ระเบียบว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงใน ประเทศสหภาพพม่า


การเจรจาในระดับรายละเอียดและมีข้อสรุปเกี่ยวกับระเบียบเงื่อนไขในการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่า
ระเบียบว่าด้วยการเข้าไปทำการประมงใน ประเทศสหภาพพม่า 
ภายหลังจากที่ประเทศสหภาพพม่าได้ประกาศปิดน่านน้ำเมื่อเดือนตุลาคม 2542 ทำให้เรือประมงไทยที่เข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่าต้องนำเรือกลับประเทศ และไม่สามารถกลับเข้าไปทำการประมงได้ตามปกติ รัฐบาลได้ดำเนินการเจรจากับทางการพม่าอย่างต่อเนื่องในทุกระดับ จนกระทั่งในที่สุดพม่าได้เปิดน่านน้ำเพื่อการประมงอีกครั้งหนึ่งในเดือนตุลาคม 2544 ได้มีการเจรจาในระดับรายละเอียดและมีข้อสรุปเกี่ยวกับระเบียบเงื่อนไขในการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่า ดังนี้
1. จะไม่มีการให้สิทธิการทำการประมง (Fishing Rights) แก่เรือประมงต่างชาติ (โดยการจ่ายค่าธรรมเนียมการจับสัตว์น้ำ การรับสัมปทานการจับสัตว์น้ำ และการขนสัตว์น้ำไปตลาดต่างประเทศโดยตรง โดยไม่แจ้งจำนวน-ชนิด-มูลค่าสัตว์น้ำ เป็นต้น)
2. การอนุญาตจับสัตว์น้ำแก่เรือประมงต่างชาติจะให้ผ่านบริษัทร่วมลงทุนเท่านั้น (Joint Venture Company) และอยู่ภายใต้แผนงาน Joint Venture Fishing Programs ซึ่งจะให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องบนบกด้วย
3. บริษัทร่วมลงทุนจะต้องยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมาธิการการลงทุนของพม่า (Myanmar Investment Commission, MIC) พิจารณาอนุมัติ และพม่าจะอนุญาตให้เข้าไปทำการประมงได้ในระหว่างที่ยื่นคำร้องขออนุญาตจัดตั้งบริษัท/ลงทุนจาก MIC
4. การจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุน มี 3 วิธี คือ
4.1 ระหว่างบริษัทต่างชาติและกรมประมง
4.2 ระหว่างบริษัทต่างชาติและบริษัทร่วมลงทุนที่มีอยู่เดิม
4.3 ระหว่างบริษัทต่างชาติและบริษัทพม่า
5. บริษัทร่วมลงทุนจะต้องลงทุน (ก่อสร้างและดำเนินการ) ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
5.1 โรงน้ำแข็ง ห้องเย็น
5.2 โรงงานปลากระป๋อง
5.3 โรงงานอบแห้ง (Dehydration Plant)
5.4 โรงงานปลาป่น
5.5 โรงงานอวน
5.6 อู่ต่อเรือประมง
5.7 อู่ซ่อมเรือ
5.8 การซ่อมแซมบนบก (Onshore Repair Facilities)
5.9 การเพาะเลี้ยงกุ้ง/กุ้งน้ำจืด/ทะเล โรงเพาะฟักและธุรกิจต่อเนื่อง
5.10 อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ บนบก

6. เขตทำการประมง
6.1 เรือประมงของบริษัทร่วมลงทุนต้องทำการประมงนอกเขตทะเลอาณาเขต (หลังเขต12 ไมล์ จากเส้นฐาน)
6.2ให้ทำประมงในพื้นที่อนุญาตในเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่กรมประมงพม่ากำหนดเท่านั้น
7.กรมประมงพม่าจะกำหนดเรือประมงที่สามารถทำการประมงในเขตทำการประมงที่กำหนด โดยยึดหลักเกณฑ์ศักยภาพของการประมง อัตราการจับและสมรรถนะของเรือ
8. ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
8.1 เรืออวนลากและเรืออวนล้อม - 10 เหรียญ/GRT/เดือน
8.2 เรือเบ็ดราว 10 เหรียญ/GRT/เดือน
8.3 เรือแม่ - น้อยกว่า 100 ตันกรอส ตันกรอสละ 5 เหรียญ/เที่ยว - ระหว่าง 100 - 150 ตันกรอส ตันกรอสละ 4 เหรียญ/เที่ยว - ระหว่าง 150 - 250 ตันกรอส ตันกรอสละ 3 เหรียญ/เที่ยว
8.4 ค่าจดทะเบียน - 50 เหรียญ/ลำ
9. การแบ่งผลประโยชน์จากการจับ (Catch Sharing) ต้องแบ่งผลประโยชน์จากการจับให้รัฐบาลพม่า (กรมประมง) ร้อยละ 15 ของสัตว์น้ำที่จับได้ (ในรูปมูลค่าหรือสัตว์น้ำ (in kind)) 10. ภาษี (Tax) เก็บร้อยละ
10 ของมูลค่าสัตว์น้ำที่ส่งออกเป็นเงินเหรียญสหรัฐ
11. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการใช้ท่าเรือ ค่าธรรมเนียมการใช้ไฟ เป็นต้น บริษัทร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบ
12. ลูกเรือ (Fishing Crew)
12.1 ชาวพม่า 5 คน ในช่วง 4 เดือน
12.2 ชาวพม่า 7 - 10 คน ในช่วง 6 เดือน
12.3 ลูกเรือชาวพม่าครึ่งหนึ่งหลังจาก 6 เดือน แล้ว
12.4 เจ้าหน้าที่กรมประมง 1 คน โดยบริษัทร่วมลงทุนออกค่าใช้จ่ายให้
13. จุดตรวจ (Check Points) และถ่ายปลา สิตต่วย ตันด่วย มะริด เกาะสอง ไฮจิ และย่างกุ้ง
14. การขนส่งสัตว์น้ำ
14.1 สัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมดจะต้องนำขึ้นที่ท่าเรือ ประเมินราคา ขาย และขนถ่ายไปเรือแม่เพื่อส่งออก
14.2 ไม่อนุญาตให้ส่งสัตว์น้ำออกนอกประเทศโดยเรือประมง
15. เงินประกันความเสียหาย (Security Deposit)
15.1 ต้องวางเงินประกันความเสียหายจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ ที่กรมประมงพม่า
15.2 เงินประกันจำนวนนี้ จะใช้สำหรับเป็นค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาตจับสัตว์น้ำ และ จ่ายเป็นค่าปรับกรณีกระทำผิด เป็นต้น
15.3 จำนวนเงินประกันที่เหลือสามารถขอคืนได้
16. พันธบัตรประกันการลงทุน (Performance Bond) จะต้องมีการวางพันธบัตรประกันการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่กระประมง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีแหล่งที่มา http://www.navy.mi.th/tmbfcc/IntDocFisheryInMyanmar.php

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13696เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท