ประมงพื้นบ้านเมืองตรังยื่น 7 ข้อเสนอผู้ว่าฯ หลังตรวจพบทรัพยากรทางทะเลโดนทำลาย ต้นเหตุจากประมงผิดกฎหมาย หวังยืดอายุการทำประมงชายฝั่งให้ยั่งยืน
ประมงพื้นบ้านตรังยื่น
7
ข้อเสนอผู้ว่าฯ
ประมงพื้นบ้านเมืองตรังยื่น
7 ข้อเสนอผู้ว่าฯ หลังตรวจพบทรัพยากรทางทะเลโดนทำลาย
ต้นเหตุจากประมงผิดกฎหมาย
หวังยืดอายุการทำประมงชายฝั่งให้ยั่งยืน
นายอิสมาแอน
เบ็ญสะอาด สมาชิกชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง เปิดเผยว่า
ชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง
เป็นองค์กรภาคประชาชนที่รวมตัวมาจากกลุ่มชาวบ้านในชายฝั่งทะเลตรัง
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ชายทะเลและชายฝั่ง
รวมการดูแลเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้มีการทำการประมงแบบทำลายล้างและยังมีการส่งเสริมกิจกรรมในหมู่บ้านชาวประมงชายฝั่งที่ปัจจุบันจังหวัดตรังมีกว่า
40 หมู่บ้าน มีการพัฒนาชีวิตให้กับชุมชนพัฒนาทุกระดับ เช่น
จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านระดับชุมชน การส่งเสริมอาชีพ การศึกษา
เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อให้ชุมชนของชาวประมงชายฝั่งสามารถอยู่ร่วมกันได้และมีอาชีพอย่างยั่งยืน
จึงได้มีการขอความร่วมมือกับจังหวัดเพื่อหามาตราการในการป้องกันการทำลายล้างด้วยการทำประมงที่ผิดกฎหมาย
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใช้เรือประมง อวนรุน
อวนลากเข้าไปทำประมงในเขตห้ามทำการประมง 3,000 เมตร
การใช้เรือประมงประเภทเรือปั่นไฟ ช็อตปลา ใช้ระเบิดปลา
โดยกลุ่มประมงพื้นบ้านให้หามาตราการมาแก้ปัญหา
มาตราการแก้ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมายร่วมกันดังนี้
1.จัดชุดเฉพาะกิจ (ฉก.)เพื่อเฝ้าระวังและรักษาทะเลตรัง
ตลอดจนเครื่องมือทำลายล้างอย่างรุนแรง เช่น อวนรุน ระเบิดปลา ยาเบื่อ
ที่ทำให้สัตว์ลดลง อย่างชัดเจน
2.จัดตั้งเครือข่ายชมรมประมงหมู่บ้านให้ครอบคลุมทั้ง 5
อำเภอชายฝั่งทะเล และจัดตั้งกลุ่มเพื่อดูแลรักษาทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่ง
3.ให้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ในระดับแนวทางที่สอดคล้องกับชุมชน
ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
เพื่อรักษาความเป็นองค์กรภาคเอกชนของจังหวัดตรัง
เชื่อมร้อยรวมกับชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดอื่นๆ
เป็นเครือข่ายสมาพันธ์ชาวประมง พื้นบ้านภาคใต้ 13 จังหวัด
เพื่อร่วมกันจัดการทรัพยากรในระดับภาคและระดับชาติต่อไป
4.ให้จังหวัดช่วยเหลือชมรมชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ
และจัดหางบประมาณจากกองทุนฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน
5.ออกกฎหมายมาตรการป้องกันการ
ทำลายทรัพยากร การรักษาทะเลอย่างเคร่งครัด 6.ผลักดันเรือประมง
ที่กระทำผิดกฎหมายหรือทำประมงแบบทำลายล้าง ออจากพื้นที่จังหวัดตรัง
และกำหนดการขอความร่วมมือทุกภาคส่วน
7.ขอให้ประกาศดำเนินการเขตอนุรักษ์ใหม่ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการพิจารณา
กำหนดเขตประมง ที่ประกาศเมื่อ 17 พฤศจิกายน
2546
“เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของจังหวัดตรังให้คงอยู่ตลอดไป
จึงขอให้ทางจังหวัดพิจารณาตามมาตรการของชาวประมงพื้นบ้านด้วย”
แหล่งที่มา
http://www.siamrath.co.th/UpCountry.asp?ReviewID=103836
ความเห็น
ยังไม่มีความเห็น