กลุ่มทอฝัน ศูนย์การเรียนรู้ม.ชีวิตตระการ อุบลราชธานี
กลุ่ม กลุ่มทอฝัน ศูนย์การเรียนรู้ม.ชีวิตตระการ อุบลราชธานี ม.ชีวิต

ชีวจิต


ชีวจิตคืออะไร
บันทึกข้อมูลจากวารสารชื่อผู้แต่ง                ดร.สาทิส    อินทรกำแหงชื่อบทความ          แนวความคิดแบบชีวจิตชื่อวารสาร            เคล็ดลับกินเพื่อสุขภาพ  เพื่อชีวิตที่ดีกว่าฉบับที่ 1  หน้า  2-4วันที่   เดือนกรกฎาคม  พ.ศ. 2550                 แนวคิดแบบชีวจิต  เป็นแนวคิดต่อเรื่องสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic) คือผนวกรวมเอา ชีว  ที่หมายถึง  กาย  รวมเข้ากับ  จิต  ที่หมายถึง  ใจ  ให้เป็นสองภาคของชีวิตที่มีผลต่อกันและกันโดยตรง  ไม่อาจแยกกายออกจากจิต  และจิตย่อมกระทบถึงกายเช่นเดียวกัน  ความหมายและการปฏิบัติตัวตามแนวทางของชีวิจิต  จึงอธิบายได้ว่าคนเราจะมีความสุขความแข็งแรงได้ก็ต่อเมื่อกายและใจทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(Wholeness  as  Perfection) การใช้ชีวิตให้เป็นไปตามธรรมชาติบริสุทธิ์และเรียบง่าย  เป็นแก่นความคิดสำคัญอีกประการหนึ่งของชีวจิต  ใช้ชีวิตในที่นี้หมายรวมถึง  การบริโภคอาหารสุขภาพที่มาจากธรรมชาติและมีการดัดแปลงน้อยที่สุด  รวมถึงการบริโภคผลิตภัณฑ์ใด ๆที่มาจากธรรมชาติหรือใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด  เพื่อให้ชีวิตหลุดพ้นจากความยุ่งเหยิงวุ่นวายของสังคมแบบวัตถุนิยมในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสมัยใหม่นานัปการ                แนบเนื่องกับแนวปฏิบัติทางร่างกาย  ต้องมีการปฏิบัติทางใจควบคู่ไปด้วย  เป้าหมายของการฝึกจิตใจ  เป็นไปเพื่อความสงบ  เกิดปัญญา  มองเห็นสัจธรรมของโลกและชีวิต  ทั้งนี้การใช้ชีวิตและจิตใจให้เป็นไปตามแนวทางของชีวจิตไม่ใช่เรื่องยุ่งยากซับซ้อน  ตรงข้ามกลับเป็นความพยายามทำชีวิตให้เรียบง่ายที่สุดแจ่มใสและมีความกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อให้สุขภาพเกิดความสมดุลและกระตุ้นให้ภูมิชีวิต  (Immune  System) ที่เป็นเกราะคุ้มกันสุขภาพตามธรรมชาติ  ซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน  ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ  การจะตรวจสอบว่าตังเองดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงกับแนวชีวจิตเพียงใด  หรือบกพร่องไปเพียงใดนั้น  อาจทดสอบได้จากหลักการของ  FASJAMM  ซึ่งว่าด้วยรูปแบบและอาการต่าง ๆ ทางกายและจิต  ที่ทำให้บุคคลนั้น ๆ มีสุขภาพทางกายและจิตแตกต่างกันไป  จึงอาจพูดว่า  เมื่อระวังรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอตามแนวคิดของชีวจิต ภูมิชีวิตซึ่งเป็นหมอภายในร่างกายของมนุษย์ก็ย่อมทำงานได้เต็มหน้าที่  เป็นเครื่องป้องกันด่านแรกที่คุ้มกันเราจากโรคทั้งปวง  แต่เมื่อใดก็ตามหากเกิดเหตุสุดวิสัย  มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดกับร่างกาย  การรักษาตามแนวทางของชีวจิต  ยังคงยึดหลักของการเยียวยาแบบองค์รวม  เช่นเดียวกับการป้องกันในเบื้องต้น  วีธีบำบัดหลัก ๆของชีวจิต  ได้ผสมผสานองค์ความรู้และวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                1.  ใช้ธรรมชาติเป็นยา
                2.  ใช้อาหารเป็นยา                3.  ใช้แนวทางการแพทย์แบบผสมผสาน                 แผนปัจจุบัน  Coventional , Orthodox , Allopathic , Wholistic ( Holistic)  Macrobiotics  แบบจีนและการฝังเข็ม  อายุรเวทและโยคะ  สมุนไพร  การนวดกดจุด  การนวดฝ่าเท้า  และบริหารโดอิน  แบบอื่น ๆ                4.  การบริหารและการออกกำลังกาย(ใช้แบบผสมผสาน)                โดอิน/โยคะ/นวดกดจุด/ การยืด  ส่ง  และดัน  Chiropractic  การรำตะบอง แต่ก่อนจะถึงมือแพทย์  หรือลงมือรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกใด ๆ ก็ตามหนทางที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาสุขภาพ  ตามแนวชีวิต  ก็คือ  การป้องกันสุขภาพไว้แต่ต้นมือ  โดยให้สอดแทรกอยู่ในวิถีแต่ละวันนั้นเอง  ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารชีวจิต  การกระตุ้นให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า  แก้อาการอ่อนเพลียด้วย  น้ำอาร์ซี  ซึ่งมีส่วนผสมของกลูโคส  DNA/RNA  และมีวิตามินแร่ธาตุจากธรรมชาติ  การบริดภค  น้ำเอนไซม์  ที่คั้นจากผักและผลไม้สด ๆ ที่จะช่วยบำรุงระบบต่าง ๆ ของชีวิตให้ทำงานได้ดีขึ้น  รวมไปถึงการขจัดพิษ  (  Toxin  )  ซึ่งเกิดจากเชื้อโรค  สิ่งแปลกปลอม  มลภาวะต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมหรือแม้แต่จากความเครียดที่สะสมชีวิตประจำวัน  ให้บรรเทาเบาบางไปจากร่างกายด้วยการล้างพิษ  หรือเรียกง่าย ๆว่าการทำ ดีท็อกซ์ (  DETOXIFICATION)  เมื่อพิษต่าง ๆลดลง  ก็จะทำให้ระบบภูมิชีวิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมไม่ให้เกิดการสะสมใหม่เพิ่มมากขึ้นอีกท้ายที่สุด  อุดมการณ์ของชีวจิตหาใช่เรื่องที่ปฏิบัติได้ยากเย็นแต่อย่างใด  สิ่งที่อยู่เหนือไปกว่าหลักปฏิบัติทั้งปวง  ล้วนแต่เป็นเรื่องของวิธีการคิดซึ่งยืนอยู่บนหลักการ  5  ข้อ  ชีวิตที่ยึดเอาธรรมชาติเป็นหลัก  ชีวิตที่มีความพอดีและเรียบง่าย,  ชีวิตที่เป็นไปเพื่อความเป็นเลิศของสุขภาพกาย ใจ, ชีวิตที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและรักกันฉันพี่น้อง  และชีวิตที่ดำเนินไปเพื่อสร้างสังคมที่ยุติธรรมไม่เอารัดเอาเปรียบ  เพียงปฏิบัติได้ตามหลักการเหล่านี้ก็เท่ากับเข้าใจแนวคิดของชีวจิตอย่างถ่องแท้แล้ว...............................................................................................................................
คำสำคัญ (Tags): #ชีวจิต
หมายเลขบันทึก: 137144เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีประโยชน์มากเลยคะ ขอบคุณ สำหรับสิ่งดี ๆ คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท