บทความแสบๆ คันๆ อยากเป็น Programmer ฟังทางนี้


บทความแสบๆ คันๆ อยากเป็น Programmer ฟังทางนี้

บทความนี้ Submit เมื่อ 11 กค. 44) บทความต่อไปนี้ ได้รับมาจากคุณ [email protected] ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่แสนดี แนะนำเรื่องภาษา Computer สำหรับน้องที่เรียนคณะ วิทยาศาสตร์ สาขา คอมพิวเตอร์ หรือใครที่อยากเป็นโปรแกรมเมอ

(บทความนี้ Submit เมื่อ 11 กค. 44) บทความต่อไปนี้ ได้รับมาจากคุณ [email protected] ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่แสนดี แนะนำเรื่องภาษา Computer สำหรับน้องที่เรียนคณะ วิทยาศาสตร์ สาขา คอมพิวเตอร์ หรือใครที่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนที่ถูกต้อง จบออกไปจะได้เข้าใจและทำงานได้เลย

"ผมเจอเด็กโปรแกรมเมอร์รุ่นใหม่หลายคน ใช้งานคอมพ์ และเขียนโปรแกรมอย่างงู ๆ ปลา ๆ มั่วมาก ๆ อธิบายสิ่งที่ตนเองเขียนมาไม่ได้ ไม่เข้าว่าทำไมต้องเขียนบรรทัดนี้ ประกาศต้องแปร แบบไม่คุ้มค่าทรัพยากร เข้ามาทำงานต้องสอนกันอยู่หลายปี กว่าจะทำงานเป็นทีมได้ อย่าลืมว่าโปรแกรมใหญ่ๆ ไม่ได้เขียนคนเดียว ต้องทำงานแป็นทีมที่ใหญ่ และ ต้องเขียนเอกสารกำกับ (Document) เพื่อการพัฒนาได้ในอานาคต ใน version ถัดไป น้องควรศึกษาภาษาต่อไปนี้ตามลำดับดังนี้"

ปีที่ 1

ควรอ่านและหัดภาษา Pascal ธรรมดา (ANSI) บน DOS ใช้เครื่องเก่าๆ ก็ได้ การเขียนโปรแกรมสั้นๆ ให้ได้ ไม่ว่าจะมีเรียนในหลักสูตรหรือไม่ก็ตาม และ ควรทบทวนเรื่องคณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง (Set, Logical, Metric, Funtion, Relation) เพราะจำเป็นต้องใช้ในการคิด Algorithm ในขั้นสูง ต้องจินตนาการได้ถึงสิ่งที่ไม่มีตัวตน (ข้อมูล, ชุดคำสั่ง) ภาษา Pascal ที่จะไม่ตาย ด้วยความง่าย ทำให้เข้าใจโครงสร้างข้อมูล ด้วยความชัดเจน ในเรื่องของการเขียนโปรแกรม อย่างมีโครงสร้างควบคุมที่ดี ฝึกให้เราคิด อย่างมีโครงสร้างลำดับขั้นที่ถูกต้อง เพราะการเขียนโปรแกรม สำคัญที่การออกแบบ วางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ที่รัดกุมรอบคอบ จึงควรเรียนเป็นภาษาแรก จะทำให้เราเขียน Code ไม่ยุ่งเหยิง และมีหลักในความคิดอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน ไม่ฟุ้งซ่าน

ปีที่ 2

ควรอ่านและหัดภาษา C ธรรมดา (ANSI) และ Assembly บน DOS จะพบว่าโครงสร้างและแนวคิดของ C คล้าย Pascal มาก แต่พลังและลูกเล่นของ C จะทำให้น้องเขียนได้ดีมากขึ้น พยามยามทำความเข้าใจเรื่อง pointer เพราะโครงสร้างข้อมูลใน C อิงกับเรื่องนี้เป็นหลัก มีคนกล่าวว่า C เป็นภาษาของโปรแกรมเมอร์ที่แท้จริง และเป็นภาษาหลัก ในการเขียนโปรแกรมระบบ เช่น Unix, Windows, Dos, Game, Compiler ส่วน Assembly เรียนให้เข้าใจหลักพื้นฐานของระบบ Hardware, Register, การอ้าง Interrupt, หน่วยความจำ, ความแตกต่างภาษาสูงกับต่ำ สามารถเขียนได้ในระดับ Digital Design บน Chip เพื่อนำไปใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ เป็นหลักแกน (Kernel) สำคัญในการเขียน OS และ Compiler

ปีที่ 3

ควรอ่านและหัดภาษาแบบยุคที่ 4 อาจเป็น Visual Basic หรือ Delphi หรือ C++ (Visual C++) เพียง 1 ภาษาให้ชำนาญลึกที่สุด จนทำมาหากินได้ ภาษาแบบนี้มันจะแตกต่างไป เพราะมีแนวคิด ในการเขียนโปรแกรมที่ไม่เป็น Structure Block แต่เป็น Object Oriented เป็นการออกแบบจากส่วนติดต่อจากผู้ใช้ ไปสู่ Algorithm แต่การเรียนภาษา Pascal และ C จะทำให้น้องเข้าใจว่า การเขียนโปรแกรมทำงานได้ถูกต้อง สำคัญกว่าความสวยงาม อีกภาษาที่ต้องเรียนให้เข้าใจถ่องแท้ ก็คือ SQL เป็นภาษาสำคัญ ที่เป็นพื้นของฐานข้อมูลส่วนใหญ่ รับรองไม่อดตายและ มีงานทำตลอดกาล เพราะมนุษย์ต้องยุ่งเกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมากเสมอ

ปีที่ 4

แนะนำให้เรียน ภาษาที่เกี่ยวข้องกับ Web ให้เรียนสองภาษานี้เป็นอย่างน้อย คือ HTML และ JAVA อย่างน้อยที่สุดเป็นหลัก ที่จะขนขวายหาความรู้ต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Perl, CGI, ASP , PHP ฯลฯ น้องจะพบว่า โครงสร้าง JAVA, Perl ดูแล้วคล้าย C มาก ดังนั้นถ้าพื้นฐาน C แน่นพอจะทำให้เรียนสิ่งใหม่ๆ ได้ง่ายและเร็ว

ทิ้งท้ายด้วยห่วงใย

ใครที่ยังพิมพ์ดีด สิบนิ้วไม่ได้ ไม่ได้ ก็เริ่มหัดได้แล้ว ทั้ง ไทย/อังกฤษ เพราะต้องใช้พิมพ์ Code โปรแกรมเมอร์แบบเมาส์คลิ๊กๆ จิ้มดีด 2 ชั่วโมงต่อหน้า คงไม่ทันถ้าต้องโปรแกรมใหญ่ๆ - อยากให้น้องๆให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษมากๆ ในอเมริกาผู้ที่ชำนาญในภาษา C และ Assembly มีความต้องการสูงมากๆ ต้องนำเข้าจาก อินเดีย ได้หวัน ผมอยากเห็นคนไทย เป็นโปรแกรมเมอร์ที่ดีและเก่ง มากๆ เป็นแรงงานไปทำงานเอาความรู้ และขนเงินฝรั่งมาบ้านเราเยอะๆ แล้วกลับมาสร้าง Software แข่งกับ Microsoft เราแพ้ อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ตรงภาษาอังกฤษ ครับ พวกนี้เขาเรียนตำราเป็นฝรั่งเลย - อยากสนับสนุนให้หนังสือ text book บ้านเราถูกกว่านี้ (ตำราไทยด้วยตำราสอนการใช้ Word ง่ายๆ ยังราคาตั้ง 800) โดยเฉพาะตำราวิทยาศาตร์ สมัยผมเรียนอดเงินกินขนมเป็นเดือน เพื่อซื้อมาอ่าน ราคาเล่มเป็น 400-1500 แต่คุ้มครับอ่านได้จนทุกวันนี้ เพราะเขาเขียนลึกจริง (ใม่เขียนอมภูมิแบบของไทย บางทีแปลก็แปลไม่หมด แปลแบบ ผมอ่านยังงง เขียนไม่รู้เรื่องผมคงโง่มั้ง) ควรเลือกชื้อหนังสือที่เป็นหนังสือ classic book (ดูหนังสือเล่มที่มักเป็นหนังสืออ้างอิงของหนังสือเล่มอื่นๆ) มาอ่าน Text book เถอะ อ่านง่ายไม่ยาก จะยากก็เล่มแรกเท่านั้นต้องเปิดดิกมากหน่อย แต่พอผ่านเล่มแรกก็ง่าย เพราะศัพท์ก็เป็นศัพท์เฉพาะ มีไม่มาก ภาษาตรงไปตรงมา

อีกเรื่องนิสัยรักการอ่านและลงมือทำ เมื่ออ่านแล้วต้องเขียนโปรแกรมทันที เพื่อความเข้าใจและทดสอบความคิดตนเอง อีกควรอ่านทุกเรื่องที่เป็นคอมพิวเตอร์ให้รู้กว้าง คุยกับใครๆได้ ไม่เสียชื่อน้องวิทย์คอมพ์ และไม่ควรเสียเวลาทำสิ่งไร้สาระ (เลิกดู TV, chat และ โทรศัพท์ 2-3 ชม., เล่นเกมส์ข้ามคืนได้แล้ว ไม่ทำให้ฉลาดเลย) ทุกครั้งที่เปิดคอมพิวเตอร์ ควรอ่านหนังสือก่อน แล้ววางแผน Algorithm ให้สมบูรณ์ดี ก่อนเปิดเครื่องแล้วเขียนโปรแกรม มิฉะนั้นจะต้องมานั่งแก้ bug เป็นคืนๆ ต้องวางแผน Algorithm ให้ดี ทดลองคิดตามบนกระดาษก่อนเขียนจริง

ที่มา http://www.thaidev.com/index.php?cmd=showtitle&id=78

หมายเลขบันทึก: 138171เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมอ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งมากเพราะปัจจุบันคนไทยเราก็ขาดความรู้ทางด้านภาษากันเยอะ

และเรื่องการเขียนโปรแกรมเรายังสู้ต่างประเทศไม่ได้เลย

อยากเห็นคนไทยโชว์ฝีมือที่ต่างประเทศบ้างเหมือนกัน (คนไทยสู้ๆ)

อ่านแล้วผมจะต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เก่งและดีให้ได้(อ่านข้อความแล้วแอบเจ็บนิดๆ) ^^

ผมอีกคนคับ งูๆ ปลาๆ เขียนเองยังไม่เข้าใจเอง ต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ

ขอบคุณครับที่กระตุ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท