ศึกษาดูงาน (ต่อ)


กินทุกอย่างที่ปลูก
1.            การเพาะเห็ดด้วยขอนไม้            ชื่อเห็ด  เห็ดขอนขาว                        ไม้ที่จะนำมาเพาะเห็ด มีไม้มะม่วง ไม้แค  ไม้มะเหลื่อม  ไม้นุ่นวัสดุ อุปกรณ์ในการทำ                        1.  ขอนไม้สด                        2.  ก้อนเชื้อเห็ดขอนขาว                        3.  เหล็กแป๊บกลวง ขนาด 6-8  ยาว  4 6  นิ้ว                        4.  ค้อนไม้สำหรับตอกเหล็ก5.  เหล็กกลมขนาด 3 4 หุน  ยาว  7  นิ้ววิธีทำ1.            ตัดไม้ที่จะนำมาเพาะเห็ดยาวประมาณ  1  เมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง  2  นิ้วขึ้นไป2.            ใช้เหล็กกลวงตอกขอนไม้ให้เป็นรู  แต่ละรูห่างกัน  1  คืบ ตอกให้ทั่วขอนไม้3.            ตอกให้ลึกประมาณ  1  ข้อนิ้วมือ4.            นำเชื้อเห็ดขอนขาวมายัดลงในรูที่ตอกให้เต็มรู5.            ใช้ไม้ปิดฝารูให้แน่นทุกรู6.            ถ้าเชื้อเห็ดไม่หมดให้ปิดปากถุงให้สนิท แล้วเก็บไว้ในที่ร่ม เก็บไว้ใช้ในวันต่อไปการดูแล            1.  นำขอนเห็ดมาเรียงเป็นกองให้ใช้กระสอบหรือพลาสติกคลุมไว้  1  เดือน            2.  เมื่อครบ  1  เดือนให้เปิดผ้าคลุมออกนำขอนเห็ดไปผึ่งแดด  1  เดือน            3.  นำขอนเห็ดไปแช่น้ำ  7 10  วัน            4.  นำขอนเห็ดมาวางเรียงตั้งขึ้นไว้ที่ร่มไม้            5.  เห็ดจะค่อย ๆ งอกออกจากขอนไม้เรื่อย ๆ            6.  เก็บเห็ดมาประกอบอาหารตามใจชอบจนหมดขอน            7.  นำขอนเห็ดลงแช่น้ำ อีก  2  วัน            8.  ครบ  2  วัน แล้วนำขอนเห็ดขึ้นน้ำเอาไปไว้ในร่มเช่นเคย            9.  เห็ดก็จะค่อย ๆ งอกออกจากขอนอีกและเก็บไปประกอบอาหาร  หมดแล้วนำขอนเห็ดไปแช่น้ำอีก  2  วัน  แล้วเอาขึ้นมา ทำแบบนี้ไปจนกว่าขอนไม้จะหมด            10.  จะมีเห็ดรับประทานตลอด  1 2  ปี            สำหรับคนขี้เกียจ ไม่อยากดูแลตามขั้นตอน หลังจากเจาะรูขอนไม้ใส่เชื้อเห็ดแล้ว ก็ปล่อยตามธรรมชาติ โดยนำขอนเห็ดมาชันไว้ที่ร่มไม้ รอฝนรดให้เห็ดก็จะงอกเหมือนกัน แต่จะช้า และเห็ดที่งอกก็จะไม่สมบูรณ์2.            การทำเตาปิกนิก            วัสดุอุปกรณ์            1.  ปี๊บ  1  ใบ            2.  กระป๋องเครื่องดื่ม  1  กระป๋อง            3.  ตะปู  3 นิ้ว    1  ดอก            4.  ค้อน   1  หัว            5.  ไม้กลมขนาดเท่าแขนยาว  50  ซม.  1  ท่อน            6.  ขี้เลื่อย  ขี้กบ  แกลบ  1  ถุงปุ๋ยวิธีทำ            1.  นำปี๊บมาเปิดฝาด้านบนออก โดยใช้ค้อนกับตะปูตีเป็นช่องให้พอเหมาะกับก้นหม้อที่ต้องการใช้            2.  นำกระป๋องเครื่องดื่มมาเปิดฝาออกทั้ง 2 ด้าน โดยใช้ตะปูกับค้อนเจาะออก            3.  เจาะรูปี๊บด้านล่างสุดให้กระป๋องเครื่องดื่มยัดเข้าได้ เพื่อเป็นช่องลม            4.  นำกระป๋องเครื่องดื่มยัดใส่ในรูด้านล่างให้มิด            5.  นำไม้ท่อนมาตั้งลงไปในปี๊บให้ท่อนไม้ด้านข้างไปชนกับกระป๋องเครื่องดื่ม            6.  นำขี้เลื่อย หรือขี้กบ ที่เตรียมมายัดใส่ในปี๊บให้แน่นพอประมาณ ห่างจากปากปี๊บประมาณ  10  ซม.            7.  ดึงไม้ท่อนออกจะเห็นเป็นช่อง สำหรับจุดไฟ            8.  ใช้กระดาษจุดไฟยัดลงในช่องขี้กบ  ขี้เลื่อยก็จะติดไฟ            9.  นำหม้อหรือกระทะตั้งบนปากปี๊บที่ไฟติดอยู่แล้วประกอบอาหารได้เลย            10.  ทำครั้งหนึ่ง นึ่งข้าวได้สุก 2 ครั้ง            11.  ถ้าจะดับไฟให้เอาไม้ท่อนยัดใส่ในรูเดิมแล้วใช้ไม้ยัดขี้กบ ขี้เลื่อยให้แน่น ไฟในปี๊บก็จะดับ 3.            การทำน้ำปลาจากปลาร้า            วัสดุในการทำน้ำปลา            1.  ปลาร้าล้างน้ำสะอาด          1  กก.            2.  เกลือ                                   2.5  กก.            3.  น้ำตาลทราย                       2   กก.            4.  สับปะรด                            1  ลูก            5.  อ้อย                                     2  ข้อ            6.  น้ำสะอาด                           15  ลิตร                         วิธีทำ            1.  คั่วเกลือในกระทะให้สุก            2.  นำปลาร้าที่ล้างและผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ลงคั่วในกระทะจนแตกตัวละเอียด            3.  เทลงในหม้อที่ใส่น้ำไว้  15  ลิตร            4.  นำน้ำตาลทรายมาคั่วให้ได้สีตามต้องการ เทลงในหม้อน้ำที่เตรียมไว้            5.  ปอกเปลือกสับปะรด หั่นเป็นซีก 5 6  ซีก ใส่ลงในหม้อ            6.  นำอ้อย  2  ข้อ มาทุบพอแตกใส่ลงในหม้อขึ้นตั้งไฟต้มนาน  10 15  นาที            7.  ยกลงแล้วนำมากรองโดยใช้หวดนึ่งข้าว และถ่านที่ล้างน้ำให้สะอาด ล้างตากให้แห้ง นำใยบวบ หรือใยมะพร้าวมากรอง            8.  นำน้ำที่กรองแล้วมากรองอีก 2  รอบ  โดยผ้าขาวเพื่อให้ตะกอนหมด น้ำปลาจะได้ใสไม่มีตะกอนตกค้าง            9.  นำน้ำที่กรองได้มาต้มอีก  10 15  นาที  ทิ้งให้เย็นแล้วนำขวดที่สะอาดมาลวกน้ำอุ่น  ตากให้แห้งแล้วนำมาใส่น้ำปลา ปิดฝาให้แน่นอย่าให้อากาศเข้าได้            10.  นำขวดที่ใส่น้ำปลาปิดฝาแล้วมาตาดแดด อีก  7  วัน  ก็นำไปใช้ปรุงอาหารได้            11.  ทำ  1  ครั้ง  จะได้น้ำปลา  22  ขวด  เก็บได้นาน  6 เดือน 4.            การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบแห้ง            วัสดุในการทำ            1.  มูลสัตว์  6  ส่วน            2.  แกลบดำ , แกลบดิบ, ใบไม้แห้ง, หญ้าแห้ง, ฟาง  3  ส่วน            3.  รำข้าว  1  ส่วน            4.  น้ำหมักชีวภาพ  2  ช้อนแกง            5.  กากน้ำตาล  2  ช้อนแกง            6.  น้ำตามสมควร             วิธีทำ            1.  เอาวัสดุทุกอย่างมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำน้ำมารดพอประมาณ            2.  ผสมน้ำหมักชีวภาพและกากน้ำตาลในน้ำรดให้ชื้น  60 %            3.  กองไว้ในที่ร่มแล้วกลับกองปุ๋ยทุก  3  วัน หรือจะบรรจุกระสอบไว้ในที่ร่ม โดยไม่ต้องมัดปากกระสอบ ทิ้งไว้  7 15  วัน ก็นำไปใช้ได้             หลังจากศึกษาดูงานที่หนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์มเรียบร้อยแล้วได้เดินทางไปศึกษาดูงานในจุดต่อไป คือ ที่บ้านของผู้ใหญ่ หนูกาล  วิรุณพันธ์  บ้านโนนสวรรค์  หมู่ที่  3  ตำบลคอนฉิม  อำเภอแวงใหญ่  จังหวัดขอนแก่น  ได้มาดูการทำนาของผู้ใหญ่ หนูกาล  วิรุณพันธ์ ทำนา  1  ไร่  ได้  100  ถัง            การทำเกษตรผสมผสาน ไม่รวย  ไม่ยาก  ไม่จน  ทุกอย่างปลูกกินเอง              ก่อนที่จะทำพื้นที่  1  ไร่ ให้ได้ข้าว  100  ถัง  ครั้งแรกจะต้องปรับที่ทำนาให้ดี โดยคันนาจะต้องทำให้กว้างใหญ่ไว้สำหรับปลูกของกิน ให้ปลูกทุกอย่างที่กินได้ เหลือกินแจกญาติพี่น้องร่วมบ้าน เหลือแจก  ขาย            ก่อนถึงฤดูทำนา ให้นำปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมักใบไม้ทุกชนิดที่มีมาใส่ในที่นา  1  ไร่  แล้วไถกลบ ทิ้งไว้สักระยะแล้วหาปุ๋ยหมักใบไม้มาใส่อีกครั้งที่ 2  พอฝนตกมาก็ไถ หาต้นกล้ามาดำที่นา  1  ไร่  ใช้ต้นกล้า  300  มัด  ดำแล้วจะได้ต้นข้าว  37,000  กอ. น้ำที่ขังนาข้าว อย่าให้สูงเกิน  1  คืบ  ต้นข้าวจะเจริญเติบโตและแข็งแรงสูงประมาณ   2  เมตร ต่อต้น นี่เป็นการบรรยายของคุณพ่อหนูกาล  วิรุณพันธ์  แห่งบ้านโนนสวรรค์            หลังจากนั้นนักศึกษา อาจารย์ ทุกคนก็ได้เดินทางกลับมาที่บ้าน คุณพ่อบุญเต็ม  ชัยลา  เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งมีแม่ครัวเตรียมไว้แล้วอย่างอร่อย กับข้าวมี ส้มตำ  แกงเห็ด  ทอดปลาดุก  ข้าวเหนียว  ข้าวจ้าว  หลังจากทางคณะได้เริ่มรับประทานอาหารอิ่มทุกคนแล้ว ก็ได้เข้าห้องประชุม เพื่อรับฟัง คุณพ่อบุญเต็ม  ชัยลา สรุปการนำนักศึกษาดูงาน            ในการไปศึกษาดูงานพอสรุปได้ว่าในการประกอบอาชีพเราต้องยึด            1.  เลิกทำส่งให้พ่อค้าคนกลาง            2.  หันมาทำให้พออยู่พอกิน            3.  ทำให้พอประมาณ            4.  เดินสายกลาง            5.  ทำแบบมีเหตุมีผล            6.  มีภูมิคุ้มกัน ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน                        โดยใช้หลัก-                   มีความรู้  ความรอบรู้  ความรอบคอบ  ความระมัดระวัง-                   มีคุณธรรม  ซื่อสัตย์  ประหยัด  อดทนบันได  5  ขั้นสู่ความสำเร็จ                                                            5.  ความต่อเนื่อง                                                4.  จดบันทึก  จดบัญชี                                    3.  เลือกตัดสินใจทำ                        2.  พิจารณาทรัพยากร  ดิน, น้ำ, พืช, สัตว์, ภูเขา, ทะเล            1.  พิจารณาตัวเองหัวใจในการทำงาน  4  ขั้น            1.  พออยู่  พอกิน  พอใช้            2.  มีตลาดรองรับ            3.  ทำธุรการ            4.  มีการส่งออกผลที่ได้รับจากการทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง            1.  มีความสุข  สุขภาพดีขึ้น            2.  เป็นนายของตนเอง            3.  ครอบครัวอบอุ่น            4.  มีงานทำตลอดปีและมั่นคง            5.  มีรายได้ ลดรายจ่าย  ปลดหนี้            6.  สิ่งแวดล้อมดีขึ้น            7.  มีเวลาให้แก่ส่วนรวม            8.  เป็นแหล่งเรียนรู้เสร็จแล้ว คุณพ่อบุญเต็ม  ชัยลา  ได้นำนักศึกษาดูกิจกรรมต่าง ๆ ที่ คุณพ่อบุญเต็ม  ชัยลา  ได้ทำก็มี-                   บ่อเลี้ยงกบ-                   บ่อเลี้ยงปลานิล-                   บ่อเลี้ยงปลาดุก-                   โรงเพาะเห็ดฟาง-                   ดูเล้าเป็ด  เล้าไก่-                   ดูคอกวัวได้เวลาพอสมควร ตัวแทนนักศึกษาก็ได้กล่าวขอบคุณ  คุณพ่อบุญเต็ม  ชัยลา  แล้วก็เดินทางกลับ ถึงบ้าน  เวลา  20.20 น.  อาบน้ำ  รับประทานอาหาร พักผ่อน เตรียมตัวไปโรงเรียนในวันพรุ่งนี้คือวันที่  8  กันยายน  2550 
หมายเลขบันทึก: 134801เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท