เรื่องจริงที่เกิดขึ้น..โลกร้อน


คุณลิขิตแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง

เรื่องจริงที่เกิดขึ้น....และทุกคนควรรับรู้    โลกร้อน    เป็นเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นจริงแน่นอน แต่ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของโลก  เช่น อากาศเย็น หรือร้อนผิดปกติ  น้ำท่วมมากขึ้น  พื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น  และมีความเป็นไปได้อย่างน้อยร้อยละ 90   ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  มนุษย์เป็นตัวการสำคัญของปัญหา

โลกร้อน  โลกมีระบบควบคุมสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ  โดยปกติ ชั้นบรรยากาศของโลกจะประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด และไอน้ำ เมื่อรังสีคลื่นสั้น คือคลื่นแสง จากดวงอาทิตย์มาถึงบรรยากาศโลก   ประมาณ 30%จะสะท้อนกลับสู่ห้วงอากาศ  ส่วนอีก 70 %  จะผ่านเข้ามายังพื้นผิวโลกและถูกดูดกลืนด้วยพื้นน้ำ พื้นดิน พืชสัตว์ และหลังจากนั้น พลังงานจะถูกคายออกมาในรูปรังสีคลื่นยาว ซึ่งเป็นคลื่นความร้อนกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ โดยกระแสลมและเมฆที่อยู่บนชั้นบรรยากาศ  คลื่นความร้อนจะถูกกักเก็บไว้โดยก๊าซเรือนกระจก ที่มีอยู่หนาแน่นข้างบน  ในภาวะปกติระบบการทำงานเหล่านี้จะช่วยทำให้อุหภูมิบนผิวโลก ไม่ร้อนจัด หรือเย็นจัดเกินไป             อัตราส่วนของก๊าซเรือนกระจก จะประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) 60 %  มีเธน (OH 4)15 % ฟรีออน (CCIBF 2) 12 % โอโซน (03) 8%  และ ไนตรัสออกไซด์ (N3O) 5%      จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่า หากปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ลดลงครึ่งหนึ่งจะทำให้อุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกลดลงถึง 5 องศาเซลเซียล แต่ในระยะหลังจากการศึกษา พบว่าเป็นมีการเผาไหม้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้นมหาศาล ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ในอนาคตโลกจะร้อนขึ้น จากปรากฏการณ์เรือนกระจก       จากปัญหาเรื่องภาวะเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นก็คือ ชั้นก๊าซเรือนกระจกไม่ได้มากขึ้น แต่เป็นเพราะก๊าซเหล่านี้มีความเข้มข้นมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งทำให้คลื่นความร้อนที่ควรคืนกลับออกไป ถูกเก็บกักสะสมไว้โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์

 ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ที่มากเกินไปนี้มาจากไหน   ก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซด์ เป็นก๊าซที่สำคัญที่ทำทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารให้มวลมนุษย์มีชีวิตอยู่รอดได้บนโลก ในกระบวนการทางธรรมชาติ คาร์บอนไดร์ออกไซด์จะได้ในการเก็บกักและกำจัดเพื่อควบคุมปริมาณให้มีความสมดุล เช่น ต้นไม้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีมากและเก็บไว้ในรูปของคาร์บอนในเนื้อไม้ ในซากพืชและสัตว์ที่ทับถมยาวนาน จนกลายเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล(ฟอสซิล คือ การทับถมของใบไม้ ต้นไม้ จนกลายเป็นถ่านหิน  น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ) ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวนมหาศาลที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มีมากเกินกว่าระบบธรรมชาติจะจัดการได้ มาจากการใช้พลังงานที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมันแก็สธรรมชาติ)การตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งเก็บกักก๊าซชั้นดี  รวมทั้งการเผาป่าการให้เชื้อเพลิงและไฟฟ้าทั้งใน ภาคอุตสาหกรรม  การเกษตร ภาคการขนส่งและคมนาคม รวมทั้งวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในเมือง 

ยังมีก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ  เช่น มีแทน  แม้จะมีปริมาณน้อยแต่โมเลกุลของมีแทนดูดกลืนรังสีความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดร์ออกไซด์ถึง 25 เท่า  ก๊าซมีแทนเป็นก๊าซที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุโดยไม่ใช่ออกซิเจน  กิจกรรมหลักของมนุษย์ที่เป็นการเพิ่มมีแทนในชั้นบรรยากาศ ได้แก่ การทำปศุสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น ฟาร์มวัว  ฟาร์มหมู การฟังกลบขยะโดยไม่ได้แยก ขยะอินทรีย์ รวมทั้งการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงฟอสซิล  ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เพิ่มปริมาณมากขึ้นจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมโรงงานที่ผลิตเส้นใย ไนลอน อุตสาหกรรมทางเคมี และพลาสติกที่ใช้ กรดไนตริกในการผลิตรวมถึงการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ในการเกษตร จะทำให้เกิดการปล่อยไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศ 

โลกร้อนน้ำแข็งละลาย  อุณหภูมิ  ของผิวโลกปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นเกือบ 1 องศาเซลเซียส เป็นเรื่องที่น่าวิตกเพราะนั่นคืออุณหภูมิ เฉลี่ยตลอดปีของโลกในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วง 50 ปีหลัง อุณหภูมิของโลกพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วหลายคนคิดว่าโลกร้อนเพิ่มขึ้นแค่เล็กน้อยเท่านั้น ไม่น่ามีผลกระทบมากมายเท่าไร  แต่ในความเป็นจริงผิวพื้นโลกทั่วไปประกอบด้วยพื้นดินเพียง 1 ส่วน และพื้นน้ำ 3 ส่วน ซึ่งแผ่นดินมักจะร้อนเท่าพื้นน้ำ กล่าวคือในขณะที่แผ่นดินซึ่งมีพื้นที่เพียงประมาณ 20 % ของผิวโลกร้อนขึ้น 3 4 องศาเซลเซียส ทะเลซึ่งมีพื้นผิวมากกว่าแผ่นดินถึง 4 เท่า อาจจะร้อนขึ้นเพียงเล็กน้อย  แต่กรณีที่โลกร้อนเพิ่มขึ้น 1 องศา ได้นั้น  นั่นหมายความว่าแผ่นดินจะต้องเพิ่มมากกว่าทะเลถึง 4 เท่า  แต่ยังหมายถึงว่า อุณหภูมิเท่าแผ่นดินกับพื้นน้ำที่แตกต่างเท่ากันมากขึ้น นั้น จะทำให้ลมที่พัดจากทะเลเข้าหาฝั่งอย่างมรสุม หรือ ลงประจำถิ่นอื่น ๆ พัดรุนแรงขึ้น  พายุหมุนจึงมีโอกาสเกิดได้บ่อยขึ้นด้วย                จากรายงานฉบับล่าสุดของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์  2550  ได้รู้ว่าหากอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นเช่นนี้อยู่ อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลก อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 4 6 องศาเซลเซียส คือ เพิ่มในอัตราเร็วขึ้นถึง 10 เท่าจากปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเพียงแค่ 2 องศาเซลเซียส จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไม่มีทางย้อนกลับได้  อุณภูมิที่สูงขึ้นสามารถบรรเทาลงได้  โดยระบบการจัดการของโลกในระยะเวลากว่าล้านปี  แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็วในปัจจุบันไม่อาจเยียวยาได้ในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากระบบนิเวศไม่สามารถปรับตัวได้  ตัวอย่าง ของการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจย้อนกลับอาจเป็นเรื่องของน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นผลกระทบที่เป็นหายนะภัยในระยะยาว  พื้นผิวของน้ำแข็งขั้วโลก ทำหน้าที่สะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ กลับสู่บรรยากาศได้ดี 90 % ในขณะที่น้ำทะเลก็สามารถดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ถึง 90 % เช่นกัน จากการสำรวจของเรือดำน้ำนิวเคลียส ของสหรัฐอเมริกา พบว่าแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือมีความหนาลดลง จากความหนาโดยเฉลี่ย 3 เมตร ในปี 2503  ละลายลงเหลือ 2 เมตรในเวลาเพียง 30 ปี  และได้ทำนายไว้ว่าภายใน  25  ปีข้างหน้า เราอาจได้เห็นขั้วโลกเหนือในหน้าร้อนที่ไม่มีแท่งน้ำแข็งปกคลุมเลย                 ที่ขั้วโลก  นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า ในรอบ  30 ปีที่ผ่านมา  มีก้อนน้ำแข็งแตกจากแผ่นดินลอยลงสู่มหาสมุทร  เป็นพื้นที่ถึง 13,500 ตารางกิโลเมตร และในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา  อุณหภูมิบริเวณขั้วโลกใต้สูงขึ้น ราว 2.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้  มีอัตราการละลายเพิ่มขึ้น เป็น 150 ลูกบาศก์กิโลเมตร ต่อปี เปรียบเหมือนการดูน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพล รวมกัน ซึ่งเท่ากับ 5 ลูกบาศก์กิโลเมตร  นั่นคือ ปัจจุบันนี้ในแต่ละปี น้ำแข็งขั้วโลกใต้ละลายเป็นน้ำปริมาณ 30 เท่าของน้ำแข็งทั้ง 2 เขื่อนรวมกัน         

  ผลกระทบประเทศไทยจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตเมื่อปัจจุบันเริ่มส่งสัญญาณ                     ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยบรรณในอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่  ไม่มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก และประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ แล้ว  ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อยมาก คิดเป็น 0.6 %  ของการปล่อยก๊าซชนิดนี้จากทุกประเทศทั่วโลก  ถึงจะมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย แต่ผลกระทบที่ไทยจะได้รับจากภาวะโลกร้อนนั้นไม่น้อยเลย  เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปรากฏการณ์ที่ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยมีสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของผลกระทบ        การดำรงชีวิตของเราในอีก  50 ปีข้างหน้า อาจแตกต่างไปจากปัจจุบัน เพราะภาวะโลกร้อน จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตการเกษตรตกต่ำลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เขตเพาะปลูกจะเขยิบขึ้นไปสู่เขตอบอุ่น  ความขัดแย้งเรื่องแหล่งน้ำจืดระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น  พายุฤดูร้อนเพิ่มถี่และรุนแรงมากขึ้น การประมงมีปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ  น้ำทะเลทำให้ฝูงปลาอพยพไปสู่แหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกว่า  โรคร้ายอาจแพร่กระจายเพิ่มขึ้นจากพาหะที่ได้ประโยชน์จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น เช่น มาเลเรีย  อหิวาตกโรค  โรคทางเดินหายใจและโรคปอด                 วันนี้เราจำเป็นต้องมีแนวคิดใหม่ในการแก้ปัญหา เพราะสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่นี้  ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยวิธีคิดแบบเดิม  เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่ความอยู่รอดของประเทศหรือสังคมของเราขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะบุคคลในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ  การเปลี่ยนแปลงในสระดับภาพใหญ่ จึงเป็นเองสำคัญมาก  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย  ระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างทางกายภาพที่เราอาศัยอยู่เราอาจแก้ไขปัญหาและอยู่รอดได้  หากการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเกิดขึ้นได้ในระดับใหญ่  ประชาชนควรได้รับรู้เรื่องราวปัญหาภาวะโลกร้อนที่อยู่ไม่ไกลตัวเลย  และตระหนักถึงพลังของตนในการสร้างการเปลี่ยนแปลง เราจำเป็นต้องรวมพลังเปลี่ยนวิธีคิดของภาคการเมืองและภาคอุตสาหกรรม โดยมีความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ 

แล้วเราจะทำอย่างไร   เมื่อรับรู้แล้วว่าคาร์บอนไดออกไซด์ คือ ก๊าซเรือนกระจกสำคัญที่ถูกปลดปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศโลกจากกิจกรรมของมนุษย์  การแก้ไขและลดปัญหาภาวะโลกร้อนที่เราสามารถทำได้ทันทีก็คือ การควบคุมปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์  รวมทั้งก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา  ไม่ว่าในฐานะของประชาชนหนึ่งคน หรือในฐานะพลเมืองคนหนึ่งที่มีอาชีพเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อน               

 น้ำมัน เป็นแหล่งพลังงานหลักและแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ผลิตภัณฑ์น้ำมันเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในยานพาหนะและเครื่องบินและระบบทำความร้อนรวมถึงโรงไฟฟ้า              

  ถ่านหิน คือเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นตัวการโลกร้อนอันดับหนึ่ง การเผาไหม้ถ่านหินจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามหาศาล ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่สกปรกมากที่สุด              

  แก็สธรรมชาติ แม้จะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สกปรกน้อยที่สุดแต่ก็ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาครึ่งหนึ่งของลิกไนต์สำหรับพลังงานที่ผลิตได้ทุก 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง             

   การทำลายป่า มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวมประมาณ 1 ใน 5 ป่าฝนเขตร้อนคือแหล่งเก็บกักคาร์บอน และเป็นพื้นที่สำคัญในการควบคุมระบบภูมิอากาศของโลก               

มีแทนและไนตรัสออกไซด์ แหล่งกำเนิดหลักของมีแทนคือการปศุสัตว์  การเกษตรกรรม  การทำลายป่าไม้  การทลายของชั้นดินเยือกแข็ง              

  เพอร์มาฟรอส ทำให้เกิดการปล่อยมีเทนจำนวนมหาศาล ส่วนการทำเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมียังเป็นแหล่งใหญ่ของก๊าซไนตรัสออกไซด์           ผมขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม  ต่อมนุษย์ชาติ  ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง   มนุษย์เป็นผู้สร้างกิจกรรมและก่อให้เกิดปัญหาต่อธรรมชาติ มนุษย์ต้องแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ก่อนที่ธรรมชาติจะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองแล้ววันนั้นคงไม่มีอะไรเหลืออีกต่อไป                                                     

วิชัย  อมรพันธางค์                      

 โดย.... สะแกกรัง / ตุลาคม 2550

                                                                                                                            

หมายเลขบันทึก: 136881เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ดีมากเลยค่ะ

ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซต์ได้อย่างลึกซึ้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กมลชนก

ขอบคุณที่ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซต์ได้อย่างลึกซึ้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท