จริงๆแล้วเราควรเริ่มเรียนภาษาอย่างไร


ทุกคนไม่รู้สึกสนุกกับมัน คือตัวปัญหา

พูดถึงตอนเด็ก ผมไม่เคยคิดว่าจะเรียนสายภาษาเลย ตอน ประถมห้าหกนี่เบื่อจริงๆ กับการที่ต้องมาตัดบัตรคำศัพท์ เช่นสัตว์ต่างๆ

ant bat จะ rat และ cat อีกแล้ว ภาพอาชีพต่างๆ เช่น police doctor teacher แต่เบื่อสุดๆ คือ secretary เอ่อ คนเก็บความลับ(ใช่ครับเลขานุการ)เพราะเด็กตัวเล็กๆออกเสียงก็ไม่ถูกรู้สึกยากมาก ไม่รู้เอามาเรียนทำไม ตอนเด็กๆนี้ท่องเอาเป็นเอาตายไม่น้อยกว่า สามสิบอาชีพ นี่คือหนึ่งในความทุ่มเทของเด็กไทยต่อการเรียนภาษา แต่ถึงเบื่ออย่างไรก็ตั้งใจเรียนแบบครูสั่งให้ท่องก็ท่อง ท่องทั้งกริยาสามช่อง ท่องทั้ง tense เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเวลานั้นเวลานี้จะถึงแล้วในเวลาอีกไม่นานและก็จบกันโดยได้ดำเนินต่อไปอีกแม้จะต้องเหนื่อยขนาดนี้ (ขอสาบานว่ากว่าจะรู้เรื่องก็เกือบรับปริญญาพอดี ทั้งๆที่จริงไม่มีอะไรเลย แต่ติดที่คำว่าเวลานั้นเวลานี้นี้แหละ ผมว่าคนที่คิดคำอธิบายนี้คงไม่รู้ว่าสร้างกรรมให้แก่คนเรียนที่ต้องนั่งงงจำนวนมาก) แต่มาถึงจุดเปลี่ยน ( turning point) เมื่อได้เรียนอ่านหนังสือนอกเวลาเรื่อง แฟรงเกนสไตล์ ถ้าใครได้อ่านจะรู้ว่ามันเป็นหนังสือเล่าเรื่องแบบ flash back คือเล่าตอนจบก่อนย้อนไปหาตอนเริ่มต้น เด็กน้อยไม่เคยเจออะไรที่ตื่นเต้นอย่างนี้มาก่อน แทบจะไม่กระพริบตาทุกบรรทัด เชื่อไหมครับว่าถึงตอนนี้เรื่องราวของ จัสติน ที่โดนประหารว่าฆ่าน้องชายของชายของด๊อกเตอร์ หรือตอนที่ ปิศาจแฟรงเก้นส์ ควักหัวใจแอลลิซซาเบ็ธ มันไม่เคยจางหายไปจากความทรงจำเลย ตั้งแต่นั้นมาจะชอบอ่านมาก และจะสงสัยว่าเขาเขียนอย่างนี้หมายความว่าอย่างไร และเปิดหนังสือ หรือถามครู พออ่านรู้เรื่องจะดีใจมาก จะเอาจนได้ มันเหมือนเป็นทั้งเป็นแรงบันดาลใจ แรงกระตุ้นจากภายใน เพราะมันสนุก มันไม่เบื่อ และที่สำคัญที่สุดคือความตื่นเต้น และมากทีสุดคือท้าทาย ผมว่านี่คือจุดที่สำคัญทีสุดของการเรียนภาษา ปัจจุบันที่ว่า ภาษาอังกฤษเหมือนยาขมหม้อใหญ่ เพราะไม่ได้ให้สิ่งนี้แก่นักเรียน สิ่งที่นำเสนอบางทีมันไม่ได้สร้างความรู้สึกว่าภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุก ได้เรียนรู้เรื่องราวแปลกๆ และตระหนักถึงคุณค่า แต่ติดอยู่ในรูปแบบที่จริงจังมากเกิน ไป เป็นทางการมาก หรือ มุ่งทำคะแนน เกินพอดี ทำให้มีลักษณะเหมือนอย่างที่เห็นทุกคนไม่รู้สึกสนุกกับมัน มองมันว่ายาก น่าเบื่อ และก็พากันเฟ้นหา สรรหาวิธีการแปลกๆมาเรียนกัน แต่ไม่เคยทำให้ผู้เรียนรู้สึกดีกับสิ่งที่เรียนเลย

คำสำคัญ (Tags): #study english
หมายเลขบันทึก: 134679เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

  • หายไปน๊าน.....นาน เชียวนะคะ
  • อดมาเห็นด้วยไม่ได้ เป็นแรงบันดาลใจ แรงกระตุ้นจากภายใน เพราะมันสนุก มันไม่เบื่อ  เลยต้องตามมาซะหน่อย   เคยอ่านเรื่องแฟรงเกนสไตล์  เหมือนกัน  สนุกค่ะ  ดูน่าติดตามแบบไม่วางเลยเหมือนกัน  อีกอย่างครูสอบด้วย  เลยสนุกที่จะตามติดเรื่องราวและอยากได้คะแนนเจ๋งๆ ด้วยพร้อมกัน
  • อย่างเราๆ ก็เลยควรต้องทำให้เด็กๆ เค้าสนุก  และมองว่ามันไม่น่าเบื่อ  แต่กลับมีประโยชน์มหาศาลเป็นไหนๆ ว่างั้นมั๊ยคะ
  • ขอบคุณค่ะ

การเรียนภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ในบ้านเรานั้น โดยมากจะเริ่มต้นบทเรียนไม่เหมาะกับการเรียนรู้ของเด็ก คือเริ่มปั๊บก็จับเขียน เอบีซี ท่องศัพท์ เขียนประโยค

เด็กไทยที่เขียนได้ ก็เพราะเขาพูดภาษาไทยได้มาก่อนเข้าโรงเรียนตั้งหลายปี ผมว่าถ้าลองสอนให้เด็กพูดโดยที่ยังไม่สนใจตัวหนังสือ น่าจะเป็นธรรมชาติกว่า ไม่ต้องสนใจว่าเขียนอย่างไร

เวลานี้ ตำราบางเล่ม ครูบางท่านถึงกับสอนการสะกด ศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งผมไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะอักขรวิธีในภาษาอังกฤษไม่ใช่การประสมแบบภาษาอื่นๆ เช่น สระ a อาจเป็นเสียง แอ, ออ, อา หรือ เอ หรืออื่นๆ (อย่างในคำ can, ball, father, bass) .... ท่าทางจะยาวครับ ไว้ค่อยแสดงความเห็นในโอกาสต่อไปครับ

สวัสดีครับ พี่เกศวิไล

หายไปนานจริงๆครับ  พอดียุ่งอยู่กับเรื่องที่บ้านนะครับ ต้องขอประทานโทษนะครับ ไม่ได้ไปป่วนเลย

ตอนที่เรียนอาจารย์จะเน้นให้เปลี่ยนเด็กครับเพราะถึงครูเตรียมดีขนาดไหน ถ้าเด็กยังไม่เปลี่ยนนี่ก็เหมือนเดิมจริงไหมครับ ที่เขาเรียกว่า scaffolding หรือนั่งร้าน ครูนี่ก็เป็นนั่งร้าน นักเรียนเป็นสิ่งที่ต้องยืนด้วยตัวเอง วันไหนนักเรียนเรียนรู้ได้เอง ก็คือประสบผลสำเร็จสูง สุด แต่ส่วนมากเราไม่รู้จะสอนอย่างไรให้เขารู้จักที่จะเรียนด้วยตัวเอง  ไม่เหมือนฝรั่ง เขานี้จอมแก้ปัญหา    ถ้าอาจารย์ ได้ดูเรื่อง Dead poet society จะรู้ว่าเรื่องแรงบันดาลใจ (inspirations) ที่ฝรั่งเขานั้นทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะกว่าเราจะเรียนภาษาได้ มันต้องใช้ motivation ทั้งยาวนานและต่อเนื่อง ไม่ใช่การเล่นเกมในห้องสนุกแล้วจบกัน มันต้องต่อไปที่บ้าน การเปิดเวปต่างประเทศ การฟังเพลง การดูหนังฝรั่ง การอ่าน ที่สำคัญมาก ตราบใดที่เด็กยังไม่หยิบหนังสือฝรั่งมาอ่าน ต่อให้เรียนจนมหาวิทยาลัย เด็กคนนั้นก็ยังมีปัญหาอยู่  สรุป ทำอย่างไรจะทำให้ไม่ใช่แค่รัก แต่ต้อง เป็นการ appreciation แบบด้วยจิตวิญญาณจริงๆ (สังเกตุได้คนเก่งภาษานี่เป็นกันทุกคน)  ขอบคุณนะครับนึกว่าลืมผมเสียแล้ว

ดีจังครับ

แล้วจะเข้ามาอ่านอีก

ชอบครับ ตัวอย่างที่ยกมา...

แต่ที่ว่าอ่านเรื่องแฟง... ตอนอายุเท่าไรครับ

ผมก็เคยจะลองอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ

แต่เข้าใจไม่ถึง 20 % ก็เลยรู้สึกเหนื่อยและไม่ได้อ่าน

ตอบ คุณแดนน้อย

อายุประมาณ ม 3-4 ครับ  ภาษาเหมือนคณิตศาสตร์ ในเรื่องของความยาก ถ้ารู้สึกเหนื่อยในการอ่าน คือ ความไม่คุ้นเคยสามสิ่ง 1 ศัพท์  2 โครงสร้าง (หมายถึง การใช้ แกรมม่า บอกความหมาย เช่น คำว่าถูกคือ passive voice การเรียงลำดับคำซึงต่างจากของไทย สาวสวย ฝรั่งใช้สวยสาว ( a beautiful girl) 3 สำนวน 

การแก้ปัญหา ต้องปรับระดับความยากในสามส่วนนี้ให้ลดลง ซึ่ง สำนักพิมพ์ Penguin, Puffin, Oxford : Dominoes,  Macmillan  เป็นต้น ได้ทำไว้แล้วแต่ยังไม่ใช่ภาษาที่ใช้ระดับที่เป็นจริง (authentic) แต่เป็นเหมือนบันไดที่จะก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ ลองไปดูที่ศูนย์หนังสือ สื่อภาษา สยามสแควร์ มีทุกอย่างทุกเรื่อง เหมาะ กับคนไทยครับ

ตอบ อาจารย์ ธวัชชัย
ครับผมเห็นด้วยกับอาจารย์ แต่อาจารย์ไทยที่สอนภาษาอังกฤษระดับเด็กเล็กๆ นี่ก็น่าเห็นใจว่าต้องเปลี่ยนวิธีการสอนมาใช้การพูดอังกฤษทั้งหมด อาจารย์บางท่าน อาจจะต้องฝึกเรื่องการพูดมากขึ้น อย่างพูดสั่งให้นักเรียนเอาเสื่อใส่ในการเกง อย่างนี้ (จะไม่พูดไทยเลย เหมือนโรงเรียนอินเตอร์ ) ถ้าโผล่พูดไทยนิดหนึง ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กคิดว่าไม่ต้องซีเรียสจะพูดไทยกับครูก็ย่อมได้ สุดท้ายก็พูดไทยตลอด 

การแปลสระขอต่อต้านครับ (แรงไปหน่อย) แต่การแปลสระ มันจะนำไปสู่ความยุ่งยากเพราะภาษาอังกฤษมันไม่ตายตัว สระออกเสียงไม่ซ้ำกันทำให้เด็กออกเสียงได้ช้าเพราะต้องมานั่งคิด ควรจะเป็นการเรียนแบบ subconcious คือจากจิตใต้สำนึกของเด็กในการจดจำรูปแบบ หรือคำเช่น mother ทำไมออกเสียงเป็น มา ละครับ แทนที่จะเป็นมอ เหมือนคนที่อยากออกเสียงได้ไปเรียน phonetic นั่นมันสำหรับนักภาษาเรียน ไม่ใช่ให้คนที่อยากพูดได้เรียน

อยากถามว่าทำอย่างไร ถึงจะสร้างความท้าทายในการใช้ภาษาให้ตัวเองได้ละครับ

ความท้าทายมาจากการเลือกเป็นอันดับแรก การเลือกคือความสนใจในสิ่งที่ต่างกัน อาจจะเป็นสิ่งเดียวกันแต่มีความแตกต่างกัน ฟังแล้วงงนะครับ ลองยกตัวอย่าง ถ้าผมพูดว่าภาษาอังกฤษ คุณแดนน้อยจะเรียนอะไร

คุณแดนน้อยก็บอกว่าผมไม่รู้ครับ สมมติ ผมเป็นอาจารย์ผมก็คิดว่าคุณแดนน้อยอายุเท่านี้ ควรจะต้องเรียนเรื่องนี้สนใจเรื่องนี้ แล้วมันใช่หรือเปล่าละครับ อาจจะใช่หรือไม่ใช่ 

ฉะนั้นถ้าเข้าเรียนควรจะ พยายามสนใจสิ่งที่อาจารย์ป้อนให้ แต่ถ้าอาจารย์ที่ดี ก็จะมีตัวเลือกให้ และ สุดท้ายก็ให้เด็กไปหาเอง นี่ก็คือความท้าทายอย่างหนึ่ง และเป็นเหตุผลว่าทำไมครูชอบให้นักเรียนไปสัมภาษณ์ ฝรั่ง

ความท้าทายในการเรียนภาษากับการใช้ภาษาคงเป็นคนละส่วน  แต่แนวคิดเดียวกันคือต้องเลือกสิ่งที่อยากทำ  อย่างเช่นว่า การใช้ภาษาใน net คุณแดนน้อย อยากจะ โพสต์ โต้ตอบฝรั่งใน youtube ได้ ผมอยากเขียน blog เป็นภาษาอังกฤษ  เล่าเรื่องต่างๆในจังหวัดผม  นี่ก็คือสิ่งที่ผมและคุณแดนน้อยเลือก  การเลือกทำให้เกิดแรงจูงใจภายใน มาก แต่ปัญหาคือสิ่งที่เราเลือกนั้นเหมาะกับเราหรือเปล่า คือ มันยากไปไหม ถ้ายากไปเราต้องแบ่งเป็นขั้นๆ แล้วก็ทำไปทีละขั้น มันต้องวางแผน จึงจะสำเร็จ  เป็นคำถามที่ดีมากครับเพราะผมเจอนักเรียนไทยหลายคนในชีวิตคงไม่

เคยชอบหรือสนใจอะไรเป็นพิเศษ พอถามว่าเรียนเรื่องนี้ไหม เฉยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างนี้หมดหวังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท