ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์กับปัญญา


"ปัญญา "   ถ้าพูดด้วย"ภาษา" ของฝ่ายปัญญานิยม(Cognitivism/Cognitive Psychology) แล้ว  ก็จะได้ว่า "ปัญญาคือความสามารถที่จะคิดแบบต่างๆ เช่น คิดแก้ปัญหา  คิดเหตุผล  คืดสร้างสรรค์  เป็นต้น"  คือ เน้นพฤติกรรมภายใน (Covert behavior)

และถ้าจะพูดด้วย "ภาษา"ของกลุ่ม พฤติกรรมนิยม หรือ Behaviorism แล้ว  ก็จะได้ว่า "ปัญญาคือ การชี้ได้  บอกได้  แก้ปัญหาได้ ถูกต้อง" คือเน้นที่ "การกระทำที่สังเกตได้

ถ้าพูดตามแนวคิดของกลุ่ม "วัตถุนิยม" (Materialism) ดังเช่นพวก Identity theorists  แล้ว  ก็จะพูดได้ว่า "ปัญญาคือ กิจกรรมของกลุ่มนิวโรนที่บริเวณเซเรบรัลคอร์เท็กซ์ เพื่อที่จะชี้ได้  บอกได้  แก้ปัญหาได้ถูกต้อง"  คือเน้นที่กระบวนการทางวัตถุ

ส่วน "อารมณ์นั้น  ถ้าพูดด้วยภาษาของ "ปัญญานิยม" ก็จะได้ว่า "อารมณ์คือ ความรู้สึกรัก  รู้สึกเกลียด  รู้สึกร่าเริง  รู้สึกเศร้า .... " ซึ่งล้วนแต่เป็น "พฤติกรรมภายใน(Covert Behavior) ทั้งสิ้น แต่ถ้าพูดด้วยภาษาของกลุ่ม "พฤคิกรรมนิยม" แล้วก็จะได้ว่า "อารมณ์คือ การกอดรัดเพศครงกันข้าม  การห้วร่อร่าเริง  การสะอื้นน้ำตาไหล ... " ซึ่งล้วนแต่เป็นพฤติกรรมแบบการกระทำ  หรือ Overt Behavior ทั้งสิ้น  และถ้าพูดด้วยภาษาของ "วัตถุนิยม"  แล้ว ก็จะได้ว่า  "อารมณ์คือ กิจกรรมของสมอง(วัถุ)ที่ส่งผลต่อการกระทำที่วาจาเกรี้ยวกราด  หัวเราะร่าเริง ......  "  คือ เน้นที่กิจกรรมของวัตุถุเหมือนกลุ่มพฤติกรรมนิยม   ทั้งนี้ก็เพราะวา  ในจิตของพวกพฤติกรรมนิยมก็คือ วัตถุนิยม ครับ  ที่กล่าวมายืดยาวนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนว่า  "ปัญญา กับ  อารมณ์ นั้น  ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน"

คราวนี้ลองมาพิจารณาดู  ปัญญากับอารมณ์ มันสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร? ครับ

สมมุติว่า เราเปล่งคำว่า "หนอน"  บางคนจะ "รู้สึก" กลัว  ขยะแขยง   คำว่า หนอน เป็นคำที่ใช้เรียกสัตว์ประเภทหนึ่ง  เป็นมโนทัศน์  จัดเป็นฝ่าย "ปัญญา"   ส่วนอาการ "ขยะแขยง" นั้น เป็นฝ่าย "อารมณ์"   แต่สองฝ่ายนี้มัน "โยงสัมพันธ์"(Associate) กัน    คำอื่นๆที่เป็นฝ่ายปัญญาก็จะมีความรู้สึกทางฝ่ายอารมณ์เกาะอยู่ด้วยเสมอ  ร้อยทั้งร้อย แหละครับ   ความสัมพันธ์ระหว่างคำทางฝ่ายปัญญากับฝ่ายอารมณ์นี้ เราสามารถ "วัดได้"ด้วยเครื่องมือวัดที่เรียกว่า Semantic  Differential Scale  ครับ

เป็นอันว่า  "ปัญญา" กับ "อารมณ์"นั้น ไม่ใช่กระบวนการเดียวกัน นะครับ คือไม่ใชสิ่งเดียวกัน  คือ ปัญญาอยู่ฝ่าย ปัญญา  หรือ พุทธิ(Cognition)  แต่อารมณ์จะอยู่ฝ่าย อารมณ์ หรือ วิภาพ (Affection) ครับ (แต่ก็น่าแปลกนะ ที่ในช่วงไม่นานมานี้ เราได้ยินคนพูดว่า -- ปัญญาทางอารมณ์ -- และ เรียกว่า EQ ครับ?)

หมายเลขบันทึก: 139485เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2007 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 กระผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยครับ

คำว่าหนอนเป็นสัญญา(ความจำ)เกิดอาการขยะแขยงเพราะสังขาร(คิดปรุงแต่ง)

หรือ เด็กไม่เคยเห็นเทียนไขที่จุดไฟ (ไม่มีสัญญา จึงไม่มีสังขาร)จึงเอามือไปจับเปลวไฟ จึงทำให้ร้อน พอวันหลังเด็กเห็นเทียนไขที่จุดไฟเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) จึงมีอารมณ์ปรุงแต่ง(สังขาร) ว่าถ้าจับแล้วจะร้อน ซึ่งทั้งสัญญา(การจำได้หมายรู้) กับ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่ง) เป็นเพียงนามขันธ์ซึ่งอยู่ในขันธ์5เท่านั้น

สังขารยังไม่ใช่อารมณ์ที่แท้จริง

สัญญายังไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง

เอกัคตารมณ์คือภาวะที่อารมณ์เป็นหนึ่งเดียว

และเป็นเหตุปัจจัยนำไปสู่ปัญญาที่แท้จริง คือรู้แจ้งแทงตลอด

(เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมครับ อาจจะมีผิดบ้างถูกบ้างครับ เพียงแต่อยากแสดงความคิดเห็นร่วมกับท่านเท่านั้นครับ)

ครับ    แสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท