CQI เรื่องการลดอัตราการ Re-visit ของผู้ป่วยโรค Diarrhea


CQI เรื่องการลดอัตราการ Re-visit ของผู้ป่วยโรค Diarrhea

CQI  เรื่องการลดอัตราการ  Re-visit  ของผู้ป่วยโรค Diarrhea

งานผู้ป่วยนอก  รพ.บรบือ 

ขั้นตอนที่  1  ปัญหาและโอกาสพัฒนา               

-  จากการให้บริการงานผู้ป่วยนอก  พบว่าโรคระบบทางเดินอาหารเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนในอำเภอบรบือ  และกิ่ง อ. กุดรัง  ซึ่งดูได้จาก 10 อันดับโรค ของ รพ.  นอกจากผู้ป่วยที่มาตรวจด้วยโรคเรื้อรังแล้ว  ยังพบว่า โรคอุจจาระร่วงก็เป็นโรคที่มีปริมาณผู้ป่วย  อยู่ในลำดับที่ 6    โดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2549  และมีการกลับมารักษาซ้ำภายใน  48 ชม. อาจมาจากสาเหตุความไม่เข้าใจวีการดูแลสุขภาพ  และอาการที่ควรสังเกตที่บ้าน ก่อนกลับมาพบแพทย์  งานผู้ป่วยนอกจึงได้จัดทำ   CQI  เรื่องนี้ขึ้น 

ขั้นตอนที่  2  คัดเลือกปัญหา

-          จากการเก็บตัวชี้วัด  ของงานผู้ป่วยนอก  พบว่าปี  2548   พบอัตราการ  Re-visit    =   2.11 %ปี  2549   พบอัตราการ  Re-visit    =  1.73  % 

ขั้นตอนที่  3  วัตถุประสงค์

1.       เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรค  diarrhea

2.       เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติทราบและเข้าใจ ถึงแผนการรักษา

3.       เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจวิธีการปฏิบัติตัวขณะอยู่บ้านและสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์

4.       เพื่อลดอัตราการ  Re-visit  ภายใน  48 ชม.  จากสาเหตุการไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติตัว

ขั้นตอนที่  4  วิเคราะห์กระบวนการหลัก

                ขั้นตอนที่  5  วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

ขั้นตอนที่  6  แนวทางแก้ไข                ปรับเปลี่ยน  พฤติกรรมการบริโภค  ความเชื่อ  ทัศนคติ  และสิ่งแวดล้อม  โดย

1.       ให้สุขศึกษารายกลุ่มแก่ผู้ป่วย ก่อนเข้า ห้องตรวจ  ด้วยโรค  Diarrhea  อย่างน้อย  1ครั้ง/ สัปดาห์

2.       ให้สุขศึกษาผ่านเสียงตามสาย/ วิทยุชุมชน  ด้วยโรค  diarrhea  อย่างน้อย  1  ครั้ง /สัปดาห์

3.       การให้คำแนะนำหลังจากผู้ป่วยออกจากห้องพบแพทย์  ให้พยาบาลซักถาม  บริบท ในเรื่อง  พฤติกรรมการบริโภค  ความเชื่อ  ทัศนคติ  และสิ่งแวดล้อม  แล้วให้คำแนะนำตามปัญหาที่พบ

4.       แนบใบให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว  ครอบคลุม  ตามเอกสาร 

.       ประสาน  PCU  เพื่อเยี่ยมติดตามให้คำแนะนำผู้ป่วยที่บ้าน

6.       ปรับการคัดกรอง  โดย-    กรณี  ผู้ป่วยเด็ก  อายุ <  15 ปี   OPD  จะไม่ได้ วัด BP ยกเว้น  Pt.  มีอาการแสดงของ DF  หรือ มีอาการปวดศีรษะ  วิงเวียนศีรษะ  แต่มีปัญหา  กรณี  Pt. Diarrhea  หรือ Vomiting  ในเด็กอายุ < 5 ปี  มักไม่ได้ วัด  BP  จึงได้ปรึกษากับองค์กรแพทย์เพื่อขอ Criteria เพิ่ม  ดังนี้ในการวัด  BP  คือ       1.  กรณีถ่ายเหลว  หรือ อาเจียน  10 ครั้ง  ขึ้นไป

2.  ถ้า  Pulse  > 100   ครั้ง/นาที  และมี Dry Lip  ถ่ายไม่ถึง 10       ครั้ง ก็ให้วัด  BP 

ขั้นตอนที่  7  กำหนดเครื่องชี้วัดวางแผนเก็บข้อมูล               

1.  อัตราการ  Re-visit   ใน  48 ชม. ด้วยโรค Diarrhea  <  2 %               

2.  อัตราผู้รับบริการเข้าใจวิธีปฏิบัติตัวหลังให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน  > 93 % 

ขั้นตอนที่  8  วิเคราะห์ข้อมูลและนำผลมาปรับปรุง               

1.  อัตราการ  Re-visit ใน  48 ชม. ด้วยโรค Diarrhea ในไตรมาสที่ 1 ของ ปี 2550 = 0.43%               

2.  อัตราผู้รับบริการเข้าใจวิธีปฏิบัติตัวหลังให้คำแนะนำก่อนกลับบ้าน  ในไตรมาสที่ 1      ของ ปี 2550 =   99.75 % 

คำสำคัญ (Tags): #โรงพยาบาลบรบือ
หมายเลขบันทึก: 134640เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท