ว่าด้วยเรื่อง "พันธุ์ยาง"


อิสาน เหนือ น่าสนใจ

สวัสดีครับ  ทุกท่าน  วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องยางพารา นับว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ทางรัฐได้ให้ความสำคัญในการประกอบอาชีพของพี่น้องเกษตรกรในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่งเสริมให้มีการปลูกยางพารา ในพื้นที่ที่เหมาะสมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตในรูปแบบต่างๆ ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ราคายางพาราในปัจจุบัน เป็นที่พอใจของเกษตรกรผู้ปลูกอย่างมาก

พันธุ์ยางพารา การเลือกพันธุ์ยางที่จะปลูกนั้นมีความสำคัญอย่างสูง การเลือกใช้พันธุ์ยางให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากข้อจำกัดของพื้นที่ได้ แม้ผลผลิตจะไม่สูงสุดก็ตาม

                    พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก  แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะผลผลิต ดังนี้

            กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก

            กลุ่ม 2 พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ยางที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ การเจริญเติบโตดี ลำต้นตรง ให้ปริมาณเนื้อไม้ช่วงลำต้นสูง

            กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง การเจริญเติบโต ลำต้นตรง ให้ปริมาณเนื้อไม้ช่วงลำต้นสูง ผลผลิตน้ำยางตำกว่า 2 กลุ่มแรก

                   พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกแต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 ชั้น

            พันธุ์ยางชั้น 1 เป็นพันธ์ที่ผ่านการทดลองและศึกษาลักษณะข้อดีและข้อด้อยอย่างละเอียดแล้ว สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่

            พันธุ์ยางชั้น 2 เป็นพันธ์ที่อยู่ระหว่างลักษณะบางประการเพิ่มเติมสามารถปลูกได้ในเนื้อที่จำกัด ไม่เกิน 30%ของพื้นที่ปลูกยางและไม่ควรน้อยกว่า 7 ไร่

                         กลุ่ม 1  พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง

            พันธุ์ยางชั้น 1  ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 251(RRIT 251)สถาบันวิจัยยาง 226(RRIT 226) บีพีเอ็ม 24(BPM 24) อาร์อาร์ไอเอ็ม 600(RRIM 600)

            พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 209(RRIT 209)สถาบันวิจัยยาง 214(RRIT 214)สถาบันวิจัยยาง 218(RRIT 218)สถาบันวิจัยยาง 225(RRIT 225)สถาบันวิจัยยาง 250(RRIT 250)สถาบันวิจัยยาง 319(RRIT 319)สถาบันวิจัยยาง 405(RRIT 405)สถาบันวิจัยยาง 406(RRIT 406)อาร์อาร์ไอวี 101(RRIV101) พีอาร์ 302(PR302) พีอาร์ 305(PR305)   ไฮเคน 2 ( Haiken2)

ครับเอาเป็นว่าวันนี้ให้ท่านได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องพันธุ์ยาง  กลุ่ม 1,2,3 และพันธุ์ยาง ชั้น 1, 2    และพันธุ์ยางในชั้น 1, 2 ว่ามีพันธุ์ไหนเหมาะที่จะปลูกพื้นที่ไหนอย่างไรต้องการน้ำยางหรือต้องการไม้ เอาไว้คราวหน้าจะบอกลักษณะพันธุ์ยางกลุ่ม 1 เป็นแต่ละพันธุ์ ว่ามีการเจริญเติบโต  ลักษณะลำต้น ใบ ทรงพุ่ม เป็นอย่างไร........... สวัสดีครับ

                       

           

หมายเลขบันทึก: 133887เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

*สวัสดีครับ.....ที่ได้เอาความรู้เมื่อ 34 ปีที่แล้วผมเรียนเกษตรตรัง พันธ์ยางท่องจำหมดเลยพร้อมทั้งข้อดีของแต่ละพันธ์

*ตอนนี้หมดภูมิแล้ว.....ก็ต้องขอขอบคุณที่นำเรื่องนี้มากระตุ้นความจำได้มากเลย

       ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของรางวัล  blogger ดาวรุ่ง ของกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำเดือนสิงหาคม ด้วยนะครับ

 

 สวัสดดีครับ..พี่ ส.บัณฑิต

  • เหมือนพีว่าเมื่อก่อนท่องจนจำหมด
  • เห็นต้นยาง สวนยางตอบได้เลยว่าพันธุ์อะไร
  • อาร์อาร์ไอเอ็ม600  จีที 1 บีพี 5/51
  • ขอบคุณพีมากครับ

 

สวัสดีครับ พี่P นันทา

สวัดดีครับ น้องP สิงห์ป่าสัก

  • ขอบคุณทั้ง 2 ท่านมากครับ
  • กำลังใจเกิดจากทั้งพี่และน้องช่วยกันเชียร์
  • จะทำหน้าที่บร็อกเกอร์ให้สมำเสมอและดียิ่งๆขึ้นไป

สวัสดีค่ะ

 ดีใจที่พี่เรา ติดอันดับนักเขียนสุดฮิดไปแล้ว เรามาวางแผนฉลองกันก่อนดีกว่า จะกินเลี้ยงที่ไหนดี เรื่องยางเอาไว้ทีหลัง ชลบุรีมียางเป็นหลายพันไร่ วิ่งรถผ่านเป็นสิบๆกิโลยังไม่พ้นเลย ตกลงฉลองที่ไหนดีพี่

  •  สวัสดีครับ  น้องหมอ
  • ไม่กล้าเข้าระบบ เดี๋ยวรูปขึ้นอายคน
  • ฉลองที่ไหนดี นัดมาก็แล้วกัน
  • ถ้าไปได้จะไป กินเท่าไหร่จ่ายเอง
  • ขอบคุณมาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท