เคล็ด (ไม่) ลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่


เคล็ด (ไม่) ลับสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่

1.ผู้ปกครองไม่ควรวิตกกังวลหรือแสดงความตกใจต่อ  

    พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กมากจนเกินไป  ควร

   ใจเย็น และค่อยๆหาวิธีแก้ไข เพราะทุกปัญหาย่อมมีทางออก/แก้ไขได้ 

2. ผู้ปกครองควรหาสาเหตุ / ตัวกระตุ้น ที่ทำให้เด็กแสดง

    พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (เพราะอะไรเด็กจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้น) และพยายามลด/หลีกเลี่ยงสาเหตุ / ตัวกระตุ้น ที่ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นๆ  เนื่องจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซ้ำๆ อาจทำให้เด็กติดเป็นนิสัย  ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้นและแก้ไขได้ยากลำบากมากขึ้น ดังนั้นเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งที่ผู้ปกครองเห็นว่าไม่เหมาะสม ผู้ปกครองควรหาสาเหตุและแก้ไขทันทีเพื่อไม่ให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นๆ  จนติดเป็นนิสัย

3. เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น กรีดร้องเมื่อถูกขัดใจ  ผู้ปกครองไม่ควรให้ความสนใจ พูดหรือถกถียงกับเด็ก โดยช่วงแรกที่ผู้ปกครองแสดงท่าทางไม่สนใจพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก เด็กอาจแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น  ในกรณีนี้ผู้ปกครองควรมีความหนักแน่น ไม่แสดงความสนใจใดๆต่อพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก  เพราะเด็กกำลังทดสอบว่าพฤติกรรมของเด็กส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองหรือไม่ หากผู้ปกครองสามารถผ่านการทดสอบนี้ไปได้  เด็กจะรับรู้ว่าพฤติกรรมของเด็กไม่มีผลใดๆต่อผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองสามารถควบคุมพฤติกรรมของเด็กได้   โดยผู้ปกครองควรทำให้เด็กรับรู้ว่าเด็กจะได้รับการตอบสนองก็ต่อเมื่อ เด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมเท่านั้น 

4. เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และผู้ปกครองอยากให้คำชม เพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นต่อไป ให้ผู้ปกครองพูดถึงพฤติกรรมที่เด็กแสดงออก เช่น “คุณแม่ชอบมากเลยที่หนูเล่นของเล่นเสร็จแล้วรู้จักเก็บไว้ที่เดิม   และเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และผู้ปกครองไม่อยากให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นอีก  ให้ผู้ปกครองพูดถึงพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกและพฤติกรรมที่ผู้ปกครองอยากให้เด็กแสดงออก เช่น “คุณแม่ไม่ชอบเลยนะ ที่หนูเล่นของเล่นเสร็จแล้วไม่รู้จักเก็บไว้ที่เดิม แต่คุณแม่จะดีใจมาก ถ้าหนูเล่นของเล่นเสร็จแล้วรู้จักเก็บไว้ที่เดิม

5. ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก ผู้ปกครองควรสร้างกฎกติกา / ข้อตกลง ที่ชัดเจน และในการลงโทษ ผู้ปกครองควรใจเย็น พยายามข่มใจตัวเองไม่ให้มีอารมณ์หงุดหงิดเวลาที่เด็กไม่เชื่อฟัง/ไม่ทำตามที่บอก และควรพูดคุยด้วยเหตุผล ยกตัวอย่าง/ อธิบายให้เด็กเข้าใจ

6. ผู้ปกครองควรมองที่ข้อดีของเด็ก แล้วปรับข้อเสียโดยใช้ข้อดีที่เด็กมีอยู่มาช่วยในการปรับพฤติกรรม/ทักษะความสามารถต่างๆของเด็ก   อย่าคอยมองหาแต่ข้อเสียของเด็ก ควรมองหาข้อดีและรู้จักชมข้อดีของเด็กบ้าง (แต่อย่าเวอร์เกินไป) เพราะโดยธรรมชาติ  มนุษย์ทุกคนไม่ชอบให้ใครมาตำหนิ/ว่ากล่าวตนเอง

7. ผู้ปกครองสามารถสอนเรื่องความรับผิดชอบและการมีระเบียบวินัยอย่างง่ายๆ ให้แก่เด็กได้ โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองในเรื่องของกิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น เมื่อเด็กกลับมาจากโรงเรียน ให้เด็กถอดรองเท้า แล้วเก็บเข้าตู้ให้เรียบร้อย  หรือถอดเสื้อผ้าแล้วเอาไปใส่ตะกร้า                       

 

หมายเลขบันทึก: 134646เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท