ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านเป้า(2)


ในจำนวนเจ้าอาวาสทั้งหมด มีอยู่รูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางเวทย์มนต์คาถา มีวิชาอาคมที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เรียกได้ว่าเป็นเกจิจอมขมังเวทย์เลยทีเดียว คือเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ที่ชื่อว่า “พระครูหลักคำ”

ประวัติวัดประจำหมู่บ้านวัดธาตุ

ที่ตั้งและอาณาเขต

            วัดธาตุ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑ หมู่ ๙ บ้านเป้า ต.บ้านเป้า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๓ งาน ๓๐ ตารางวา หนังสือสำคัญ น..๓ เลขที่ ๒๕๑๘ อาณาเขตทิศเหนือจดทางสาธารณะและชุมชนหมู่บ้าน ทิศใต้จดทางหลวงแผ่นดิน ทิศตะวันออกจดทางสาธารณะและโรงเรียน ทิศตะวันตกจดทางสาธารณะและชุมชนหมู่บ้าน ลักษณะทั่วไป  ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่และกลิ่นอายของพระพุทธศาสนา มีลมโชยแผ่วเบาเย็นสบายตลอดเวลา เนื่องจากตั้งอยู่ในตำแหน่งรับลมไม่มีสิ่งปลูกสร้างปิดบัง สัญลักษณ์ภายในวัดอีกอย่างหนึ่งคือต้นตาลโบราณ ๒ ต้น อยู่ริมสระน้ำ ซึ่งปลูกบัวหลวงสวยงาม จากการสอบถามบรรพบุรุษไม่มีใครตอบได้ว่าใครเป็นคนปลูก เกิดมาก็เห็นมีขนาดความสูงเท่านี้แล้ว จากการสังเกตความสูงของต้นตาลเกิดได้โดยการผลัดก้านใบที่แห้งทิ้ง ปีหนึ่งจะผลัดก้านใบประมาณ ๑ หรือ ๒ ก้าน เท่านั้น ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดกล้าขึ้นวัดความสูงของต้นตาล ได้แต่ประมาณการว่าจะมีความสูงจากโคนต้นถึงปลายสุด ๓๐ เมตร ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สูงที่สุดในบริเวณใกล้เคียง ถ้าหากจะคำนวณอายุของต้นตาลดูก็น่าจะมีอายุหลายร้อยปีสังกัด มหานิกายประวัติ วัดธาตุ ตั้งมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานที่แน่นอน จากหลังฐานที่ปรากฏ เช่นโบสถ์ และพระธาตุ ซึ่งก่อสร้างโดยใช้อิฐมอญ ฉาบด้วยปูน ซึ่งอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์รัตนโกสินทร์ ในปี พ..๒๓๒๕ จากการบอกเล่าของคนโบราณสืบต่อกันมา บ้านเป้านี้มีนามเดิมว่า บ้านโนนจำปา

โบราณวัตถุ

วัดธาตุบ้านเป้ามีโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ.พระธาตุ ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก  พระธาตุส่วนกลางไปหายอดได้หักล้มลงมา เหลือแต่ฐานสูงจากพื้นประมาณ ๒ เมตร ส่วนที่หักมีความยาวประมาณ ๖ เมตร ชาวบ้านได้ตั้งไว้ใกล้เคียงกับฐานและได้ปลูกไม้ยืนต้นล้อมรอบส่วนที่หักเอาไว้ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นศิลปะของชาวอีสานโบราณ เนื่องจากใช้ดินเผาไฟ ทำเป็นก้อนอิฐ หากแต่ถ้าเป็นศิลปะของชาวเขมร ส่วนมากแล้วที่พบเห็นจะเป็นหินศิลาแรง และมีความเก่าอยู่มาก หรือหากเป็นศิลปะของชาวมอญ รามัญ หรือพม่า ก็ไม่น่าจะแผ่อิทธิพลมาถึงบริเวณแถบนี้ พระธาตุที่อยู่ใกล้เคียงและน่าจะมีอายุในการก่อสร้างใกล้เคียงกันคือ พระธาตุกุดจอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ และพระธาตุหนองสามหมื่น ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว.อุโมงค์พระพุทธรูป ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิมีนามว่า พระสีหนุราชบุราณ ทำด้วยวัสดุปูนปั้นฝีมือชาวไทยอีสานโบราณ ตั้งอยู่ในศาลาการเปรียญหลังเก่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป.ศาลปู่หลักคำ ในจำนวนเจ้าอาวาสทั้งหมด มีอยู่รูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางเวทย์มนต์คาถา มีวิชาอาคมที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เรียกได้ว่าเป็นเกจิจอมขมังเวทย์เลยทีเดียว คือเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ที่ชื่อว่าพระครูหลักคำจากคำบอกเล่าของนายกา  ล้วนมงคล ผู้เฒ่าชาวบ้านเป้าบอกว่า เดิมปู่หลักคำมีชื่อว่าบุญมี” (ไม่ปรากฏนามสกุล) เป็นคนบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นหนุ่มฉกรรจ์ที่เป็นคนดื้อ ชอบรันฟันแทง ชอบปล้นและลักวัว ควายของชาวบ้านเพื่อนำไปฆ่าขายหรือกิน มีวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพัน ล่องหน หายตัว ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออก ไม่มีใครกล้าตอแยต่อกรด้วย และจะด้วยเหตุใดไม่ทราบ ท่านได้เลิกเป็นนักเลงหัวไม้ในที่สุดได้มาบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดธาตุ ก็คงจะหลายปีจนได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครู หันมาบำเพ็ญภาวนารักษาศีล กระทั่งเกิดพลังบารมีแห่งความศักดิ์สิทธิ์มนต์ขลัง เพราะปรากฏว่าเคยมีข่าวความศักดิ์สิทธิ์อยู่หลายครั้ง เช่น เคยมีม้าพยศ พยายามจะวิ่งเข้ามาในวัด แต่ก็เข้ามาไม่ได้ หากใครเข้าไปในบริเวณวัดแล้วพูดจาไม่เหมาะสม ไม่ถอดหมวก อันเป็นการไม่แสดงความเคารพต่อสถานที่จะเกิดเหตุอาถรรพ์ จะทำให้มีเหตุเป็นไปในทางไม่ดีกับบุคคลนั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งในสมัยก่อนมีผู้แทน(..)ได้นำภาพยนตร์กลางแปลงมาฉายภายในวัดเพื่อทำการปราศรัยหาเสียง แต่มีเหตุทำให้ลืมเคารพคารวะเจ้าของสถานที่ จึงทำให้เครื่องไฟที่ใช้ปั่นกระแสไฟฟ้าในการพูดเครื่องขยายเสียงและฉายภาพยนตร์ติดเครื่องไม่ได้ ช่างทำการแก้ไขอยู่นานก็ไม่สำเร็จชาวบ้านคนเฒ่าคนแก่จึงแนะนำว่าให้ไปบนบาน ขอขมาศาลปู่หลักคำเสียก่อน ทางคณะผู้แทนจึงได้กระทำตามคำแนะนำของชาวบ้าน เสร็จแล้วพอมาติดเครื่องปั่นไฟฟ้าครั้งเดียวก็ติดเครื่องได้ และอีกครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้เมื่อไม่นานนักประมาณปี พ..2542 มีพ่อค้าต่างถิ่นนำสินค้ามาจำหน่ายตลาดนัดสินค้าราคาถูกภายในบริเวณวัด ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านแนะนำว่าให้ไปครอบ(สักการะ)ปู่หลักคำเสียก่อน แต่พ่อค้าไม่เชื่อและยังได้กล่าววาจาในเชิงลบหลู่หมิ่นประมาทเสียอีก พอพ่อค้าทำการติดเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องขยายเสียง ทำอย่างไรเครื่องก็ไม่ติด ไปว่าจ้างช่างมาแก้หลายคนก็แก้ไม่ได้ ผู้เฒ่าจึงแนะนำให้พ่อค้าจงได้ไปครอบปู่หลักคำเสียก่อน โดยให้ไปจัดหาเครื่องสักการะมีพวงมาลัยเจ็ดสียาวเจ็ดศอก มีขุนนาง ช้าง ม้า และดอกไม้ขาว นำมาถวายและเซ่นสักการะ พ่อค้าคนนั้นไม่เชื่อแต่ยอมทำตามที่ผู้เฒ่าบอก เสร็จแล้วลองมาทำการติดเครื่องปั่นกระแสไฟฟ้าเพียงครั้งเดียวก็ติด ทำให้พ่อค้าคนนั้นเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก หากได้ผ่านมาทางบ้านเป้าเมื่อใดก็จะหาเครื่องเซ่นสักการะไปครอบปู่หลักคำทุกครั้งทันทีในปี พ..2547 มีเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านเป้าคนหนึ่งได้เป็นผู้นำในการจัดทำผ้าป่าหาปัจจัยมาก่อสร้างหอระฆังให้กับวัด ตอนสายวันหนึ่ง ฝนตก เขาได้ขับรถยนต์เข้าไปจอดในลานวัดเพื่อไปรับเจ้าอาวาสไปดำเนินงานผ้าป่าในต่างอำเภอ และได้สวมหมวกเข้าไปโดยมิได้มีเจตนาจะลบหลู่หรือหมิ่นประมาทแต่ประการใด เพียงแต่ได้ลืมนึกถึงกฎข้อห้ามนี้เท่านั้น พอติดเครื่องจะขับรถออกมาทำให้รถติดหล่มขยับไม่ได้ และได้ใช้ความพยายามอยู่หลายครั้งก็ออกไม่ได้ จึงนึกขึ้นได้ว่าตนเองได้สวมหมวกเข้ามาภายในบริเวณวัดอันเป็นการไม่เคารพสถานที่ จึงได้ถอดหมวกออกและได้กล่าวขอขมาลาโทษต่อหลวงปู่หลักคำและอธิษฐานขอให้รถได้ขึ้นจากหล่มได้เถิด พอหลังจากนั้นจึงกลับมาติดเครื่องรถและถอยออกไปนอกบริเวณวัดได้อย่างสะดวกอย่างไม่มีปัญหาเหมือนกับตอนแรก จะเป็นด้วยความบังเอิญหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ แต่เขาคนนั้นได้เชื่อว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่หลักคำที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นด้วยสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้งจึงทำให้ชาวบ้านเป้าและบ้านใกล้เคียงยิ่งเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และให้ความเคารพยำเกรงในดวงวิญญาณของปู่หลักคำยิ่งขึ้นและชาวบ้านมีความเชื่อว่าเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ของศาลปู่หลักคำจึงทำให้เกิดสิ่งต่างๆดังกล่าว ด้วยเหตุที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นผู้มีวิชาอาคมของพระครูบุญมี หรือพระครูหลักคำ หรือปู่หลักคำนี้เอง ชาวบ้านเป้าในสมัยก่อนจึงได้ร่วมกันก่อสร้าง หลักคำไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อให้ลูกหลานได้บูชากราบไหว้หลังจากที่ท่านได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว โดยได้สร้างเป็นหลักไม้แก่นขนาดเส้นรอบวงของฐานหลักคำประมาณ 80 เซนติเมตร สูงประมาณ 100 เซนติเมตร แกะสลักทั้งลำต้นให้สวยงาม ปลายยอดแหลม ทาด้วยสีทองเหลืองอร่ามงดงามและน่าเคารพเกรงขามยิ่งนัก ทุกวันนี้เสาหลักคำได้สึกกร่อนไปตามกาลเวลา และต่อมาทางวัดได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างหอปกคลุมไว้กันฝนกันแดด มีรั้วรอบทั้งสี่ทิศ มีประตูทางด้านทิศใต้เปิดปิดเข้าออกได้ด้วยเหตุนี้เอง จากนายบุญมี หรือท้าวบุญมี หรือพระครูบุญมีนี่เอง จึงได้กลายเป็น พระครูหลักคำหรือปู่หลักคำที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ชาวบ้านเป้าและชาวบ้านใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือมาจนกระทั่งปัจจุบัน นับว่าเป็นเกียรติประวัติของท่านและของชาวบ้านเป้าเป็นอย่างยิ่ง

.พระสังกัจจายน์เนื้อหินอ่อน ชาวบ้านนับถือในความศักดิ์สิทธิ์มาก หากทำพิธีสาบานแล้วชาวบ้านนิยมเอาพระสังกัจจายน์องค์นี้เป็นพระประธาน ตามตำนานเล่าว่าหลวงปู่หลักคำเป็นผู้อันเชิญพระสังกัจจายน์มาจากกรุงเทพมหานคร.พระพุทธรูปทองคำ มีอยู่ ๓ องค์ด้วยกัน สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และตั้งข้อสังเกตได้ว่า แร่ประเภทองคำเป็นสิ่งมีค่า หายาก ซื้อหรือขายจะมีราคาแพง ในสมัยโบราณคนที่จะสามารถสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำได้ส่วนมากแล้วจะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น องค์ที่ ๑ เป็นพระยอดธงปางนั่งสมาธิ ทำด้วยทองคำ ขนาดความสูงประมาณ ๔ - ๕ ซ.. ปัจจุบันมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก และจากพระยอดธงปางสมาธิก็กลับกลายเป็นพระปางสมาธิธรรมดาแบบไม่มียอดธง และทำด้วยวัสดุคล้ายทอง องค์ที่ ๒ และ ๓ เป็นพระพุทธรูปยืนปางรำพึง ขนาดความสูงขององค์พระประมาณ ๔ - ๕ ซ.. ปัจจุบันมีขนาดหดเล็กลงกว่าเดิม ทำด้วยวัสดุคล้ายทองเช่นกัน.พระอัฐิธาตุของพระอานนท์  เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวบ้านเป้าที่บรรจุไว้บนพระธาตุ หลังจากที่มีการชำรุดของพระธาตุจึงได้นำมาเก็บไว้ในโกฎทำด้วยไม้ไผ่แกะสลักลวดลายสวยงาม โดยคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้านนับถือเป็นผู้จัดเก็บหมุนเวียนเปลี่ยนมือหลายคน และด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ของมนุษย์จึงทำให้พระอัฐิธาตุของพระอานนท์ได้แปรสภาพกลายเป็นเม็ดกรวดหินธรรมดาขนาดเล็กๆจำนวน ๔๑ เม็ด .แก้วยอดพระธาตุ มีลักษณะทำด้วยแก้วใส ขนาดเท่าผลมะนาว มี ๒ อันๆหนึ่งกลมเรียบ อีกอันหนึ่งเจียระไนมีรูปทรงกลม ชาวบ้านเก็บไว้หลังจากที่พระธาตุได้หักลงมา  .พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนเก่าแก่ ยกมือขึ้นในลักษณะห้าม ทั้ง ๒ มือ นิ้วมือข้างซ้าย ๓ นิ้ว มีนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยหักขาดออก ซึ่งสันนิษฐานได้ว่ามีการชำรุดขององค์พระเนื่องจากการเคลื่อนย้าย เพราะองค์พระมีน้ำหนักมาก

 

สิ่งก่อสร้าง

            .อุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ..๒๔๕๒ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๙.๒๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร  แต่ก่อนเป็นอุโบสถทำด้วยไม้ ต่อมาได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อ พ..๒๕๐๘ ทำด้วยอิฐถือปูน สิ้นค่าก่อสร้าง ๓๐๐,๐๐๐ บาท(สามแสนบาทถ้วน) .ศาลาการเปรียญหลังเก่า แต่ก่อนทำด้วยไม้ทั้งหลัง ครอบอุโมงค์พระพุทธรูปโบราณเสากลมใช้ไม้ทั้งต้นยกสูงประมาณ ๑ เมตร ปูพื้นด้วยไม้กระดาน หลังคามุงด้วยไม้ลักษณะคล้ายเกล็ดปลา ฝาผนังทำด้านทิศเหนือเพียงด้านเดียว บนศาลาประดับด้วยรูปภาพของพระพุทธเจ้าในกิจต่างๆหลายภาพ ปัจจุบันได้มีการบูรณะโดยเปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้อง พื้นหินอ่อน บุฝ้าเพดาน ขยายความกว้างทางด้านทิศเหนือประมาณ 2 เมตร บันไดคอนกรีต มีลูกกรงล้อมรอบ ประตูเหล็กยืด .ศาลาการเปรียญหลังใหม่ เริ่มลงมือก่อสร้างปี พ..๒๕๓๒ ทำด้วยคอนกรีต จำนวนเสา ๕๐ ต้น ทำได้หนึ่งชั้น ปัจจุบันหยุดการก่อสร้างเนื่องจากไม่มีทุนทรัพย์มาดำเนินการก่อสร้างต่อ  .หอระฆังหลังเก่า ลักษณะทำด้วยไม้ ๒ ชั้น .หอระฆังหลังใหม่ เริ่มลงมือก่อสร้างเดือนกุมภาพันธ์ พ..๒๕๔๗ ทำด้วยคอนกรีต ปริมาณงานได้ประมาณ ๕๐ % ปัจจุบันหยุดการก่อสร้างเนื่องจากไม่มีทุนทรัพย์มาดำเนินการก่อสร้างต่อ  .กุฎี .๑หลังที่๑ ลักษณะ ๒ชั้นใต้ถุนโล่ง มีจำนวนห้องพักหลายห้อง(หลังใหญ่ทางด้านทิศตะวันตก) สร้างเมื่อ พ..๒๔๙๘ สมัยพระภิกษุเรียนเป็นเจ้าอาวาส.๒หลังที่๒ มีลักษณะ๒ชั้นทำด้วยไม้ยกพื้นสูง ๕๐ ซ..ประตูเหล็กยืด (ติดกับกุฎีหลังใหญ่)สร้างเมื่อ พ..๒๕๑๐ สมัยพระครูชัยสรโสภณ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาท).๓ หลังที่๓ ลักษณะยกพื้นสูง ๑ เมตร ทำด้วยไม้ (หลังที่ ๓ นับจากทางทิศตะวันตก) สร้างเมื่อ พ.. ๒๕๑๙ สมัยพระสัมพันธ์เป็นเจ้าอาวาสสิ้นค่าใช้จ่ายและค่าก่อสร้างประมาณ ๒,๐๐๐ บาท (สองพันบาท) และ (หลังที่๔ ลักษณะ ทำด้วยไม้ ๒ ชั้นใต้ถุนโล่ง (อยู่มุมวัดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) สร้างเมื่อ พ.. ๒๕๑๙ สมัยพระสัมพันธ์เป็นเจ้าอาวาสสิ้นค่าใช้จ่ายและค่าก่อสร้างประมาณ ๒,๐๐๐ บาท (สองพันบาท) ปัจจุบันได้รื้อถอนแล้วสร้างกุฎีหลังใหม่ทดแทน).๔ หลังที่๔ ลักษณะก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ประตูเหล็กยืด สร้างโดยนายล้วน  เสมาทอง (หลังที่ ๔ นับจากทางทิศตะวันตก).๕ หลังที่๕ ลักษณะก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ประตูเหล็กยืด สร้างโดยพระพิชัย นายตราสินทร์  นางหนูริ้ว  ฦาศักดิ์ (หลังที่ ๕ นับจากทางทิศตะวันตก).๖ หลังที่๖ ลักษณะก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ประตูไม้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก.๗ หลังที่๗ ลักษณะก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ประตูไม้ สร้างโดยพระนาวิน  ลือกำลัง ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ .ศาลาเอนกประสงค์ ลักษณะก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ประตูเหล็กยืด ตั้งอยู่ติดกับกุฎีหลังที่๖ ติดไปทางทิศเหนือ  .หอถังสูงประปา ทำด้วยคอนกรีต ลักษณะเป็นถังเก็บน้ำข้างบนเพื่อจ่ายน้ำตามระบบท่อภายในวัด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้   .โรงเรียนปริยัติธรรม ลักษณะทำด้วยไม้ ชั้นเดียว สร้างเมื่อ พ..๒๕๑๗ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๔,๐๐๐ บาท (สี่พันบาท) ปัจจุบันรื้อถอนไปแล้วเนื่องจากเสื่อมสภาพตามกาลเวลาทำเนียบเจ้าอาวาส ตั้งแต่องค์แรกถึงองค์ปัจจุบัน.พระอธิการยาเพชร.พระครูหลักคำ.พระอธิการซา.พระอธิการเส็ง.พระอธิการรัง.พระอธิการซน.พระอธิการคำมี.พระอธิการบุญมา  จิตสาภโท.พระอธิการพ้วย  ฐิติปัญฺโญ๑๐.พระอธิการเจียง  จิตฺตโม ..๒๔๗๑ - ๒๔๘๔๑๑.พระอธิการพิมพ์ พ..๒๔๘๔ - ๒๔๘๗๑๒.พระอธิการพล พ..๒๔๘๗ - ๒๔๙๐๑๓.พระอธิการดี พ..๒๔๙๐ - ๒๕๐๐๑๔.พระอธิการเรียน ๑๕.พระอธิการโอกาส๑๖.พระอธิการคำพันธ์๑๗.พระอธิการดี๑๘.พระครูชัยสรโสภณ๑๙.พระอธิการสัมพันธ์๒๐.พระมหาถวิล๒๑.พระสุดใจ  ภทฺทปญฺโญ๒๒.พระพิชัย  ฐานจาโร  (รักษาการเจ้าอาวาส)๒๓.พระจวน  สิงหกำพล   (รักษาการเจ้าอาวาส)๒๔.พระดาวเรือง(เต่า)  เศียรเขียว  (รักษาการเจ้าอาวาส)๒๕.พระถนัด  คุณกาโร (รักษาการเจ้าอาวาส)๒๖.พระอธิการท้วม๒๗. พระอธิการถนัด  คุณกาโร๒๘.พระทองอินทร์  ฐานธมฺโม (รักษาการเจ้าอาวาส)

หลักฐานอ้างอิง ได้จากคำบอกเล่าของ

. นายสี  สุหญ้านาง ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว. นายสุพรรณ  ฦาชา  อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา) ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว๓. นายเชษฐ์  สนั่นเมือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเป้า(สำราญไชยวิทยา) ผู้รวบรวมข้อมูล. และชาวบ้านในหมู่บ้านเป้า

มีต่อ...เรื่องเล่าบ้านเป้า(3)

เรียบเรียงโดย...สักทอง  ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง

หมายเลขบันทึก: 138111เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ครูอ้อยอ่านแล้วค่ะ  เป็นประวัติศาสตร์ได้เลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • ว๊าว  ๆ สุดยอดเลยค่
  • เป็นประวัติศาสตร์เลยค่ะ
  • รบกวนให้เขียนให้อ่านบ่อย ๆ นะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

สุดยอดมากเลยค่ะ

นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

จาก  บุ๋มบิ๋มค่ะ 

 

 

นางสาวศรีประภา สำราญวงษ์ ลูกหลานชาวบ้านเป้า

อ่านดูแล้วดีมากเป็นประวัติศาตร์ของชาวบ้านเป้า

เป็นที่เก่าแก่จริงๆ ครับ ตัวผมก็อยากรู้เหมือนกันว่า ปู่ผมเป็นคนที่นี่รึเปล่า เพราะใช้นามสกุล "เกิดบ้านเป้า"

หายากมากคะ

อ่านแล้วค่ะช่วยเผยแผ่ให้คนรุ่นหลังได้รู้ขอบคุณค่ะ

ศิษย์อาจารย์เชษฐ์ค่ะ

คิดฮอดบ้านเด้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท