รายงานการติดตามสถานการณ์ทางสังคมไทย:การปรับปรุงการมัธยมศึกษา โดย DR. LUIS BENVENISTE(ตอนที่ 2)


3.คุณภาพของการมัธยมศึกษาในประเทศไทย
 3.คุณภาพของการมัธยมศึกษาในประเทศไทย
     
ประเด็นสำคัญที่น่าเป็นห่วงในระบบการมัธยมศึกษาของประเทศไทยคือ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ข้อสรุปสำคัญประการหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการเทียบเคียงผลการเรียนของนักเรียนไทยในระดับนานาชาติ  คือ  ประเทศไทยมีคะแนนสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับรายได้คล้ายคลึงกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าโดยทั่วไปแล้วประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกันในระดับหนึ่ง  และนักเรียนไทยโดยเฉลี่ยนอกจากจะทำคะแนนได้ดีเมื่อเทียบกับนักเรียนระดับเดียวกันในประเทศอื่นที่มีระดับรายได้คล้ายคลึงกันแล้ว  การกระจายของความรู้ทั่วประเทศไทยยังค่อนข้างเป็นไปอย่างเท่าเทียม สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมีส่วนเพียงเล็กน้อยในการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในคะแนนผลสัมฤทธิ์โดยรวมของนักเรียน           
       
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผลลัพธ์ของโครงการประเมินนักเรียนระหว่างประเทศ
(Programmed for International Student Assessment – PISA )  และแนวโน้มในการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ ( Trends in International Mathematics and Science Study – TIMSS) ชี้ว่าคะแนนของประเทศไทยอยู่ในขั้นเป็นที่พอใจเมื่อเทียบกับระดับรายได้ของประเทศและการกระจายความรู้มีความเท่าเทียมกันก็ตาม มันยังย้ำให้เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาเร่งด่วนในเรื่องคุณภาพของการศึกษาซึ่งต้องการความเอาใจใส่อย่างเร่งด่วนเช่นกัน  จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่ามีนักเรียนไทยไม่กี่คนทำคะแนนอยู่ในกลุ่มความสามารถระดับสูง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีนักเรียนจำนวนมากทำคะแนนได้ในระดับต่ำกว่าระดับความสามารถที่ยอมรับได้  ประเทศไทยมีนักเรียนประมาณร้อยละ 40  ที่ทำคะแนนอยู่ที่ระดับหนึ่งหรือต่ำกว่าในโครงการประเมินนักเรียนระหว่างประเทศ ( PISS )  และนักเรียนมากกว่าร้อยละ 50  ทำคะแนนทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับหนึ่งหรือต่ำกว่าในโครงการประเมินเดียวกัน จึงเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันมากกับประเทศที่มีรายได้สูงซึ่งมีนักเรียนเพียงร้อยละ 10 ที่ทำคะแนนอยู่ที่ระดับหนึ่งหรือต่ำกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว  สัดส่วนของนักเรียนไทยจำนวนมากทำคะแนนอยู่ที่ระดับพื้นฐานที่สุดหรือต่ำกว่าทั้งในด้านความสามารถทางภาษา   คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์           
        
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  เนื่องจากผลฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นค่าสัมบูรณ์  จำเป็นต้องมีนโยบายในการเพิ่มการทำคะแนนโดยรวมของประชากรนักเรียนโดยทั่วไปคุณภาพของครูเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง การส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพของครูอาจสามารถนำไปสู่การปรับปรุงจำนวนนักเรียนและการเรียนอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต  นอกจากนี้ยังมีการขาดแคลนทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้ในโรงเรียนไทย ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น  การลงทุนในด้านทรัพยากรพื้นฐานในโรงเรียนให้มากขึ้นเพื่อจัดหาสื่อการเรียนจำเป็นให้ครูใช้อย่างมีประสิทธิผลในการเสริมเนื้อหาการเรียนสอน สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนไทยได้เป็นอย่างดี  และส่งผลต่อผลลัพธ์สุดท้ายในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น (โปรดติดตามตอนที่ 3)
 
หมายเลขบันทึก: 136876เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท