ตุงชัยผ้าลายไทย


ตุงชัย

ภูมิปัญญาในชุมชนท้องถิ่นเรื่อง  "ตุงชัยผ้าลายไทย"      ลักษณะของตุงชัย                   

ตุงชัย มีลักษณะ  ตุงหรือตุงชัยคือ ธงของไทยภาคกลางนั่นเอง  มีลักษณะเป็นแผ่นผ้ากว้าง  50 ซม. ยาว 2.50 ซม. ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นผืนยาวลงมา  วัสดุที่ใช้ทำตุงนั้นมีอยู่หลายแบบ  เช่น  เป็นไม้  สังกะสี  กระดาษ  ใบลาน  และผ้าสีต่างๆ  เป็นตุงที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  โดยมีขนาดรูปร่างและลายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งที่แตกต่างไปตามความเชื่อและพิธีกรรม  ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น ส่วนตุงชัยผ้าลายไทยของแม่บัวแก้ว  เป็นHand made ซึ่งมีลวดลายแบบลายไทยล้านนา 

 สถานที่ทำตุงชัย            ณ.บ้าน  คุณแม่บัวแก้ว สูนพรหม ที่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 11     (บ้านยางพระธาตุ)     ตำบล สันปูเลย อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220  

ประวัติความเป็นมา               ตุงชัย นิยมใช้กันในงานปอยหลวงของทางล้านนาเท่านั้น จากที่สอบถามผู้สูงอายุ หลายๆคนจะตอบคล้ายกันคือ คนในสมัยล้านนาจะทำตุงชัยเพื่อการฉลองความสำเร็จในการที่ได้ก่อสร้างสถานวัตถุของวัดที่เราเป็นคณะศรัทธาอยู่ เช่น การก่อสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ พระธาตุ กำแพงวัด หอระฆังฯลฯ จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ ในหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนการที่จะทำการก่อสร้างสถานวัตถุของวัด แต่ละอย่างต้องมีการประชุมกับคณะกรรมการ ของวัดก่อนแล้วจึงประกาศให้กับคณะศรัทธาทั้งหมด ให้มาประชุมร่วมกันอีกครั้งว่าจะมีความคิดเห็น ว่าควรที่จะก่อสร้างสถานวัตถุสิ่งนั้นหรือไม่ ถ้ามีความคิดที่ตรงกันแล้วก็ดำเนินการด้วยไปขออนุญาตกับ  ทางเจ้าคณะอำเภอก่อนว่าทางการจะให้สร้างหรือไม่ถ้าได้ก็ลงมือกระทำการก่อสร้างสถานวัตถุได้ พอสร้างเสร็จแล้วพวกเราคณะศรัทธา ก็ทำการเฉลิมฉลองชัยชนะความสำเร็จในการก่อสร้างสถานวัตถุ สิ่งนั้นแล้วด้วยการ ปักตุงชัย(ธงชัย)ให้กับคณะศรัทธาของวัด อื่นให้รับรู้ว่าตอนนี้เราทำการก่อสร้างเสร็จแล้วเราพร้อมที่จะเฉลิมฉลองชัย ในความสำเร็จและคนสมัยก่อนยังมีความเชื่อที่ว่า ถ้าเราถวายทานตุงชัยไปหาผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเมื่อเราเสียชีวิตไปจะทำให้เราเกาะชายตุงขึ้นสู่สวรรค์  แล้วจึงนิมนต์พระสงฆ์และ คณะศรัทธาจากต่างวัด มาร่วมแสดงความยินดีกับคณะศรัทธาของวัดนี้ ก่อนที่จะทำบุญถวายทานสถานวัตถุนั้น ไว้ให้เป็นสมบัติของวัดต่อไปและพร้อมที่จะเฉลิมฉลองโดยมีการละเล่นต่างๆ เช่น มีลิเก  มีประกวดร้องเพลง  มีหนังกลางแปลงให้ดู  มีดนตรี  มีสาวน้อยตกน้ำ มีการสอยดาว มีเมียงู มียิงปืน มีสินค้าต่างๆมากมาย  

 องค์ความรู้ของเรื่องที่ศึกษา รวบรวม                   เรื่องที่ทำการศึกษา รวบรวม คือ การทำตุงผ้าลายไทย  ในด้านศิลปหัตถกรรม  วัฒนธรรมทางศาสนา และประเพณี    

ทางด้านสาระ คุณค่าทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี  คือ  การมีความสามัคคีร่วมกันของคนในชุมชน  และมีคุณค่าของความมีน้ำใจในการกระทำความสำเร็จของคนอีกชุมชน และยินดีที่จะไปร่วมเฉลิมฉลองชัยในการทำบุญ  โดยมีขบวนยกครัวทานมาร่วมทำบุญและได้ความสุขสนุกสนานกลับบ้าน 

ทางด้านการผลิต                    

 อุปกรณ์ในการจัดทำตุงชัย   1. ผ้าใยสีต่างๆ ผ้าซับในสีต่างๆ

2. ดาษเงิน-ทอง และสีต่างๆ

3. กระดาษห่อของขวัญลวดลายสีต่างๆ

4. ไม้สัก และไม้ไผ่

5.  ด้าย

6.  กรรไกร

 7.  เข็ม 

8.  หลอดกาแฟใหญ่ และเล็ก 

9.  เชือกฟาง10. กาวลาเท็กซ์

11.  เม็ดโฟม

12.  ดอกมะลิแบบพลาสติก

 การเตรียมอุปกรณ์การทำตุงชัย                  ไปหาซื้อผ้าที่ ตลาดวโรรสและซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เลือกไม้ไผ่มาทำส่วนหัวติดกับตัวตุงนำมาเหลาให้เป็นอันเล็กแบนๆยาว ประมาณ 12นิ้ว นำมาทำเป็นวงกลมและห่อหุ้มด้วยกระดาษเงิน-ทองที่ตัดเป็นเส้นเล็กๆ และตัดกระดาษห่อของขวัญ ตัดหลอดกาแฟ ยาวประมาณ 1 นิ้ว ประกอบดอกไม้ที่เป็นส่วนที่ตกแต่งด้วยเม็ดโฟมกระดาษสีต่างๆและหลอดกาแฟ ดอกมะลิพลาสติกด้วย ตัดกระดาษเงิน-ทองและสีต่างๆด้วยลายไทยรูปสี่เหลี่ยม และรูปสามเหลี่ยม ให้เป็นลวดลายไทยหลายรูปแบบ

วิธีการผลิตตุงผ้าลายไทย        1.  นำผ้ามาตัด กว้าง 50 ซม. ยาว 2.50 ซม.ให้เป็นชิ้นๆ    2. นำผ้ามาเย็บริมผ้าด้วยกระดาษห่อของขวัญ     3. เย็บคั้นกลางผ้าด้วยไม้ไผ่เป็นช่องๆละประมาณ 12 นิ้ว นี่คือตัวตุงชัย     4. นำตัวตุงมาตกแต่งด้วยกระดาษเงิน-ทอง และสีต่างๆที่ตัดรูปสี่เหลี่ยมและรูปสามเหลี่ยมที่เป็นลวดลายไทยมาทา  กาวแล้วนำมาติดที่ตัวตุงที่ตรงกลางและตรงมุมสามเหลี่ยมทั้งสี่มุม   5. นำดอกไม้ที่ทำเตรียมไว้แล้วมาตกแต่งด้านข้างตามช่องที่ไม้คั้นไว้โดยการนำมาเย็บติดให้ห้อยลงมา   6.นำเอาส่วนหัวที่ทำไว้แล้วมาเย็บติดกับตัวตุงและ   7. คั้นตอนสุดท้ายที่ส่วนหางนำเอาหลอดกาแฟที่ตัดไว้มาร้อยให้เป็นตาข่ายในรูปสามเหลี่ยมพร้อมกับแต่งดอกไม้ออกมาเป็นรูปแบบของตัวตุงชัยที่สวยด้วยน้ำมือของผู้สูงอายุคนหนึ่งที่ไม่ยอมแพ้ให้กับวัย 80 ปีของท่านเลย                  

ทางด้าน การถ่ายทอด สืบทอด                   ถ่ายทอดให้บุคคลภายนอกที่สนใจ  เช่น นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจในการเรียนรู้เรื่องของศิลปหัตถกรรมของพื้นบ้านล้านนา ในการทำตุงชัยผ้าลายไทยในแบบฉบับของแม่บัวแก้ว สูนพรหม 

ทางด้านการเผยแพร่

                   ด้วยการนำไปเสนอขายให้กับวัดต่างๆ ที่ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุเสร็จ พร้อมที่จะปักตุงเพื่อที่จะเฉลิมฉลองของแต่ละวัดต่อ ไปมีการนำไปโชว์ตามกลุ่มชมรมผู้สูงอายุที่มีการประชุมต่างๆ        

ลักษณะของความรู้               ความรู้ชัดแจ้ง คือ 'ตุง' สัญลักษณ์แห่งล้านนา  "ตุง" ของล้านนา ก็คือ "ธง" ของไทยภาคกลางนั่นเอง มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำ ตุงนั้นมีหลายอย่าง เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย
ส่วนจุดประสงค์ของการทำตุงล้านนาก็คือ ทำถวายเป็นพุทธบูชาโดยทั้งชาวไทยยวน ไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ จะถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์             ความรู้โดยนัย  คือ วิธีการใช้กรรไกรตัดกระดาษด้วยมือมีลวดลายไทยต่างๆ  และรูปแบบของตัวตุงชัยซึ่งตกแต่งได้สวยงามมาก ที่สำคัญคุณแม่บัวแก้วทำงานด้วยมือและด้วยใจรัก

การพัฒนา                   โดยการนำเอาผ้าใยหรือผ้าซับในสีต่างๆมาประยุกต์การตกแต่งด้วยการตัดกระดาษสีเงิน-ทองและสีต่างๆพร้อมกับตกแต่งดอกไม้ด้วยหลอดกาแฟและกระดาษสีต่างๆ

 ผลการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องนี้                  

 ผลการดำเนินงาน   การทำตุงชัยมีต้นทุนประมาณตัวละ 60 บาทส่งขายตัวละ  80 บาท ในปีหนึ่งผลิตได้ประมาณ    500 ตัวจะได้เงินจากการขายตุงต่อปีประมาณ   10,000 บาท การทำตุงชัยของแม่บัวแก้ว  สูนพรหมนั้นจะทำการผลิตไว้เป็นปีถึงจะจำหน่ายได้  ส่วนรายได้นั้นจะแบ่งไว้เพื่อการดำรงชีพส่วนหนึ่งและอีกส่วนก็กันไว้สำหรับการทำบุญอีกด้วย  รายได้ก็เข้าสู่ชุมชนได้ส่วนหนึ่งจากการทำงานของผู้สูงอายุ

หมายเลขบันทึก: 133826เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอชื่นชม และเชียร์ครับ  สำรับบล๊อกนี้

การถักทอ หรืออนุรักษ์ไว้ อยู่ที่การขับเคลื่อนของเจ้าของภูมิปัญญาอย่างเรา ..ลูกหลานชาวล้านนาไทย..

โอกาสหน้าหารูป ตุง มาโชว์ด้วยจะเป็นการดี ครับ

ภูมรินทร์ ณ วิเชียร

ขอความกรุณา ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทำตุงกระด้าง ด้วยค่ะ จะแนะนำหนังสือก็ได้ค่ะ ดิฉันกำลังทำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับเรื่องตุงล้านนาค่ะ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ภูมรินทร์ ณ วิเชียร

บ้านธนากร ขายตุงโคมไฟหลากหลายสีปลีกและส่งทัวไทยครับสนใจโทร087-1743530***053-344716มีหลากหลายให้เลือกครับ

ราคาเริ่มต้น30บาทขึ้นไป

ขายโคมลอย 3อัน100บาทพร้อมจัดสงถึงที่ครับ

0871743530 รถเช่าคุณติ๊ก www .tikker2008.blgspot.com

ติดต่อห้องพักสวยสอาด

รถคันก็ให้เช่าพร้อมพนักงานขับรถ

รถของคันนี้ให้บริการสําหรับคนชอบเที่ยวพร้อมพนักงานขับรถทีสุภาพครับโทรเลย08-71743530 คุณติ๊ก http://www.tikker2008.blogspot.com/ สำนักงานเจ.ซี การ์เด้นวิว 99 ม.12 ต.สันนาเม็ง อ.สันทรายจ.เชียงใหม่ 50210

ธนาคาร กรุงเทพ สาขา สันทราย ธนากร คุณาเมธาโชติ(คุณติ๊ก)บรรชีเลขที่

725 -0-04445-5

รถเช่าต้องเราสําหรับคนชอบเที่ยวโดยทีมงานคุณติ๊กเรามีให้คุณโทรเเลยครับ 087-1743530 *** 053-344716 **** tiktiger0072008.hotmail.com

081-9079893 คุณธันยนันท์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท