท่านั้น
  • เปลี่ยนแก้ว เป็นเหยือก เป็นโถ เติมน้ำสะอาดลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ดื่มได้
  • ยิ่งคนไม่รู้ปฐมเหตุ ยิ่งดื่มได้อย่างสนิทใจ และเข้าใจว่าไม่มีน้ำหมึก
  • ถ้าน้ำหมึกคือบาป น้ำสะอาดคือบุญ
  • ถึงสุดท้ายจะเห็นว่าเป็นบุญ แต่บาปก็ยังคงเป็นบาปนะ

         ท่าน ทนัน ภิวงศ์งาม ได้เปรียบเทียบบาป บุญ ด้วย หมึกและน้ำ ทำให้เปรียบเทียบกับการฆ่าของท่านเพชฌฆาตเห็นได้เด่นชัดขึ้น ว่าบาปหรือไม่ ต้องขอขอบคุณท่านอย่างมากที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันความรู้ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท