มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

พยาบาลข้างบ้าน "Nurse Next Door"


The company has grown more than 3400% in 6 years to become the largest senior care service provider in Western Canada

ผู้ก่อตั้งบริษัท "Nurse Next Door" ได้รับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจดีเด่นประจำปีคศ. 2006 จากงาน Entrepreneur Of The Year® (EOY) award ซึ่งจัดขึ้งเป็นประจำทุกปีโดยบ. Ernst & Young

 http://www.nursenextdoor.com/images/services.nndcar.jpg   http://www.nursenextdoor.com/images/image.values.jpg

[ภาพจาก http://www.nursenextdoor.com]

บริษัท Nurse Next Door นี้เริ่มทำการเมื่อ 6 ปีที่แล้ว มีพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลแค่ 6 คน ตอนนี้บ.ใหญ่พอที่จะดูแลผู้สูงอายุจำนวนกว่าพันคน แถมขยายบริการรับดูแลผู้ป่วยอัมพาตไม่จำกัดอายุ ร่วมทั้งรับเลี้ยงเด็กแล้วด้วย

บริการสำหรับผู้สูงอายุมีตั้งแต่ไปอยู่เป็นเพื่อน (companion) ชั่วโมงสองชั่วโมงแล้วกลับ ไปกระทั่งถึงการดูแล 24 ชม.ต่อวัน รวมทั้งจัดหาอาหารให้ด้วย อายุเฉลี่ยของลูกค้าเท่ากับ 84 ปี เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

จุดแข็งของบริษัทนี้คือ พนักงานได้รับการอบรมมาอย่างดีและผ่านการตรวจสอบประวัติมาแล้วว่าไว้ใจได้ (คือไม่มีคดีติดตัว) นอกจากนี้คือ เรียกเมื่อไหร่ได้เมื่อนั่น ทางบริษัทมีพนักงานทั้ง full-time, part-time, แล้วก็ casual คือพวกที่เรียกมาเวลาคนขาด เพราะลาป่วยลากิจใดๆก็ตาม เค้าสามารถบริหารงานให้มีคนพร้อมบริการเสมอ

คนดูแลได้ค่าจ้าง CAN$12-16 ต่อชม. (ส่วนมาก็เป็นคนฟิลิปปินส์นี่แหละค่ะ)

ส่วนพยาบาลที่นี่เป็นสหภาพแรงงาน (union) เค้ามีค่าแรงขั้นต่ำอยู่เป็นระดับขั้นบันได ว่างานกะกลาววัน หรือ กลางคืน เป็นพยาบาลจบใหม่ หรือมีประสบการณ์ ก็ประมาณ CAN$26-34 ต่อชม. ทางบริษัท Nurse Next Door นี่ดึงตัวจ้างพยาบาลให้มาทำด้วยด้วยอัตราสูงกว่าที่ทางสหภาพตั้งไว้ด้วย

ค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องเสียก็เฉลี่ยราวๆชม.ละ  CAN$19-21  (ประมาณ 600-700บาท) พวกค่ายาหรือเครื่องมือนี่จะ ่รวมในประกันสุขภาพที่รัฐบาลออกใหเป็นส่วนใหญ่่อยู่แล้ว

ราคาที่ลูกค้าต้องจ่ายนี้เป็นค่าจ้างที่เค้าให้บริษัท Nurse Next Door ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน ทางบริษัทก็ไปบริหารเองจนสามารถนำมาจ้างคนได้ครบ ผู้ก่อตั้งเป็นชายหนุ่ม 2 คน เค้าลงทุนไป CAN$400,000 อัตราแลกเปลี่ยนปีนั้นก็ตกราวๆ 12 ล้านบาท ซึ่งถ้าเทียบแล้วนี่ สี่แสนเหรียญนี่คือค่าคอนโด 2 ห้องนอนยูนิตเดียวเท่านั้นเอง

ถือเป็นการลงทุนที่ไม่ได้มากมายอะไรเลยเมื่อเทียบกับสถานะของบริษัทตอนนี้ 

ตอนนี้...รุ่งจนไม่รู้จะรุ่งยังไงแล้วค่ะ

----------------------------------------------------------- 

ผู้เขียนเห็นรถของ Nurse Next Door แถวๆบ้านบ่อยๆ เพราะเป็นเขตที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่มาก  แต่ยังไม่เคยได้คุยกับคนที่เป็นลูกค้าของบริษัทนี้ซักที

มาบันทึกไว้ว่ามันมีแบบนี้ แต่จะดีไม่ดี น่าสนับสนุนแค่ไหน จะมีผลต่อระบบสาธารณสุขของรัฐในทางบวกหรือทางลบ ขอเปิดให้เป็นเวทีของท่านผู้อ่านค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 133696เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นบริการที่หน้าสนใจนะคะ

สวัสดีครับ อ.มัทนา

          เมื่อวานได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุจะล้นประเทศจากคุณพี่ sasinanda แล้วยังแลกเปลี่ยนไปเรื่องธุรกิจการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

          วันนี้ได้ข้อมูลที่ก้าวหน้าไปอีกว่ามีสังคมผู้สูงอายุที่ใหญ่มาก ๆ อยู่ที่แคนาดา และก็มีธุรกิจแบบนี้แล้ว   ความจริงเคยเห็นในหนังฝรั่งบางเรื่องเหมือนกันที่เพื่อนบ้านต้องมาอยู่เป็นเพื่อนคนแก่  แล้วมีฉากให้ต้องมีปัญหากัน หรือมีความผูกพันกันบางอย่าง

           ถ้าหากเป็นที่เมืองไทยคงจะดูแปลก ๆ มากครับ  มีแต่เอาไปทิ้งที่บ้านพักคนชราเลย  ( แปลกเข้าไปใหญ่ )  แต่ว่าที่เมืองไทยคงมีรูปแบบที่ต่างไปบ้าง เช่น รัฐต้องเข้ามาช่วยในเรื่องพยาบาล ในระดับการดูแลสุขภาพท้องถิ่น ผู้ที่จัดก็อาจเป็นหน่วยงานสุขภาพของรัฐเช่นสถานีอนามัย  หรืออาจเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล

           แต่ในเมืองใหญ่ที่ผู้สูงอายุวัยเกษียณมีเงินเก็บมาก ๆ หรือมีระบบประกันสังคมที่ดีมากขึ้นก็คงต้องมีธุรกิจแบบนี้แน่นอน  ณ เวลานี้ก็อาจจะมีแล้วก็ไม่แน่ครับ

           อีกด้านนึงน่าเป็นห่วงว่าเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว  มันแสดงถึงว่าระบบครอบครัวกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปครั้งใหญ่   และคงต้องรอให้ผู้สูงอายุลอตหลังสงครามโลก ( baby boom ) สิ้นอายุขัยลงไป  โครงสร้างของประชากรโลกน่าจะสู่สมดุลอีกครั้ง หรือไม่ก็เราจะต้องเจอกับสังคมที่มีวัยพึ่งพิงสูงอีกทีก็ได้  นะครับ

เรื่องความผูกพันนี่ตีราคาไม่ไ แต่มีค่ามากพอที่ทำให้ ."คะแนนนิยม" ของ Nurse Next door พุ่งสูงเลยนะครับคุณหมอ

ผมได้ลองให้บริการ "Doctor Next Door" ที่อำเภอเรณูนคร จ.นครพนม ผมทำงานที่อำเภอเล็กๆ แสนอบอุ่นที่นั่น 16 ปีเต็ม เป็น"Doctor Next Door"  เพราะนอกเวลาราชการ และวันหยุด ญาติคนไข้มักมาตามถึงบ้านพัก ให้ผมไปช่วยดูและ "บุคคลสำคัญ" ของเขา ไหนๆ เขาคิดว่าญาติเขาสำคัญ ผมขึงคิดเช่นเดียวกัน ไม่เคยคิดว่าเป็นเพียงคนไข้รายหนึ่ง...แค่นั้น

กรกฎาคมปีนี้ ได้ไปเสนอผลงานในการประชุม IUHPE ที่ Vancouver อยู่ที่นั่นเกือบสัปดาห์ คน BCอัธยาศรัยดี แต่มีคนเมาข้างถนนบ้าง โดยเฉพาะใกล้ย่าน Gastowns

 หมอมัทนาครับ เรียนจบกลับมาเร็วๆ กลับมาช่วยบ้าน ช่วยเมืองด้วยอีกคน

ผมจะตามอ่านอีก ว่างๆ ลองเยี่ยมบล๊อกผมที่ http://gotoknow.org/c4hnews นะครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอชาตรี 

เสียดายที่ไม่ได้รู้จักกันก่อนงานประชุมนะคะ  ตอนนั้นมัทพบคนไทย 3 ท่านเองแต่ก็ทราบว่ามากันหลายคนมาก ส.ส.ส.มีbooth มีชื่อเป็นสปอนเซอร์ใหญ่โตมาก : )

มัทเคยบันทึกเรื่อง Vancouver Downtown Eastside ไว้ 4 บันทึกค่ะ (แถวๆ Gastown) ถ้าสนใจลองตามอ่านได้ที่นี่เลยค่ะ (คลิก) 

มัทขอนำ Blog ของคุณหมอเข้า Planet นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ แล้วคุยกันใหม่อีกบ่อยๆเลยนะคะ 

 

mr. สุมิตรชัย

ไม่เจอกันนาน : ) หวังว่าสบายดีนะคะ

ทางประเทศตะวันตกนี้เค้าก็ "เอาไปทิ้งที่บ้านพักคนชรา" กันมานานแล้วค่ะ

นานจนเค้าเห็นว่าไม่ดี จนเกิด trend ใหม่ที่เรียกว่า "deinstitutionalization" มาได้พักนึงแล้ว

แต่ว่าไม่ได้แปลว่าไม่มีสถานพยาบาลหรือบ้านพักคนชรานะคะ

เพียงแต่เค้าทำที่พักแบบที่เรียกว่า Assisted Living Residence มากขึ้น มันคล้ายๆคอนโดหรืออพาทเม้นท์หน่ะค่ะ แต่มีพยาบาลประจำ แล้วก็มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมยามว่าง (recreational staff) อีกทั้งผู้ช่วยพยาบาลคอยดูแลในกรณีที่ท่านช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันไม่ได้เช่น ต้องมีคนช่วยอาบน้ำเป็นต้น

ว่างๆมัทจะเขียนเรื่องนี้ดู เพราะไปดูงานมาหลายที่แล้ว

อีกเรื่องที่อยากเขียนคือ ลักษณะของบ้านพักคนชราของที่นี่กับที่เมืองไทยก็ไม่เหมือนกันค่ะ  ระดับความเจ็บป่วยต่างกันมาก ที่นี่ถ้าไม่ป่วยมาก เข้าไม่ได้ค่ะ 

ส่วนเรื่องพยาบาลเอกชนที่มาดูแลผู้สูงอายุนี่เมืองไทยก็ีมีแล้วค่ะ

แต่ไม่ได้ทำเป็นระบบใหญ่แบบ "Nurse Next Door" เท่านั่นเอง แบบที่อยากได้คนมาดูแลหรือมาอยู่เป็นเพื่อนวันนี้พรุ่งนี้แล้วหาให้ได้เลย มาไม่ดี่ชั่วโมงก็ได้ แบบนี้คงยังไม่มี แล้วก็ไม่มี "meals on wheel" service บริการส่งอาหาร เพราะบ้านเราหาทานง่ายมั๊งค่ะมัทว่า

ส่วนมากเป็น RN หรือ Care-aide ที่จ้างไปที่บ้าน อาจผ่านหรือไม่ผ่าน agency คล้ายๆกับ agency รับหาพี่เลี้ยงเด็ก

คุณตากับคุณยายตอนก่อนเสียก็จ้างคนมาดูแลค่ะ เพราะต้องมีคนช่วยยกช่วยอุ้ม ดูกันเองไม่ไหว (แต่คุณตาคุณยายมีบุญมากเพราะลูกๆเป็นหมอ พยายาล แล้วก็หมอฟัน แถวน้าคนที่เป็นหมอฟันกับพยาบาลก็อยู่บ้านเดียวกับท่าน คุณแม่มัทที่เป็นหมอก็กลับไประยองแทบจะทุกสุดสัปดาห์) 

มัทชอบที่ทางรพ. รัฐเรามีการเยี่ยมบ้่านมากค่ะ อยากให้ทำเป็นเรื่องเป็นราวแล้วก็อยากให้ทันตบุคลากรออกไปด้วยเป็นครั้งคราว

ผู้สูงอายุในอีก 10-20 ปีข้างหน้านี้ profile เปลี่ยนไป จะมีความต้องการ ความคาดหวังที่เปลี่ยนไป น่าสนใจมากค่ะ ต้องเตรียมรับให้ดีๆ : )

ขอบคุณที่แวะมาลงความเห็นนะคะ 

สวัสดีค่ะคุณ pa_daeng

ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

ที่หนองคายนี่ดังมากในหมู่ฝรั่งผู้สูงอายุนะคะ เคยติดอันดับที่ที่น่าไป retire มากที่สุดในโลกด้วย ถ้าจำไม่ผิดจะได้ที่ 7

ไม่ทราบว่าหลังจากที่ได้รางวัลนี้ไม่ ฝรั่งย้ายไปอยู่กันมากขึ้นจริงรึเปล่า เล่าให้ฟังบ้างนะคะ

รูปภาพที่เคยเห็นที่เค้าโฆษณานี่เป็นบ้านริมแม่น้ำน่าอยู่มากจริงๆค่ะ : ) 

 

กลับมาอีกครั้งครับ ขอบคุณที่นำบล๊อกเข้าแพลนเน็ท ดีใจที่ทุกครั้งได้อ่านเรื่องจากหมอมท เหมือนคุ้นเคยกันมานาน ผมมีประสบการณ์ตรงได้ดูแลพ่อ (ลาโลกเมื่อ 70 ปี) และแม่ (ลาโลกเมื่อ 78 ปี) ดูแลและท่านอยู่หลายปี ป้อนข้าว ป้อนน้ำท่าน จนท่านจากไปในอ้อมกอด...และอ้อมใจ (แหม เหมือน ไชยา มิตรชัย เล้ย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท