หากพูดถึงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี ก็ถือเป็นหนึ่งสถานที่ ที่คนที่มาจังหวัดพิษณุโลก มาแล้วจะต้องแวะเวียนมาเยี่ยม <ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> ผมเองเป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสมาจังหวัดพิษณุโลกหลายครั้ง และทุกครั้งก็ต้องพาคนมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีนี้ แต่ทุกครั้งไม่เคยอินเหมือนครั้งนี้ ดูกันแบบผ่านๆ ได้แต่เปือกๆ </li>
- คำเตือน!! การมาดูพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่นี่ ควรมีผู้บรรยาย ให้ทราบถึงภูมิปัญญาที่แฝงไว้ แล้วจะอึ้ง!! สุดยอดครับ
</ul>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>
เหมือนกับคนรู้ใจ เจอกัน 2 ผู้เฒ่าผู้ยิ่งใหญ่ ได้พบกัน งานนี้จ่าทวี รับพาเราชมบางส่วนของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมารู้ภายหลัง ปกติจ่าทวีหากไม่ใช่แขกพิเศษจริงๆ จะไม่พาชม ไม่ใช่ใจไม่ให้ แต่สังขารไม่ให้ พาแขกชมที ต้องเสียค่ายาอีกหลายสตังค์ แถมงานนี้ถึงขั้นพาดูทั้งในส่วนสวนนก และโรงหล่อพระ เรียกว่าครบถ้วนกระบวนความ ทุกซอกทุกมุม เลยครับ ไม่เว้นบ้านพัก ที่ปกติไม่เปิดให้คนเข้าง่ายๆต้องพิเศษจริงๆ <ul><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">มาครั้งนี้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงจากครั้งล่าสุดที่เคยมา ร่มรื่นขึ้น มีสีสรรยิ่งขึ้น พยายามใช้ภาพวาดการ์ตูนมาช่วยให้ดูน่ารัก น่าสนใจ โดยเฉพาะเด็ก แม้กระทั่งผม ก็ดูว่าน่าสนใจยิ่งขึ้น พยายามปรับให้เนื้อหาสาระง่ายและเข้าถึงผู้ชมมากยิ่งขึ้น สำหรับผมถือว่าโดนเลยครับ </li></ul>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal">
</p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt" class="MsoNormal"></p>
และแล้วก็รู้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้มาจากลูกสาวสุดท้อง นามว่าพรศิริ บูรณเขตต์ หรือชื่อเล่นว่า ปู วันแรกที่เจอ ปู รับหน้าที่อธิบายในส่วนของใช้พื้นบ้าน ยอมรับเลยว่า ผมเหมือนถูกสะกดเลยครับ ในวิญญานที่เธอมีที่เธอถ่ายทอดออกมา มันมาจากการได้เรียนรู้จริง สุดท้ายเราถึงรู้ว่า เธอถูกลิขิตให้มารับงานนี้จริง การที่ตามพ่อไปตั้งแต่สมัยเด็กๆ ไปอยู่กับชาวบ้าน และเรียนจบมาจากสาขาโบราณคดี และมนุษย์วิทยา ทำให้เธอ สวมบทบาทเข้าถึงจิตวิญญาน และถึงแก่นความรู้ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของเราจริงๆครับ
ทุกAct. โดนใจม๊ากมากคร๊าบ ท่านผู้ชม เปี่ยมด้วยจิตวิญญาน
- สำหรับผมแล้ว ความอินในการจัดการความรู้ ยิ่งทำให้ยิ่งมีความชื่นชมและเป็นห่วง เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาของวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าการพากลุ่มSCG Inno Facilitator ไปทำProject based learning ที่อัมพวา สมุทรสงคราม บ่อยครั้ง ล่าสุดมีรุ่นน้องคนหนึ่ง เอาหนังสือที่เปี่ยมด้วยพลังและจิตวิญญานมาให้หนึ่งเล่มจากร้านเรื่องเล่า จังหวัดเชียงใหม่ พูดถึงสิ่งที่เชียงใหม่สูญหายไป ยิ่งทำให้เรายิ่งอินเข้าไปใหญ่ ว่าสังคมท้องถิ่น กำลังจะรักษาความสมดุลของความเจริญและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างไร ใครควรเข้าไปช่วยกันดูแลบ้าง ราชการ หรือนักการเมืองท้องถิ่น จะรักษาสมดุลนี้อย่างไร หรือเน้นวัตถุนิยม เอาแต่ความเจริญเข้าท้องถิ่นเพียงอย่างเดียวหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง และต้องการดูแลโดยด่วน ยิ่งอ่านหนังสือที่ ปู เขียน เล่ม “ลูกสาวพิพิธภัณฑ์” ยิ่งเห็นถึงความทุ่มเท มีจิตวิญญาน มุ่งมั่นและท้อแท้ในหลายๆครั้ง งานนี้ทำให้ต้องเขียน ต้องเชียร์ ในฐานะป๋าดัน ขอชื่นชมสุดหัวใจเลยครับ
- วันรุ่นขึ้นภายหลังได้ไปกับครูบาสุทธินันท์แล้ว ช่วงบ่ายผมแว๊บหนีออกจากงานพาพรรคพวกชาวSCG บางส่วน ภายหลังไปกินก๋วยเตี๋ยวห้อยขา แวะนมัสการพระพุทธชินราช สุดท้ายเราก็แวะมาเยี่ยมเยียนทางพิพิธภัณฑ์อีกครั้ง มาแบบตั้งใจจริงๆ เพราะยังมีเรื่องคาใจอีกหลายเรื่องที่อยากจะสอบถาม และร่วมจับเข่าคุยกันกับทางปู ผมใช้เวลาอยู่ที่นั้นเต็มที ถึงแม้ว่าพวกเราจะไปถึงเวลาปิดก็ตาม วันนี้มีโอกาสไปฟังเรื่องราวต่างๆอีกครั้งจากน้องเอก พอดีไม่เจอปู ได้ฟังเรื่องราวที่บางเรื่องซ้ำบ้าง บางเรื่องก็ไม่เคยฟังมาก่อน และสุดท้ายก็ไปเจอ ปู ที่ร้านขายของที่ระลึก ระหว่างที่เลือกซื้อของกัน ก็ได้มีโอกาสพูดคุยสอบถามเรื่องราวมากยิ่งขึ้น ในอันดับแรกคงได้แต่รับฟัง ให้กำลังใจ เล่าเรื่องราวที่เคยเห็น แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน หวังว่าจะเชื่อมความตั้งใจต่างๆที่เธอต้องการทำและรักษาไว้ ให้นานเท่านานและยั่งยืนต่อไป แต่ตอนนี้เธอก็พยายามหาทางยัดยืน รักษาสิ่งต่างๆที่พ่อทำไว้ให้ยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อสังคมที่สุด ซึ่งก็รอวันที่มีผู้เห็นคุณค่าเข้ามาสนันสนุน ช่วยเหลืออย่างจริงจัง มิฉะนั้นก็คงจะลบเลือนหายไปอย่างไร้ค่า
</span>