สืบสานประเพณี : การเทศน์มหาชาติ


การเทศน์มหาชาตินั้น เป็นการสั่งสอนคนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

 

วันนี้ อีกแล้วละซิ  ถึงกำหนดตามแผนงานที่ผู้เขียนวางไว้  (๗ ตุลาคม ๒๕๕๐) ไปเก็บข้อมูลประเพณี : การเทศน์มหาชาติ ที่วัดจุฬามณี ตำบลท่าทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ของเรา ก่อนอื่นผู้อ่านลองศึกษาประวัติวัดจุฬามณี ก่อนนะคะ

         วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามถนนบรมไตรโลกนาถ ประมาณ 5 กิโลเมตร ครับ วัดจุฬามณี เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด เคยเป็นที่ตั้งของเมืองพิษณุโลกเดิม ตาม ประวัติศาสตร์กล่าว ว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหาร และเสด็จออกผนวชที่วัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๗  เป็นเวลา ๘ เดือน  ๑๕ วัน โดยมีข้าราชบริพาร ออกบวชตามเสด็จถึง ๒,๓๔๘ รูป  และในปี พ.ศ ๒๐๒๕ ได้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งเวสสันดรชาดกเป็นคำกลอนเรียกว่ามหาชาติคำหลวงจากพระราชกรณียกิจนี้เอง จึงน่าจะเป็นไปได้มีการเทศน์มหาชาติอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกที่เมืองสองแคว <p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">         ประเพณีเทศน์มหาชาติ ของวัดจุฬามณี จะจัดใน ข่วง ๓ เดือนของประเพณีเข้าพรรษา มหาชาติหรือเวสสันดรชาดกประกอบด้วยพระคาถาภาษาบาลี จำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา   </p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">     วันนี้วัดจุฬามณี จัดให้เทศน์มหาชาติ  กัณฑ์ ที่ ๑๐ สักกบรรพ  ซึ่งให้</p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">ข้อคิดกับกัณฑ์นี้   </p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal" align="center">"การทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์ย่อมรู้ ย่อมเห็น" </p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal" align="center">เจ้าภาพ กัณฑ์ สักกบรรพ ในวันนี้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal"></p><div style="text-align: center"></div> <p align="left">โปรแกรมการเทศน์มหาชาติ วัดจุฬามณี ประจำปี 2550 ท่านผู้อ่านโปรแกรมยังมีเทศน์มหาชาติอีก 3 กัณฑ์  คือกัณฑ์มหาราช (๑๔ต.ค๕๐) ฉกกษัตริย์(๒๑ ต.ค ๕๐) และกัณฑ์นครกัณฑ์ (๒๘ ต.ค ๕๐)</p> <p align="left"></p> <p align="left"> </p><div style="text-align: center"></div><p>        แต่ในอดีตแล้ว  การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีของไทยมาแต่โบราณกาล คือ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์   การเทศน์มหาชาติ เริ่มต้นด้วยในตอนเช้า ทำพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระ ตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดกต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ บางแห่งจัดปี่พาทย์ประโคม ระหว่างกัณฑ์ตลอดทั้ง ๑๓กัณฑ์ด้วย บางแห่งวันรุ่งขึ้น ทำบุญเลี้ยงพระอีก แล้วมีเทศน์จตุราริยสัจจกถา ในระหว่างเพล  จบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี มีหลักในการจัดพิธี ดังนี้        </p><p>           ๑. ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก โดยนำเอาต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสา และบริเวณรอบๆ ธรรมาสน์         </p><p>         ๒. ตั้งขันสาครใหญ่ ใส่น้ำสะอาดเต็ม สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ในระหว่างที่พระเทศน์ ตั้งไว้หน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี น้ำในภาชนะที่ตั้งนี้เสร็จพิธีแล้วถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่สำคัญ </p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">        ๓. เตรียมเทียนเล็กๆ จำนวน 1,000 เล่ม แล้วนับแยกเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของ กัณฑ์หนึ่ง เมื่อถึงตอนเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบๆ ขันน้ำ</p><p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">           การเทศน์มหาชาติมีอิทธิพลต่อสังคมไทย ในด้านความเชื่อ คือ เชื่อว่าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ จบภายในวันเดียว ผู้นั้นก็จะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ คือ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">           ๑. จะได้เกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งจะมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต</p> <p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">           ๒. จะได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร</p> <p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">           ๓. จะไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต</p> <p style="margin: 0cm 0cm 10pt" class="MsoNormal">           ๔. จะเป็นผู้มีลาภ ยศ ไมตรี และความสุข</p>

   ท่านผู้อ่าน ชาวพุทธทั้งหลาย  ควรปลีกเวลาหาโอกาสเข้าฟังเทศน์มหาชาติบ้างนะคะ เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ และยังได้อานิสงส์ อีก ๕ ประการ เชียวนะคะ

</span><p>เอกสารอ้างอิง : การเทศน์มหาชาติ : มหาชาติคำหลวง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถและการจัดงานเทศน์มหาชาติ ณ วัดจุฬามณี</p>

หมายเลขบันทึก: 135796เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เป็นการทำบุญและการเทศนาที่ใหญ่มากๆๆ
  • ขอบคุณพี่นิดที่นำมาเล่าให้อ่านครับผม
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณ อ. น้องขจิตมากจ้ะ
  • ตามอ่าน ให้กำลังใจ ตลอด
  • ค่ะ ได้อานิสงส์  มากนะคะ
  • ชาวเฮฮาศาสตร์ สาขาพิษณุโลก ไม่สนใจไปร่วมฟังบ้างหรือคะ  วันที่ 14  สุวรรณาจะไปที่วัดอีกในกัณฑ์ มหาราช ค่ะ
  • เคยเห็นตอนเด็กๆ ป้าไปวัด แบบนี้แหละ
  • แต่ก็ไม่เคยตามไป
  • เพราะรู้สึกว่านาน แหะๆ
  • ไปฟังก็อาจจะได้ไม่นานอิอิ
  • แต่ก็อยากไป ขอบคุณความรู้ดีๆนะคะ

 

  • สวัสดีครับ
  • เคยได้รับรู้ข้อมูลเหล่านี้มาบ้างในสมัยที่เรียนวรรณคดีประวัติศาสตร์
  • .....
  • แต่แถวอีสาน  หากกล่าวถึงการเทศมหาชาติ  ตามฮีตคองของคนอีสานจะนิยมจัดขึ้นใน "บุญเดือนสี่" ...  (บุญผเวส)  หรือ (ผะเหวด)
  • เทศน์ 13  กัณฑ์ ...
  • มีคตินิยมว่า  หากสามารถนั่งฟังเทศน์ได้ครบ  ตายไปจะได้ขึ้นสรวงสวรรค์
  • ในบุญเดือนสี่นอกจากฟังเทศน์แล้ว  ยังแห่ต้นเงินเข้าไปถวายวัดด้วยเหมือนกัน..

 

  • มาดูว่าถึงนครฯหรือยัง
  • อย่าลืมออกกำลังกายและพักผ่อนบ้างนะครับ
  •  PP จ้าน้องสาวแก้มยุ้ยทั้ง 2 เทศน์ สนุกนะคะ พระท่านองค์นั้มีคำเทศน์ที่สอดแทรก หยอกล้อกับ คนฟัง  สนุกมากกว่า อยากให้ไปฟังเทศฯกันบ้าง
  • ค่ะ อ.แผ่นดินเรียกว่า ผะเหวด ที่ทางอีสานนะคะ สุวรรณา ก็ได้ศึกษาดูเหมือนกันของทางอีสาน ใช่ค่ะความเชื่อฟังเทศน์ แล้วได้ขึ้นสวรรค์ ปู่ย่าตายาย ก่อนๆๆก็ปะเหลาะให้สุวรรณานั่งฟังเทศน์ เพื่อให้นั่งฟังอย่างตั้งใจ ไม่ซน
  • P     น่ารักมากเลยจ้ะ ยังเลย จะเดินทางพรุ่งนี้เช้า ออกจากพิษณุโลก 9 นาฬิกา ค่ะ  ถึงนครศรีฯ  วันที่ 10 เวลา 10.35 โน้นจ้ะเตรียมหนังสือไปอ่านบนรถไฟ ทั้งหมด  4 เล่ม จ้ะ กลัวเหงา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท