การพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์


การนำวรรณกรรื้นบ้านมาสร้างนวัตกรรมการสอนภาษาไทย

                      ตำบลไตรตรึงษ์  อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร  ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนนครไตรตรึงษ์ เป็นท้องถิ่นที่มีเมืองโบราณตั้งแต่สมัยทวารวดี คือเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15  และมีร่องรอยขอความเจริญในสมัยสุโขทัย มีซากโบราณสถานปรากฏชัด  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมื่อเดือน สิงหาคม  พ.ศ. 2499  และมีพระราชวินิจฉัย
ถึงประวัติความเป็นมา และลักษณะของศิลปกรรมไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2  

                   ในด้านวัฒนธรรมพื้นบ้าน  ตำบลไตรตรึงษ์ โดยชาวบ้านวังพระธาตุ และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิม อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบชนบทของท้องถิ่นภาคกลาง มีวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมานาน  ในด้านวรรณกรรมได้มีการเล่านิทานเรื่องท้าวแสนปมซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  มีการเล่นเพลงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น เพลงระบำ ก.ไก่  เพลงคล้องช้าง  มีการร้องเพลงกล่อมเด็ก เพลงแห่นาค เล่นปริศนาคำทาย  คำเรียกขวัญ เป็นต้น  นอกจากนี้กลุ่มชนที่อพยพมาตั้งรกรากภายหลังที่บ้านปากดง ก็นำวัฒนธรรมพื้นบ้านของตนเองมาผสมผสานกลมกลืนด้วย ได้แก่ กลุ่มชนที่อพยพมาจากตำบล

เขาทอง อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ได้นำเพลงรำโทนและเต้นกำรำเคียวมาสืบสานและเผยแพร่ด้วย                   
                   
ผู้วิจัยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น จากชาวบ้านไตรตรึงษ์ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534  จนถึงปัจจุบัน  ได้นำข้อมูลวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์มาจัดหมวดหมู่  วิเคราะห์รูปแบบ  เนื้อหา และคุณค่าในด้านต่าง ๆ   พบว่า  วรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ เป็นวรรณกรรมที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าอย่างยิ่ง  เช่น  นิทานเรื่องท้าวแสนปมเพลงพื้นบ้าน  เพลงกล่อมเด็ก  ปริศนาคำทาย สมควรนำไปใช้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ   เพื่อให้เยาวชนเห็นความงามของภาษาและคุณค่าของวรรณกรรมพื้นบ้าน มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และร่วมกิจกรรมสืบทอด  ฟื้นฟู และเผยแพร่ต่อไป
                    จากแนวคิดดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์ มาสร้างนวัตกรรมการสอนภาษาไทย โดยนำข้อมูลวรรณกรรมพื้นบ้านไปออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้บูรณาการกับสาระในมาตรฐานการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ได้แก่  การอ่าน  การเขียน  การฟัง การดู การพูด  หลักและการใช้ภาษา และวรรณคดีและวรรณกรรม  และบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ  เช่น สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ศิลปะ ภาษาต่างประเทศ  โดยจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน  6  หน่วยย่อย  ดังนี้                      
                      
หน่วยที่  1  เรียนรู้วรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
                      หน่วยที่  
2  ฝึกออกเสียงคำด้วยเพลงระบำ ก.ไก่
                      หน่วยที่  
3  ศึกษาการเพิ่มคำจากวรรณกรรมพื้นบ้าน
                      หน่วยที่  4  วรรณกรรมพื้นบ้าน
: สื่อสานคุณธรรม
                      หน่วยที่  5  ภูมิปัญญาทางภาษา
: เครื่องมือพัฒนาทักษะการคิด
                      หน่วยที่  6  ความงามทางภาษาของเพลงระบำ ก.ไก่
       
                     
ซึ่งแต่ละหน่วยการเรียนรู้ย่อยมี
องค์ประกอบคือ  หน่วยการเรียนรู้ที่  ชื่อหน่วยการเรียนรู้  เรื่อง    เวลาสอน  วิชา  ช่วงชั้น   แผนการจัดการเรียนรู้ที่  สาระสำคัญ  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  สาระ  การบูรณาการ  กิจกรรมการเรียนรู้   สื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้     การวัดผลและประเมินผล   กิจกรรมเสนอแนะ 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย                    
                   
1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์
                   
                  
2. 
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยนวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

                    3.  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการสอนภาษาไทยจากวรรณกรรมพื้นบ้านไตรตรึงษ์

ตัวอย่างนวัตกรรมแบบหน่วยการเรียนรู้

แบบฝึกเรื่องโวหารภาพพจน์

1.       จงขีดเส้นใต้โวหารเปรียบเทียบที่เรียกว่า อุปมา  ในบทที่ยกมาให้  แล้ววิเคราะห์ว่าทำไมเขาจึงเปรียบเช่นนั้น

(ชาย) แม่ ฮ.นกฮูกฮาเฮ  สวยเหมือนแม่นางฮองเฮา  จะพาไปนอนทาวน์เฮาส์  ที่นครเซี่ยงไฮ้

(หญิง) พ่อ ฮ.นกฮูกตาโต พ่อปลากระโห้ไล่ฮุบ มีปากแต่ไม่ยอมหุบ  เหมือนกับไอ้ตูบเซี่ยงไฮ้  
    

 

    คำตอบ  เปรียบ........................กับ..............................เพราะ.......................................

                   เปรียบ.........................กับ..............................เพราะ.........................................

     2.  คำเปรียบเทียบที่เป็นโวหารแบบอุปลักษณ์ในบทนี้มี 2  คำ แต่ละคำหมายถึงอะไร

(ชาย)    แม่ ฎ.ชฎาเดินดง   ถ้าได้น้องเอามาดู   จะพาเดินดงดู่     ไม่ทิ้งน้องให้เดียวดาย

(หญิง)  พ่อ ฎ.ชฎาเดินดง    พี่ได้ดมดอกมาดาม   มาเห็นดอกดินดำดำ   แล้วพี่จะทิ้งดูดาย 
       คำตอบ   1. คำว่า.......................................หมายถึง......................................................
                       
2. คำว่า.........................................หมายถึง......................................................

3. โวหารแบบปฏิพากย์ คือการนำคำตรงข้ามมาใช้ด้วยกันเพื่อเพิ่มหรือเน้นย้ำความหมาย       คำตรงข้ามในบทที่ยกมานี้ คือคำว่าอะไร

พ่อ ฬ.จุฬาใจลอย       อย่ามาทำเป็นร้อน       พี่ไประเหเร่ร่อน       ไม่ร่มเย็นบ้างหรือไร

   คำตอบ..................................................................................................................
 4. โวหารแบบอติพจน์ หรือการกล่าวเกินจริงในบทที่ยกมานี้ มีอะไรบ้าง

(หญิง) พ่อ ย.ยักษ์เนื้อเย็น  มันไม่ได้เป็นคู่ย่าง  ถึงน้ำตาหยดเป็นยาง  ก็ไม่ได้พวงลำไย

(ชาย) แม่ ฟ.ฟันหอมฟุ้ง   ถึงอยู่กันคนละฟาก  พี่ร้องเอารักมาฝาก  เพราะอกพี่ร้อนเป็นไฟ 
                      คำตอบ......................................................................................................          

(ชาย) แม่ ว.แหวนสุกวาว  พี่อยากจะเว้ากับน้องสักวัน แม่การเวกเสียงหวาน พี่ร้องวอนไม่วาย

  
   5.  บทที่ยกมานี้กล่าวถึงการเปรียบเทียบผู้หญิงเป็นนกการเวก แล้วผู้ชายอ้อนวอนนกการเวก
        ขอพูดคุยด้วย  การเปรียบแบบนี้เรียกว่าโวหารภาพพจน์แบบใด
       
          คำตอบ....................................................................................................           
  6. 
จากข้อความที่ยกมานี้ น้ำเชื่อม กับ ลูกหว้า เป็นสัญลักษณ์ หมายถึงอะไร 

(หญิง)   พ่อ ฉ.ฉิ่งของฉัน  พอเห็นน้ำเชื่อมกระฉ่อน  พอได้ชิมเพียงหนึ่งช้อน ก็ลืมแม่ช่อจันทร์ฉาย

(หญิง) พ่อ ว.แหวนสุกวาว อย่ามาหลอกกินลูกหว้า  เดี๋ยวน้องจะนอนผวา ในเมื่อลูกหว้าน้องวาย 
      

       คำตอบ........................................................................................................................

 7.  การใช้ภาพพจน์แบบเลียนเสียงธรรมชาติ บทที่ยกมา ใช้เสียงตรงกับความเป็นจริงหรือไม่     ถ้าไม่ตรงเป็นเพราะเหตุใด

(ชาย)  แม่ ฆ.ระฆังดังเคร่ง  หรือจะไม่ได้ประคอง  แม่นมคัดเหมือนปุ่มฆ้อง  หรือรักคาอยู่กับใคร

 
       

      คำตอบ....................................................................................................................

8. บทที่ยกมามีการใช้โวหารภาพพจน์หรือไม่

(หญิง)   พ่อ ซ.โซ่เดินเซ่อ   อย่าทำกระเซอเสียดสี   อย่ามาทำเซ้าซี้   เดี๋ยวจะโดนส้นตีนซ้าย

(หญิง) พ่อ ส.เสืออย่าเสือก    น้องไม่ใช่คนสำส่อน    ไม่มีใครสั่งใครสอน   สัญชาติคนเสียนิสัย 
     

    คำตอบ...............................................................................................

     9.  จงพิจารณาโวหารภาพพจน์ ในบท พ.พาน กับ ภ.สำเภา ว่าใช้โวหารภาพพจน์แบบเดียวกัน
     หรือไม่ ถ้าไม่ใช่  เป็นแบบใดบ้าง

(ชาย)  แม่ พ.พานงามพร้อม   เสียงช่างเพราะเหมือนพิณ    พี่อุตส่าห์โผผิน   มาหาแม่ผ่องอำไพ

(หญิง) พ่อ ภ.สำเภากางใบ   พอถูกสายลมพัดพา    พี่ได้กินกุ้งพล่า      มาลืมพลับพลึงกลางไพร 
      

คำตอบ................................................................................................................................

10.  คำเปรียบเทียบว่าคนใจฟาง  ในบทนี้หมายความว่าอย่างไร

(หญิง) พ่อ ฟ.ฟันหอมฟุ้ง  น้องไม่ใช่คนใจฟาง  บอกแล้วไม่เชื่อฟัง  ยังมาทำใจร้อนเป็นไฟ

 

  คำตอบ......................................................................................................................        
หมายเลขบันทึก: 137877เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะคุณครุ

น่าสนใจมากค่ะ ด้วยเหตุผลสองอย่าง

อย่างแรกเพิ่งกลับจากการไปส่งเพื่อนครูที่ย้ายกลับสุโขทัยและแวะเที่ยว ผ่านกำแพงเพชรมาเมื่อวานนี้ ได้พบสิ่งที่ดีเก่าๆที่มีค่าควรรักษา และอนุรักษ์ไว้ อย่างที่สองก็เป็นครูภาษาไทย เปิดสอนภาษากับวัฒนธรรม ม.ปลาย อ่านของครูแล้วน่าอิจฉาที่มีวรรณกรรมพื้นบ้าน มีอะไรๆให้เรียนรู้ที่ใกล้ตัว แล้วจะมาขอคำแนะนำจากครูหม่วยบ้างนะคะ 

ตอบคุณเมษา ถ้าไม่เข้าใจแล้วอยากจะเข้าใจ ไปดูงานวิจัยฉบับเต็มในไฟล์อัลบั้ม

ของเจ้าของบล็อกได้เลยนะคะ

นิชรา

สวัสดีคะ

เป็นเรื่องที่สนใจมาก จนดิฉันคิดอยากจะนำรูปแบบของอาจารย์มาใช้กับเด็กนักเรียนของตนเองเพราะเด็กนักเรียนมีภาษาถิ่นเป็นภาษาเขมร มี วรรณกรรมท้องถิ่น แต่ดิฉันพูดภาษาถิ่นได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และก็เป็นโรงเรียนประถมศีกษา คิดว่าจะมาขอคำแนะนำจากอาจารย์ ขอขอบพระคุณคะ

สวัสดีค่ะ

เพิ่งเข้ามาเพิ่งเจอค่ะ

ดีใจที่มีเว็ปไซต์ถามตอบแบบนี้มีประโยชน์มากค่ะ

กำลังเรียนรามคำแหงศึกษาศาสตร์เอกภาษาไทยค่ะ

แต่อยู่ต่างประเทศตอนนี้ต้องทำแผนการสอนเกี่ยวกับการสอนภาษาไทยให้เด็กญี่ปุ่นระดับประถมศึกษาค่ะ คิดว่าจะสอนเรื่องเจ็ดสีเจ็ดวันในหนึ่งสัปดาห์ค่ะ เพราะญี่ปุ่นไม่มีเรื่องนี้คิดว่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับเด็ก แต่กิจกรรมที่จะนำมาเร้าความสนใจเด็กเช่นเพลงค่ะ คิดไม่ออกมีเพลงแนวนี้แนะนำไหมคะ อีกเรื่องคือ ต้องทำนวัตกรรมมาหนึ่งอย่าง ตอนนี้ยังคิดไม่ออกค่ะ กรุณาแนะนำด้วยค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

ฌิชา

กาญจนา พัฒติกะพงษ์

อาจารย์ค่ะหนูอยากได้เนื้อร้องของเพลง ระบำ ก.ไก่ ค่ะ

รักและเคารพอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท