สาระดีดีที่ควรรู้...เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


สาระดีดีที่ควรรู้...เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

รู้จัก USB

USB ย่อมาจาก Universal Serial BUS ซึ่งถูกพัฒนาโดย COMPAQ, Digital Equipment (รวมกิจการกับ COMPAQ), IBM, Intel, Microsoft, NEC และ Northern Telecom. เพื่อขยายขีดความสามารถในการทำงานของพอร์ตอนุกรม โดยมีข้อดีหลายๆ ประการ ได้แก่

- สามารถต่อเชื่อมอุปกรณ์ได้มากขึ้นใน โดยต่ออุปกรณ์ได้ถึง 127 ตัวในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว
- ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 12 Mbps
- ลดการใช้งานทรัพยากร IRQ และช่อง (Slot) สำหรับการ์ดต่างๆที่เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงในคอมพิวเตอร์ได้
- อุปกรณ์ที่ต่ออยู่ในวง USB เดียวกัน เมื่อต้องการใช้งาน ก็เพียงแต่เปิดสวิชต์ โดยไม่ต้อง Reset คอมพิวเตอร์ใหม่ เพื่อเริ่มใช้งาน
- สนับสนุนการทำงานแบบ Plug & Play โดยเป็นการขยายความสามารถของ Plug Play ให้สามารถนำมาใช้งานกับอุปกรณ์ภายนอกที่สนับสนุน Plug & Play ได้
- สนับสนุนการทำงานแบบ Hot Swap สามารถถอด-ใส่อุปกรณ์ได้โดยไม่ต้องปิดสวิทช์คอมพิวเตอร์ และใช้งานได้ทันที
- USB มีคอนเนคเตอร์ที่เป็นแบบเฉพาะ ทำให้ช่วยป้องกันความผิดพลาดในเรื่องของการต่ออุปกรณ์ผิดประเภท
- ระบบการจ่ายไฟของ USB BUS ถ้าหากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กระแสไฟแรงดันต่ำ ๆ กระแสไฟจะถูกจ่ายโดย BUS เอง เช่น เมาส์ กล้องดิจิตอล แต่กรณีของอุปกรณ์ที่ใช้แรงดันไฟสูง เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟต่างหาก เช่น จากเต้าเสียบ
- ความยาวของสายสัญญาณของอุปกรณ์ USB สามารถยาวได้ถึง 5 เมตร หากต้องการความยาวมากกว่า ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ

ส่วนประกอบของ USB

USB มีส่วนประกอบ 3 อย่าง คือ อุปกรณ์ USB ซึ่งอาจจะต่อจาก HUB หรือต่อจากคอมพิวเตอร์โดยตรง สายสัญญาณสำหรับ USB ซึ่งต่อเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ USB
1. ภาคอินเตอร์เฟชของ USB คือ ตัวอุปกรณ์ USB ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเรียกว่า Host Computer ซึ่ง Host Computer นั้นทำงานในลักษณะของการเป็น Host ส่วนตัวที่จะควบคุม USB จริงๆนั้นอาจจะเป็น Hardware, Firmware หรือ Software ก็ได้
2. HUB เป็นอุปกรณ์ในการต่อเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ USB แต่ละชนิด
3. Function ในการทำงานของอุปกรณ์ USB แต่ละชนิด ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษณะการทำงานของอุปกรณ์ USB นั้นๆ
สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานกับ USB ได้นั้นได้แก่ อุปกรณ์สำหรับโทรศัพท์ คีย์บอร์ด เมาส์ ไมโครโฟน พรินเตอร์ สแกนเนอร์ จอภาพ เป็นต้น




ทิศทางของอุปกรณ์ USB

หากนับช่วงเวลามาถึงปัจจุบัน USB ถูกแนะนำออกมาแล้วเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ซึ่งเป็นเวลานานเพียงพอที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า USB จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า USB ได้รับการยอมรับในระดับสูง มีอุปกรณ์ต่อพ่วงหลายประเภทที่ถูกผลิตออกมาให้ใช้งานพอร์ต USB เมนบอร์ดที่ผลิตออกมาเกือบทุกรุ่นมีพอร์ตอนุกรมแบบ USB ออกมาให้ด้วยเช่นกัน

ทดสอบโมเด็มแบบ USB
บันทึกเทคนิค ผลการทดสอบนี้ ทดสอบโดยใช้โมเด็มของ Jaton ซึ่งในระหว่างการทดสอบ เป็นช่วงที่มีโปรเซสเซอร์ความเร็ว 350 - 450 MHz ในท้องตลาด พบว่าประสิทธิภาพของโมเด็มแบบ USB ไม่ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขบทความนี้ครั้งล่าสุด (27 กุมภาพันธ์ 2544) พบว่าโมเด็มแบบ USB มีหลายยี่ห้อ และมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ยอมรับได้บนวินโดวส์ 98/ME/2000)

เหมือนว่าโมเด็มแบบ USB นั้นให้ผลการทดสอบว่า การทำงานของโมเด็มยังไม่ได้ความเร็วเท่าที่เราต้องการ เช่น โมเด็ม V.90 เมื่อนำเอามาใช้งานแล้ว ความเร็วในการต่อได้ไม่เกิน 21000 bps แรกทีเดียว ผมก็เข้าใจว่าเฉพาะผมเท่านั้นที่เจอกับปัญหา โทษไปที่ระบบโทรศัพท์ ที่ใช้ตู้ PABX ของ MEISEI (อ่านว่าเมเซ่) แต่เมื่อเห็นผลการทดสอบโมเด็ม USB จากที่ทดสอบโดยต่อผ่านระบบสายโทรศัพท์ตามบ้านแล้วก็ได้บทสรุปว่า ให้ผลเหมือนกัน ไม่เร็วไปกว่านั้น ปัญหาความเร็วของโมเด็ม USB เป็นเรื่องที่ยังค้างใจเมื่อเปรียบเทียบกับโมเด็มแบบ External ที่ต่อเข้ากับพอร์ตอนุกรมทั้งแบบติดตั้งภายในและติดตั้งภายนอก (ทดสอบเทียบกับ US Robotic Sportster 33.6 Voice /Data/Fax)


นอกจากปัญหาในเรื่องของความเร็วที่ยังไม่ได้ถึงขีดความต้องการแล้ว อีกปัญหาหนึ่งที่หนักหนาสาหัสไม่แพ้กันคือ เวลา Dial ไปยังปลายทาง เช่น ISP หรือ BBS หรือส่งแฟ็กซ์นั้น กินแรงซีพียู คือ ช่วงเวลาทำงานของโมเด็มแบบ USB นั้น ดึงเอาเวลาของซีพียูไปสูงมาก ทำให้ระบบหยุดชะงักไปชั่วคราว จนกระทั่งการต่อเชื่อมทำได้เรียบร้อย และไปอยู่ในภาวะ "ต่อเชื่อมเสร็จแล้ว-ใช้งาน" นั่นแหละ โหลดที่กินซีพียูจึงลดลงมา แต่ที่ว่าลดลงมาก็ใช่ว่าจะลดลงมาถึงระดับปกติ เพราะขณะที่ทำงาน เช่น คลิกเปิดหน้าต่างบราวเซอร์ อ่านเมล์ เปิด รับ ส่งเมล์ หรือทำงานอะไรก็ตาม ยังรู้สึกได้ว่า คอมพิวเตอร์นั้นอืดลงหน่อยๆ ส่วนนี้เป็นปัญหาที่ทำให้เป็นที่สงสัยว่าโมเด็ม USB จะต้องนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูความเร็ว 400 เมกะเฮิร์ต ขึ้นไป พร้อมหน่วยความจำ 64 เมกะไบต์หรือไม่


อย่างไรก็ตาม สำหรับคอมพิวเตอร์ในการทดสอบของผมนั้น ใช้ Celeron 333 MHz RAM 64 MB รู้สึกคอมพิวเตอร์ถูกหน่วงเฉพาะเวลากำลัง Dial เท่านั้น เมื่อต่อติด ก็กลับคืนสู่ภาวะเกือบปกติ ใช้งานได้


สำหรับผู้ใช้งานที่จะเลือกใช้โมเด็ม USB ก็ควรระวังไว้นิดหน่อย เรื่องที่ควรระวังเป็นอันดับแรกก็คือ ความเร็วที่ Connect ได้ นั้นแหละครับ เพราะด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันนั้น ทำให้เกิดบริษัทผลิตชิป (เซมิคอนดัคเตอร์) หลายๆ บริษัท ผลิตชิปสำหรับโมเด็ม USB ได้ และตรงกับมาตรฐาน V.90 คือ การรับ-ส่งได้ตามมาตรฐานนั้นจริงๆ แต่เวลาทำงาน ทำได้ไม่ถึง ผมเองก็รอเพื่ออยากทดสอบโมเด็มจากผู้ผลิตที่มีประสบการณ์และทำโมเด็มมาเป็นระยะเวลานานๆ อย่าง Hayes, Practical Peripheral , 3COM หรือแม้แต่ Diamond ผู้ผลิต Supra เหมือนกันว่า โมเด็มของผู้ผลิตเหล่านั้นให้ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ถ้าได้ผลการทดสอบแล้ว จะรีบนำมารายงานกันทีเดียว

เนื้อหาเพิ่มเติมเข้าไปอ่านได้ที่นี่เลยจ้า >> http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%B5
คำสำคัญ (Tags): #kmeduyala3#kmobec
หมายเลขบันทึก: 134313เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อือดีจังเลย  ได้ความรู้ต้างงงงงงงงงงเยอะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท