เวทีแลกเปลี่ยน


ทุกภาคส่วนมาร่วมด้วยช่วยกัน

การสัมมนา โดยวิทยากร คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร

ทิศทางเกษตรปลอดภัยในอำเภอตะพานหิน ในมุมมองของ
ปลอดภัยเมื่อก่อนจะทำได้ยากมาก เพราะปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มักจะซื้อทุกอย่างเพื่อการบริโภค แม้กระทั่งเกษตรกรเองก็ปลูกเพื่อจำหน่าย แล้วไปซื้อผัก ซื้อข้าว กิน แต่ปัจจุบันมีการรวมตัวกันจนทำให้เกิดตลาดผักปลอดสารพิษขึ้น แต่ว่ามีเพียงที่ โรงพยาบาล อนาคตเกษตรกร คุณเจน สุริยะ : การที่จะทำให้เกิดการเกษตรเทศบาลขอให้ไปขายที่ในตลาดด้วย ก็เป็นนิมิตรหมายที่ดี และฝากให้ทุกคนคิดตามด้วยว่าทุกชีวิตรักตัวกลัวตาย อย่านำภัยร้ายจากสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เกษตรอำเภอตะพานหิน คุณนนทญา... :
รู้สึกดีใจที่มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มีการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมที่เป็นการป้องกันภัยเงียบจากสารเคมี ซึ่งเกษตรกรมักนิยมใช้สารเคมีทุกขั้นตอนการผลิต และฝากให้เกษตรกรที่จะปลูกผักปลอดสารใช้ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นเพราะการแอบอ้างใช้ชื่อกลุ่มเกษตรปลอดภัยเพื่อจำหน่ายหากำไรด็โดยง่าย ในการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดสารพิษทางสำนักงานเกษตรอำเภอตะพานหินยินดีให้ความรู้ด้านพันธุ์พืช ผัก (แนะนำการเลือกพันธุ์) เทคนิคการปลูกการทำปุ๋ย น้ำหมัก ส่วนหน่วยงานอื่นเช่น รพ.และสาธารณสุขมีวิธีในการตรวจหาสารปนเปื้อนได้มากขึ้น จึงเป็นผลดีต่อสุขภาพของประชาชน ซึ่งในฤดูกาลที่มีการกินเจ ผักจะขายดีมากให้เกษตรกรปลูกผักตามฤดูกาลด้วย โครงการที่จะส่งเสริมการใช้เกษตรปลอดสารให้รวมกลุ่มกันแล้วเขียนส่งตามขั้นตอน น่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนแน่นอน รวมทั้งฝากเรื่องการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอด้วย ท้ายนี้ คนที่รับจ้างฉีดยาซึ่งน่าเป็นห่วงต้องใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น ทั้งนี้เกษตรอำเภอยินดีให้การสสนับสนุนอย่างเต็มที่
ผู้ผลิต/ผู้บริโภค/นายก อบต.วังหลุม : ในฐานะที่เป็นผู้บริโภค ได้เห็นผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลค่อนข้างเยอะมาก วันละประมาณ 300 กว่าคน ซึ่งการเจ็บป่วยของพี่น้องชาวตะพานหินน่าจะมาจากการกินอาหาร ที่ไม่ปลอดภัย ฉะนั้นผมจึงสรรหาพืชผักที่ปลอดภัยและเป็นยาด้วย เช่นการกินมะเขือเทศช่วยลดการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ รวมทั้งการทำนาปลอดสารด้วยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะป้องกันภัยเงียบนี้ได้ และอยากให้มีการรวมกลุ่มกันทำปุ๋ย ฮอร์โมนใช้เอง ขอฝากให้พี่น้องช่วยกันตระหนักถึงความสำคัญของอาหารการกิน ต้องกินอย่างปลอดภัยเพื่อสุขภาพอนามัยของพวกเราเอง “กินเป็นลืมป่วยได้” และ “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว”
หมออนามัย คุณวรรษา แดงทองดี หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลไผ่หลวง : เรื่องเกษตรปลอดภัยเป็นเรื่องของทุก ๆ คน ทุก ๆ ฝ่ายที่จะต้องช่วยกัน ทั้งนี้สถานีอนามัยทุกแห่งในเขตอำเภอตะพานหิน ทำหน้าที่เฝ้าระวัง ทั้งตรวจเลือดเกษตรกร ตรวจอาหาร สารปนเปื้อนต่าง ๆ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง แต่การจำหน่ายก็ยังคงจำหน่ายได้ต่อไป ซึ่งขอฝากให้เกษตรกรซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้บริโภคด้วยเช่นกัน
เภสัชกร คุณสมจินต์ มากพา : อาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน รวมทั้งยาที่ใช้ในการรักษาโรคด้วย เป็นสาเหตุของการป่วยด้วยโรคมะเร็ง ดังนั้นการดำเนินงานด้านเกษตรปลอดภัยจากสารเคมีก็จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้หน่วยงานด้านสาธารณสุขต้องดำเนินการเฝ้าระวังโดยการตรวจหาสารปนเปื้อนในผักผลไม้และอาหาร และจะพยายามส่งกลับผลการตรวจให้ จนท.ในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วขึ้น แต่ที่ผ่านมาไม่พบสารปนเปื้อน แต่พบในส่วนที่รับมาจากพิษณุโลก ในส่วนกลุ่มที่นำมาจำหน่ายที่แผงของเครือข่าย จะมีการเก็บตัวอย่างตรวจโดยสุ่มตรวจทุกสัปดาห์ และพื้นที่ที่มีกลุ่มปลูกเป็นแปลงจะไปเก็บตัวอย่างตรวจที่แปลง และจะมอบป้ายปลอดสารให้ เกษตรกร คุณประสิทธิ์ ติ้งฉิ่น
: ถามว่า การปลูกผักตอนลงปลูกเพื่อป้องกันแมลงโดยใส่ยาฆ่าแมลง จะมีฤทธิ์อยู่นานเท่าไร คุณเจน ตอบ : ฟูราดานจะอยู่ที่ต้นพืช นาน 3 เดือน ตกค้างในดิน เกือบ 100 ปี ต้องนำดินไปตรวจก่อนที่หมอดิน แล้วปรับสภาพดินโดยใช้ปูนขาว หรือใช้น้ำส้มควันไม้น้ำหมักชีวภาพช่วย เน้นควรปลูกพืชให้ตรงตามฤดูกาลด้วยจะช่วยลดปัญหาวัชพืชได้
คุณศักดิ์ ทองหมื่น : ปลานามีผลตรวจพบสารพิษตกค้าง 40% ปลาทับทิม มี 8% โดยแนะนำให้กินปลาประเภทหัวลอย เช่น ปลาทับทิม ปลาสร้อย ปลาตะเพียน ส่วนปลาหัวหนักที่หากินในดินจะพบสารพิษตกค้างมาก เช่น ปลาไหล ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาดุก แนวทางแก้ไข ควรเลี้ยงปลาไว้กินเอง หรือกินช่วงฤดูน้ำหลาก
หมายเลขบันทึก: 140008เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 08:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท