ความรู้คู่คุณธรรม


ความรู้คู่คุณธรรม

ความรู้คู่คุณธรรม


ความรู้ ในที่นี้ได้แก่ ความรู้ด้านทฤษฎี ซึ่งเป็นความรู้ในหลักวิชาการต่างๆ หรือรู้กฎเกณฑ์
ของธรรมชาติ รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรเป็นคุณ เป็นโทษ อะไรเป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
คําว่า ความรู้ เป็นนามธรรมและมีความหมายอย่างเช่น
• วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้งในอารมณ์ที่กระทบทางตา หู จมูก กาย ใจ การรู้ด้วยวิญญาณนี้ แม้สัตว์ดิรัจฉานก็มีความรู้เหมือนกัน เพราะสัตว์มีจิต สามารถรับรู้อารมณ์ภายนอกที่เห็นทางตา ได้ยินทางหูเหมือนกับมนุษย์แต่ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว
• สัญญา แปลว่า ความจํา ก็เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง เกิดประกอบกับจิต เมื่อจิตหรือวิญญาณรู้อารมณ์อะไรทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ สัญญาก็จําอารมณ์นั้น ไม่รู้ว่าอะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ

ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ เกิดประกอบกับจิตมี 3 ระดับ
1.) สุตมยปัญญา แปลว่า ปัญญาความรอบรู้ที่เกิดจากการฟังธรรม ฟังครูสอนวิชาการต่าง ๆ
หรือศึกษาเล่าเรียนจากการอ่านหนังสือค้นคว้าวิชาการ ไม่ใช่ฟังสิ่งที่ทําให้เกิดกิเลส เช่น เกิดโลภะ ราคะตัณหา เกิดโทสะ ความโกรธแค้น เกิดโมหะความหลงมัวเมา เป็นเหตุให้เกิดความไม่สบายใจเป็นเหตุให้ผู้ฟังเกิดอกุศลมูลนิธิจิตคิดทําชั่ว ฟังสิ่งไม่ดี จิตก็ไม่ดีไปด้วย
2.) จินตามยปัญญา แปลว่า ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณาให้รู้ เหตุผลตามความเป็นจริง และเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องที่ตนได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนหรือสิ่งที่ตนได้เห็นทางตา และเพ่งพิจารณาด้วยสติปัญญาสามารถรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นเหตุแห่งทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดความสุข อะไรเป็นหนทางแห่งความเสื่อมอะไรเป็นหนทางแห่งความเจริญ


3.) ภาวนามยปัญญา แปลว่า ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา คือ ฝึกอบรมจิตให้มีสติ มีสมาธิและเกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม เช่น เห็นสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งในตัวเรา และนอกตัวเราเป็นธรรมชาติที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงแตกดับเป็นธรรมดา (อนิจจัง), ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง), หาตัวตนไม่ได้ บังคับไม่ได้ (อนัตตา) และคุณธรรมอื่นจะเกิดขึ้น

ความรู้คู่คุณธรรม หมายถึง ความรู้ในด้านทฤษฎีเรียนแล้วจดจําวิชาการต่างๆได้ เป็นสัญญา คือ ความจำ และเป็นปัญญาความรู้ระดับ “สุตมยปัญญา” ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น เรียนภาษาไทยก็รู้ภาษาไทย, เรียนแพทย์ก็มีความรู้ในด้านการแพทย์, เรียนธรรมะบาลีก็จําหัวข้อธรรมะได้ แปลภาษาบาลีได้ เป็นต้น การเรียนอย่างเดียวแต่ถ้าขาดคุณธรรมอาจจะใช้ความรู้ในทางที่ผิดได้ จะเป็นประเภท “ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด” จึงต้องฝึกอบรมจิตให้มีคุณธรรม
นักปราชญ์กล่าวว่าผู้รู้ธรรมะหรือวิชาการต่าง ๆ ชอบเอาชนะคนอื่น ส่วนผู้ที่มีธรรมะหรือมีคุณธรรมชอบเอาชนะตนเอง คือ ชนะกิเลสความชั่วในใจตนเอง หากชนะกิเลสในใจของตนเองได้ คนนั้นจะไม่ทําชั่ว ไม่พูดชั่วไม่คิดชั่ว จะทําแต่ความดี คุณธรรม หมายถึง ธรรมะฝ่ายดี เพราะคําว่าธรรมะ มี 2 ประเภท คือ
1.) กุศลธรรม เป็นธรรมะฝ่ายดี เป็นคุณธรรมเป็นสิ่งที่ควรเจริญอบรมให้เกิดให้มีขึ้นในจิตใจ
เป็นภาเวตัพพธรรมที่ควรเจริญ เช่น
• สัทธา ความเชื่อมั่นว่าบุญมีจริง บาปมีจริง ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว เชื่อว่าคุณบิดามารดามีจริง คุณครูอาจารย์มีจริง เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
• วิริยะ ความเพียรพยายาม ในการละชั่ว ทําดี
• สติ ความระลึกรู้เท่าทันอารมณ์
• สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิต
• ปัญญา ความรอบรู้
ธรรมะดังกล่าวนี้ เป็นคุณธรรมหรือ เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี กรุณา สงสารตนและผู้อื่น มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี อุเบกขา วางเฉยในอารมณ์ที่ควรวางเฉย
2.) อกุศลธรรม เป็นธรรมะฝ่ายชั่วได้แก่ กิเลสในใจคน เช่น โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง ความอิจฉาริษยา ความเกียจคร้าน เป็นต้น เป็นธรรมะฝ่ายชั่ว ควรละเว้น ควรขจัดให้เบาบางไปให้หมดไปด้วยการปฏิบัติธรรม อกุศลธรรมนั้นถูกจัดเป็นปหาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรละ

หมายเลขบันทึก: 133947เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอชื่นชมยินดีกับท่านไพบูลย์ รองผู้อำนวยการชำนาญพิเศษ ที่ทุมเทกับงานระบบการดูแลช่วยเหล่ือนักเรียนจนได้รับรางวัลพระราชระดับประเทศ

ด.ญ.ลัดดาพร สวามีชัย

ความรู้ควบคู่คุณธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท