http://gotoknow.org/blog/


สุภาษิตคำเมือง คำไทย(คำอธิบาย)
ขนคิงลุก : ก. ขนตัวลุกขนพอง
 ขะหนาน : น. ทิด คำเรียกผู้อุปสมบทแต่ลาสิกขาแล้ว หนาน ก็ว่า
 ขี้เกี้ยจมักขม ต๋าป๋มมักส้ม ไข้บ่หล้มมักต๋ำเตา คนบ่เลากิ๋นจิ๊ : คนแสนงอนชอบรสขม คนตาโปนมักรสเปรี้ยว คนที่ไข้นิด ๆ หน่อย ๆ นั้นชอบยำเตา (ตะใคร่น้ำชนิดหนึ่งที่ออกในนา คนภาคเหนือเรานำมาปรุงเป็นอาหาร) คนรูปร่างขี้เหร่ นั้นเป็นคนตระหนี่ 
 ไก่งามกับขน คนงานกับแต่ง ถ้าปากมันแหว่ง แต่งอย่างใดก็ตึงบ่งาม : ไก่งามเพราะขน คนจะสวยงามก็เพราะแต่งตัว แต่ถ้าหากว่าคน ๆ นั้น เป็นคนพิการ ปากแหว่ง ถึงจะแต่งให้สวยอย่างไรก็ยังไม่น่าดูอยู่นั่นเอง 
 กำจ่มกำด่านั้นเป๋น กำดี ถ้าฟังบ่ถี่มันตึงบ่ม่วนหู : คำสั่งสอนของคนแก่นั้นย่อมจะเป็นคำดี ถ้าหากว่าฟังแล้วไม่ไตร่ตรองก็ย่อมจะ ไม่ชอบถ้า หากว่าไตร่ตรองแล้วก็จะรู้ว่านั้นคือ คำสั่งสอนที่แนะนำให้ประพฤติดี 
 เก้าเหลี้ยมสิบเหลี้ยม บ่เต้าเหลี้ยมใบคา เก้าหนาสิบหนา บ่เต้าหนาความรู้ : เก้าแหลมสิบแหลมยังไม่แหลมเท่ายอดหญ้าคา เก้าหนาสิบหนาไม่เท่ากับความรู้
 กำบ่ดีบ่ควรเอามาเล่า กำป๋างเก่าบ่ดีเอามายาย บ่ใจ้ท่า ควายตึงบ่ลง : คำที่ไม่ดีก็ไม่สมควรที่จะเอามาพูดให้ใคฟัง คำเก่า ๆ ก็ไม่ควรนำมาขยาย หากว่าไม่ใช ่ท่าน้ำ ควายก็ไม่ลงไปเล่นน้ำ 
 กิ๋นตานหยาดน้ำ ทำบุญหลวงหลาย จักได้สบาย เกิดสุขปายหน้า : ทำบุญไว้มาก ๆ ย่อมจะได้รับผลบุญตอบสนองในภาวะชาติหน้า
 กิ๋นได้เอาไว้ในไห กิ๋นบ่ได้เอาไว้ในใจ๋ : ของที่รับประทานได้เอาเก็บไว้ในไห ของที่รับประทานไม่ได้ให้เก็บเอาไว้ในใจ หมายความว่า ของที่ควรจะเป็นอาหารนั้นควรเก็บเาอไว้ในไห คือเก็บเอาไว้รับประทาน ส่วนของที่ รับประทาน ไม่ได้ ซึ่งเป็นคำพูดยกย่อง ติฉินนินทานั้น ควรจะเก็บเอาไว้ในใจ 
 ก๋ำขี้ดีกว่าก๋ำตด : หมายความว่าโอกาสที่มาถึงนั้น แม้ว่าจะได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ต้องคว้าเอาไว้ก่อน อย่าไปมัวรอ ของที่คิดว่าจะมีค่ามากกว่าทีหลัง เข้าทำนองสิบเบี้ยใกล้มือต้องรีบถือเอาไว้ก่อน 
 กำติเตี๋ยนสำเนียงจ่มส้าม ย่อมจะมีมากู้ทิศ : คำติเตียนนินทานั้น ย่อมจะมีมาทั่วทุกสารทิศ
 กึ๊มงึ้มดื่มใน น้ำบ่อไหลเจี้ยวปื๊น : คนที่เงียบขรึมนั้น บทจะเอาจริงก็ขึ้นมาละก็ร้ายนัก เข้าสุภาษิตที่ว่า น้ำนิ่งไหลลึก 
 ขะหนัด : น. สับปะรด
 กิ่วปูกิ่วดอยผ่อหัน กิ๋วคนไผผ่อบ่หัน : คอดของภูเขานั้นเราสามารถมองเห็นได้ แต่บุญวาสนาของคนเรานั้นไม่มีใครมามอง
 กำฟู่เก๊าเอาตุมตี้ไหน เอาก๋ำใส่ไฟ ฤาไหลน้ำกว้าง : คำพูดเมื่อเริ่มแรกนั้นเอาไปทิ้งเสียที่ใหน เอาไปเผาไฟหรือเอาไปทิ้งลงน้ำเสียแล้ว คือ เป็นคน เหลาะแหละ พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย รับปากอยู่หยก ๆ แล้วไม่ทำตามคำพูด 
 แกว่งตี๋นหาหนาม : เป็นเรื่องของคนที่ชอบหาความเดือดร้อนมาสู่ตัวเอง เรื่องของคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนสักนิด แต่ก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ภายหลังมาก็พาให้ได้รับความเดือดร้อน 
 กิ๋นหลาย ต๋ายคนเดียว : คนหาเงินมีเพียงคนเดียว แต่คนที่อาศัยกินด้วยนั้นมีจำนวนมาก
 กำขอแปงกว่ากำซื้อ ควรจักยื่นหื้อ ควรมีไมถี คนจะยินดี เพราะขอกั๋นได้ : คำขอร้องกันนั้นมีค่ามากมายกว่าเงินทอง คนเราอยู่ด้วยกันควรจะมีไมตรีต่อกัน
 แก่นต๋าตั๋วขวักออก เอาแก๋นบ่ากอกเข้ายัด : ของตัวดี ๆ เอาออกทิ้ง กลับเองของที่เลวกว่ามาใส่แทน เป็นคำเปรียบเปรยของคนที่เห็น ของ ผู้อื่นดีกว่าของตนเองว่า นัยน์ตาของตนอยู่ดี ๆ กลับควักทิ้ง แล้วเอาเม็ดมะกอกมาใส่แทนลูกตา 
 กิ๋นหื้อปอต๊อง หย้องหื้อปอตั๋ว ป้อจายใคร่หัว : รับประทานให้พอกับกระเพาะ การแต่งตัวก็ต้องแต่งให้สมกับฐานะ ผู้ชายจะหัวเราะ ก็ต้อง หัวเราะให้ดัง ๆ 
 ขดถวายหงายอ้งตี๋น : ก. นั่งขัดสมาธิเพรชให้อุ้งเท้าหงายขึ้น ขดถวาย (ขดสวาย)
 ขดถวาย : ก. นั่งสมาธิ
 ขดคู้ : ก. คุดคู้ งอลง
 ขดค้าย : ก. อพยพ ขยับ กระเถิบ
 ขดขอ : ก. ขดงอเหมือนขอ ขดขององอด ก็ว่า
 ข๋ด : ก. ม้วนเป็นวง เขยิบ กระเถิบ
 ขงขวาย : ก. ใฝ่แสวงหา ขมักเขม้น สะหนงขงขวาย ก็ว่า
  ขง : ก. กลัดเลือดหนองในผิวกาย น. กรุง เมือง กรงขังสัตว์ ก. เสียงดังกังวาน เช่น เสียงขง-เสียงดีฟังเพราะ
 ข๋กหยก : ก. โขยกเขยก หกขะหยก-วิ่งโขยกเขยก
 ขะหยุ็กขะหยุย : ว. ยุ่ง ไม่เป็นระเบียบ
 ข้ำเขือก : ว. โกลาหน สับสน วุ่นวาย
 ขะอูบ : น. ผอบ ขะอูบแก้ว ก็ว่า
 ขะออม : น. ภาขนะบรรจุน้ำ 
 ขะแหย็ก : ว. อาการสั่นหรือกระตุก ขะหย็อก ก็ว่า
 ขะแลขะแจ : ว. แตกกระจัดกระจาย ระส่ำระสาย
 ขะลึกตึกตั้ก : ว. เสียงโครมคราม ขะโล่มโต้มต้าม ก็ว่า
 กำจ๋าหอมเป๊ตเปี้ยงดอกไม้ ยามบิดจากขวั้นมาดม : คำพูดไพเราะนั้นเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ตอนที่เด็ดจากกิ่งมาใหม่ ๆ 
 ก๋ามะตั๋ณหา ปาหื้อล่วงล้ำ บังเกิดไหม้ สันดาน : กามตัณหาทำให้คนล่วงละเมิดโดยไม่มีความละอายต่อบาป เพราะตัณหานั้นแผดเผาสันดาน 
 ก้อนหินขว้างซัด ตั๊ดตี้แข็งขัน จ้างหุมขะนัง : ก้อนหินเอาไปขว้างปาเข้าที่แข็ง ๆ มันมักจะกระดอนกลับมาโดนคนขว้างเอง ความหมายนั้น หมายถึงเราไปเกิดเรื่องราวเป็นคดีความกับผู้มีอิทธิพล ย่อมจะเสียเปรียบทุกประตู 
 ไก่เกยจน คนเกยฟ้อน : หมายความว่าคนเราเคยทำอะไรมาก่อน ย่อมจะมีนิสัยนั้น ๆ ติดตัวมา ไม่มีวันที่จะเปลี่ยนแปลง นิสัยอันนั้นได้ง่าย ๆ หรืออีกความหมายหนึ่ง คนที่เคยมีอะไรด้วยกันอย่างล้ำลึกครั้นเมื่อ โอกาส ที่มาถึงก็ย่อมจะกระทำในสิ่งที่เคยทำนั้นได้อีก โดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมหรือไม่ 
 ก้นตั้งฟาก ปากตั้งข้าว : หมายความว่าเป็นคนที่ใช้การไม่ได้ เวลาทำไม่ยอมช่วยเหลือ เมื่อถึงเวลากินกลับเข้ามา นั่งกินอย่างหน้าด้าน ๆ 
 กันย้ายสวนอ้อย มาจูปากจ๊าง จ้างเป๋นข่าวงแก้ว : หากว่าย้ายสวนอ้อยมาให้ช้างกิน มันก็จะหมดเรียบเตียนโล่งเหมือนลานมัดโคกระบือ
 กำปากเหมือนดังผีสอน ผ่อตี้นอนอย่างหม้งกระต่าย : คำพูดนี้ไพเราะอ่อนหวานมีคารมคมคาย แต่ที่นอนรกรุงรังเหมือนรังกระต่าย
 กิ๋นข้าวกับจิ๊น ข้าวยัง กิ๋นข้าวกับหนัง ข้าวเสี้ยง : กินข้าวกับเนื่อข้าวเหลือเนื้อหมด กินข้าวกับหนังข้าวหมดหนังเหลือ
 กันว่าจะมัด บ่ต้องมัดด้วยหวาย อู้กั๋นบ่ดาย : หากว่าจะมัด ไม่ต้องใช้หวายผูก นั่งพูดคุยกันเฉย ๆ มันไม่ออกรสเหมือนมีสุรามาวางข้าง ๆ 
 กันว่าจะมัด บ่ต้องมัดด้วยป๋อ กำปากกำคอมัดกั๋นก็ได้ : หากว่าจะมัดไม่ต้องมัดด้วยเชือก คำพูดนั่นแหละเอามัดจิตใจกันได้
 กิ๋นหื้อปอคาบ หาบหื้อหื้อปอแฮง แป๋งหื้อปอใจ๊ : รับประทานให้เต็มมื้อ หาบของให้หาบพอกับกำลังวังชา ทำอะไรก็ทำให้พอดีไม่มาก หรือน้อย จนเกินไป ยามไม่สบายก็ให้นอนพัก หมายถึงว่าไม่สบายเต็มที่ถึงค่อยนอนรักษาตัว 
 ก้มหน้าดูแผ่นดินเมือง จังรุ่งเรืองไปวันตางหน้า : ให้ก้มหน้าดูแผ่นดิน เพราะวันหน้าอาจจะได้รับความเจริญรุ่งเรือง หมายความว่าให้มีความ เจียมตัวตน ขยันขันแข็งประกอบสัมมาชีพ เพราะวันข้างหน้าอาจจะร่ำรวยขึ้นมา 
 เกิดตะวา มืนต๋าตะเจ๊า จะไปฟังแก่เฒ่ากั๋นเลย : เกิดเมื่อวันวาน ลืมตาเมื่อเช้า อย่าเพิ่งอยากจะรีบแก่เฒ่ากันไปเลย
หมายเลขบันทึก: 136639เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท