บทคัดย่องานวิจัย


เกศนี บุณยวัฒนางกุล และคณะ, 2549

บทคัดย่อชื่อเรื่องวิจัย                           :               ผลการใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจต่อความปวดจากการเจาะเลือดหรือแทงน้ำเกลือในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งชื่อคณะผู้วิจัย   : เกศนี      บุณยวัฒนางกุล, วัฒนา   พุทธิสวัสดิ์, คำหยาด  ไพรี, สุชีลา     เกษตรเวทิน, ธนิดา แปลกลำยอง,ชาญยุทธ  ศุภคุณภิญโญหน่วยงานที่รับผิดชอบ : แผนกการพยาบาลกุมารเวชกรรม งานบริการพยาบาล     

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นผู้ป่วยเด็กโรค

มะเร็งต้องเผชิญกับความปวดเฉียบพลันโดยมีสาเหตุจากการทำหัตถการทางการ

แพทย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การเจาะเลือด การแทงน้ำเกลือ การเจาะหลัง การ

เจาะไขกระดูก เป็นต้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental

study : pre-post test score one group design) วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา

ผลการใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจต่อความปวดจากการเจาะเลือดหรือแทงน้ำ

เกลือในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็ง

อายุ 6-13 ปี คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 34 ราย ระหว่างเข้ารับการรักษาที่หอผู้

ป่วยเด็ก 3 ง แผนกการพยาบาลกุมารเวชกรรม งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรี

นครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนทดลองกลุ่มตัวอย่างได้รับ

การเจาะเลือดหรือแทงน้ำเกลือซึ่งเป็นการดูแลตามปกติ หลังทดลองกลุ่มตัวอย่าง

ได้รับการเจาะเลือดหรือแทงน้ำเกลือร่วมกับการใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ

ด้วยการฟังเพลงร่วมสมัยหรือฟังนิทานประกอบเสียงเพลงจากเครื่องเล่นซี ดี แบบ

มีหูฟัง โดยให้เด็กเลือกตามความชอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น

แบบบันทึกรายงานความปวดและแบบบันทึกพฤติกรรมความปวดของผู้ป่วยเด็ก

ผ่านการพิจารณาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน ประเมิน

ระดับความปวดด้วยมาตรวัดสีหน้าการ์ตูนโดยการสอบถามเด็ก และประเมิน

พฤติกรรมความปวดตามแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่าง

ระดับความปวดด้วย  pair t-test. และเปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมขณะทำ

หัตถการด้วย McNemar Chi-sqare                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างหลัง

ทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนระดับความปวดต่ำกว่าก่อนทดลองแตกต่างอย่างมีนัย

สำคัญ (p <.00

1) และเปรียบเทียบการแสดงพฤติกรรมต่อความปวดพบว่าแตกต่าง

 

กันอย่างไม่มีนัยสำคัญ  (p >.05) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง

ในการสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรทีมสุขภาพให้เห็นความสำคัญในการนำวิธี

การเบี่ยงเบนความสนใจไปใช้กับผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเพื่อบรรเทาความ

ปวดเฉียบพลันจากการเจาะเลือดหรือแทงน้ำเกลือ        

Abstract  

Research Title  :   Effects of distraction techniques on pain from venipuncture or intravenous  cannulation in school-age children with cancerResearchers     :   Boonyawatanangkool, K., Bhudhisawasdi,W., Pairee, K., Kasetwatin, S.,Plaglamyong,T., Supakunpinyo, C.Years    :   October 2004- September 20006The office         :   Pediatric Nursing Department, Srinagarind Hospital, Faculty of      Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand

Background:  Children with cancer frequently experience acute

pain caused by medical procedures (i.e., venipuncture,

intravenous cannulation, lumbar puncture and bone marrow

aspiration).  These are distressing events and difficult for

children to cope with.  The purpose of this study was to examine

 the effectiveness of distraction techniques‑‑like listening to pop

 songs or musical story telling from a CD player with head

phones‑‑on the reduction in pain among school-age children

with cancer undergoing treatments or testing. Method:  A quasi-

experimental study using a pre-/post-test score, with a single

group design, was performed at the Pediatric Unit at

Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen

University, Thailand.  Purposive sampling among patients (both

sexes) between 6 and 13 years of age was used to recruit 34

participants.  All of the patients were admitted for periodic

chemotherapy which required blood testing and intravenous

cannulation. Two time periods (e.g., T1 and T2) were assessed. 

 In T1, subjects received only routine care whereas in T2

subjects were encouraged to use distraction techniques.  The

Face Affective Pain Scale and the Behavioral Pain Scale were

 used to evaluate pain.  The differences in pain intensity and

behavioral pain scores between T1 and T2 were analyzed using

 the pair t and the McNemar χ2 tests, respectively.Results: 

Subjects perceived significantly less pain in the second time

period (with distractions) than the first (without distractions)

(p<0.001).  However, the differences in the behavioral

responses between the two periods did not reach statistical

significance (p>0.05).  Nevertheless, the results of this study

support the use of distraction techniques to relieve acute pain

among school-aged children with cancer undergoing

venipuncture or intravenous cannulation.  

นำเสนอผลงาน  oral presentation วันที่ 8 ธันวาคม 2549 จัดโดยสภาการพยาบาลแห่งประเทศไท กทม. และ poster presentation, ICN conference Yokohama, Japan, May 27-June1, 2007

ภาพเก็บตกจาก Yokohama, Japan

หมายเหตุ  ญี่ปุ่นน่าเที่ยว สะอาด high technology น่าจะติดอันดับโลก คนมีนำใจและมีวินัย บ้านเมืองสะอาด สวยงาม แต่ค่าใช้จ่ายสูงมากมาก

ย้ายบล็อก 2 ตค. 50  มีคนอ่าน = 270

 

หมายเลขบันทึก: 133832เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีคะ่น้องเกศ แวะมีเยี่ยม Blog

ทำให้ระลึกถึงความประทับใจที่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีดีหลายอย่าง พี่ชอบที่ คนขยัน รับผิดชอบดี ชาตินิยม

วันนี้ทราบข้อมูลว่าเด็กญี่ปุ่นทำค่าเฉลี่ยการสอบวิชาวิทย์ในอับดับสุงกว่าค่าเฉลี่ยแต่ยังแพ้จีนอ่องกง จีนไต้หวัน

ทำให้ได้ข้อคิดเสมอว่าถ้าเราพัฒนาไม่หยุด "ไทย"ก็อาจมีโอกาส แต่วันที่ค่าเฉลี่ยของเด็กไืทยมีค่าเฉลี่ยของการสอบวิชาวิทย์ตำ่่กว่าค่าเฉลี่ยของเด็กทั่วโลก อยู่ในอันดับที่ตำ่ที่21ใน57ประเทศ ..โชคดีที่ไม่ใช่อับดับสุดท้าย

นี้เ็ป็้นงานวิจัย ของPIZA เก็บตกจากการปฐมนิเทศของลูกๆ

Hello พี่แขก

ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยม และนำเกร็ดความรู้มาฝากค่ะ เกศไม่ค่อยได้เขียน blog เลยตอนนี้ กำลังปรับกิจกรรมให้สมดุลอยู่ค่ะ

น่าสนุกนะคะ  เขาบอกว่าเข้าประเทศเขายากจริงเปล่าคะ

P
นานา Trip Yokohama คราวที่แล้วประทับใจไม่ลืม สนุกมากค่ะ งาน conference ก็เยี่ยม ญี่ปุ่นพร้อมทุกอย่าง บ้านเมืองสะอาด คนมีวินัย
พอดีพี่ไปราชการไม่เกิน 90 วันเลยไม่ต้องขอวีซ่าค่ะ แต่ไปเที่ยวล่วงหน้าก่อนวัน ประชุมค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท