(12) ตลาดเก่าบ้านเก้าห้อง (ตอนที่ 1) ความเป็นมา


สร้างตลาดเพื่อทำการค้าขายบนบก ตั้งชื่อตลาดนี้ว่า ตลาดเก้าห้อง

 

ตลาดเก่าบ้านเก้าห้อง

ตอนที่ 1

ความเป็นมาของตลาดเก้าห้อง   

        

        คำว่า เก้าห้อง มาจากชื่อบ้านเก้าห้องซึ่งสร้างขึ้นภายหลังจากที่มีชุมชนหนาแน่นแล้ว ก่อสร้างโดยคหบดีเชื้อสายจีน คือ นายบุญรอด  เหลียงพานิช ซึ่งเดิมชื่อ ฮง บิดาเป็นคนจีนอพยพ  ได้มาทำการค้าขายที่ริมแม่น้ำสุพรรณฯ และได้แต่งงานกับนางแพ หลานสาวขุนกำแหงฤทธิ์ เจ้าของบ้านเก้าห้อง 

             

       บ้านเก้าห้องเป็นบ้านของขุนกำแหงฤทธิ์  ต้นตระกูลของคุณวิบูลย์  คุณเสมอใจ  ประทีปทอง  ตั้งอยู่ข้างวัดลานคา  อำเภอบางปลาม้า  จังหวัดสุพรรณบุรี  ตรงข้ามตลาดเก้าห้องเป็นบ้านเรือนไทย  ฝาปะกัน  ใต้ถุนสูง  ปลูกอยู่ริมน้ำ  ภายในบ้านแบ่งออกเป็นเก้าห้อง  ภายในบริเวณบ้านจะมีศาลปู่ย่าตายาย เป็นที่เคารพบูชาด้วย

                                       

        เมื่อนายบุญรอด (ฮง) ได้แต่งงานอยู่กินกับนางแพหลานสาวของขุนกำแหงฤทธิ์แล้ว  จึงปลูกแพค้าขายที่หน้าบ้านของขุนกำแหงฤทธิ์  ต่อมาโจรได้มาปล้นแพของนายบุญรอด และได้ประทุษร้ายนางแพจนตายและได้เก็บทรัพย์สินไปจำนวนหนึ่ง  ทางอำเภอจับโจรได้ จึงได้เงินคืน  ต่อมานายบุญรอดจึงได้คิดสร้างตลาดเพื่อทำการค้าขายบนบก  ตรงข้ามกับฝั่งแม่น้ำของบ้านเก้าห้อง  และตั้งชื่อตลาดนี้ว่า ตลาดเก้าห้อง 

หอดูโจร (สถาปัตยกรรมจีน พ.ศ. 2477)  

        หอดูโจรหรือหอส่องโจร  สร้างด้วยวัสดุก่ออิฐถือปูนขนาดความกว้าง 3 X 3 เมตร ความสูงประมาณตึก 4 ชั้น (15-20 เมตร) มีบันไดเหล็กขึ้น-ลงได้ ที่ชั้นบนมีดาดฟ้า  แต่ละชั้นที่ฝาผนังจะเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว เอาไว้ส่องโจร และมองดูด้านล่างได้ เมื่อเราขึ้นไปจนถึงชั้นบน (ยอดสุด) จะมองเห็นทัศนียภาพทั้งทางบก และทางน้ำมองได้ทั่วทั้งตลาดเก้าห้อง 

          

        หอดูโจรสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477  (ประมาณ 70 ปีมาแล้ว)  โดยเถ้าแก่บุญรอด  เหลียงพานิช  เพื่อเอาไว้ให้เวรยามเฝ้าคอยระวังโจร  ถ้ามีโจรมา คนจะขึ้นไปตามป้อมต่างๆ เอาปืนส่องตามรู้ทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู้กับโจร  (ข้อมูลจาก วาริน,ปุ๊ก. แผ่นพับชุมชนคนตลาดเก้าห้อง โทร. 035-587044) 

การเดินทางไปตลาดเก้าห้อง    

        ออกจากตัวเมืองสุพรรณบุรี (ตัวตลาดในเมืองเดิม) ตั้งต้นที่สะพานอาชาสีหมอกด้านฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ไปทางทิศตะวันออก เส้นทางเลียบลำน้ำเล็ก ๆ ผ่านวัดสำคัญ คือวัดมะนาวที่มีพระเครื่องชื่อดัง สังเกตจะมีป้ายบอกเส้นทาง เมื่อไปถึงทางแยกเข้าศูนย์ราชการที่ 2 ให้เลี้ยวซ้ายไปตลาดเก้าห้องซึ่งจะอยู่ห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรี ไปประมาณ 9-10 กิโลเมตร

       สถานที่จอดรถจะอยู่บริเวณลานจอดด้านซ้ายของถนนทางเข้าตลาดเก้าห้อง จุดสังเกต มีสนามเด็กเล่น (เครื่องเล่นเด็ก ๆ หลายชนิด) ส่วนในตัวตลาดไม่มีที่กลับรถเข้าไปแล้วต้องถอยออก ดังนั้นควรจอดรถเอาไว้ด้านนอก บริเวณตรงกันข้ามกับที่ทำการเทศบาลตำบลบางปลาม้า และสถานีอนามัยตำบลบางปลาม้า เมื่อขับรถผ่านสถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้ให้มองไปทางด้านขวา จะเป็นสถานที่จอดรถ ครับ และใกล้ ๆกับที่จอดรถมีร้านกาแฟโบราณและร้านก๋วยเตี๋ยวรสเด็ดอยู่ด้วย 

(ชำเลือง  มณีวงษ์. พาเที่ยวตลาดเก่าบ้านเก้าห้อง 30 กันยายน 2550. พบกันตอนที่ 2)

 

หมายเลขบันทึก: 133307เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • ลำดวนเคยได้ขึ้นไปเที่ยวบนบ้านเรือนไทยที่มีเก้าห้องนี้ด้วยค่ะ
  • เป็นสถานที่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง

สวัสดีครับ ศน.ลำดวน

ขอบคุณอีกหลาย ๆ ครั้งที่ยังคงติดตามเรื่องเล่าของผม

  • ดีใจจังเลยที่ท่านหัวหน้าลำดวนได้ขึ้นไปบนเรือนไทยมาแล้ว
  • แล้วลองขึ้นไปบนหอดูโจรหรือยัง งวดหน้าอย่าพลาดนะ
  • บอกได้คำเดียว 2 คำ 3 คำว่า ตลาดเก้าห้องยังมีชีวิตและน่าที่จะกลับไปอีกหลาย ๆ ครั้งครับ ได้เห็นแล้วสุขใจ
  • เจ้าของถิ่นดีมาก ๆ และสินค้าราคาถูกจริง ๆ

ผมเป็นคนหนึ่งที่ อาศัยอยู่ที่บ้าน เก้าห้องตั้งแต่เด็กครับ

แต่ตอนนี้มาทำงานที่ กรุงเทพ เมื่อผมกลับบ้านทีไรผมจะมีความรู้สึกว่า บ้านของผมกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง แม่ผมขายราดหน้าครับ เมื่อก่อนแม่จะนอนขายราดหน้า คือตั้งร้าน 9 โมงเช้า บ่ายโมงก็นอนแล้ว นอนรอคนมาซื้อน่ะครับ แต่เดี๋ยวนี้ยืนขายทั้งวันเลยครับ ตั้งแต่มีนักท่องเที่ยว ชาวบ้าน รู้สึกคึกคัก มันเหมือนกับบ้านของผมมีสีสันขึ้นมาเยอาะมาก เลยคับ

ขอบคุณนักท่องเที่ยว ขอบคุณทุกๆคนที่ มาทำให้ชุมชนของผมมีชีวิตมากขึ้น

คุณนิรุตต์

  • ผมเป็นคนหนึ่งที่มีใจรักสุพรรณบ้านเกิด
  • มาช่วยกันส่งเสริมบ้านเราให้เป็นที่รู้จักของคนไทยให้มากยิ่งขึ้น ครับ
ภูดิท สุรัติรางคกุล

ขออนุญาตเรียนทำความเข้าใจเกี่ยวกับชื่อ "ขุนกำแหงฤทธิ์" เนื่องจากคณะผู้จัดทำหนังสือ "ฅนพวน บ้านเก้าห้อง" ได้เรียนสอบถามจาก คุณชูเกียรติ ประทีปทอง (ทายาทขุนกำแหง รุ่นที่ ๔) ซึ่งมีศักดิ์เป็นคุณน้าของผู้ประสานงาน ได้ความว่าชื่อที่ถูกต้องคือ "ขุนกำแหง" (วันดี) ไม่มีคำว่า "ฤทธิ์" ต่อท้ายแต่ประการใด .

                                         ภูดิท  สุรัติรางคกุล

                      ผู้ประสานงานคณะผู้จัดทำหนังสือ "ฅนพวน"

                                          08-1939-8058

                           E-mail: [email protected]

                            or      : [email protected]

ตอบความเห็นที่ 6 คุณภูดิท

  • เป็นข้อมูลที่ผมได้รับจาก ตลาดเก้าห้อง ครับ
  • ข้อมูลจาก วาริน,ปุ๊ก. แผ่นพับชุมชนคนตลาดเก้าห้อง โทร. 035-587044 
  • ขอขอบคุณที่เสนอข้อมูลที่ท่านทราบมาให้ผมได้รับรู้ ซึ่งข้อมูลที่ผมได้รับมาจากสถานที่จริง อาจไม่ตรงกับข้อมูลเดิมก็เป็นได้
  • หากมีโอกาสได้ไปตลาดเก้าห้องอีกครั้งจะได้นำข้อความเห็นของท่านไปพูดคุยกับแหล่งที่มาอีกครั้ง
  • อีกทางหนึ่งหากจะเป็นความช่วยเหลือ ก็นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมไปที่ตลาดเก้าห้องจะเป็นประโยชน์มาก ครับ

ขอขอบพระคุณคุณชำเลือง เป็นอย่างมากที่กรุณาจัดทำพื้นที่เว็บบอร์ดนี้เพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสารแนะนำการท่องเที่ยวบ้านเกิดของเรา "สุพรรณภูมิ" ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ มีข้อมูลอะไรดีๆก็นำมาเผยแพร่กัน มีข้อมูลอะไรที่ขาดตกบกพร่องไปเราก็ช่วยกันดูช่วยกันเสริมแก้ไขกันต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ผมอาจจะมีข้อมูลการสืบค้นทางอนุรักษ์ประวัติศาสตร์หลายอย่างที่อาจจะต้องเรียนปรึกษาขอคำแนะนำแลกเปลี่ยนคุณชำเลืองบ้างไม่มากก็น้อย เนื่องจากขณะนี้ทางคณะผู้จัดทำหนังสือ "ฅนพวน" เล่มต่อๆไปกำลังรวบรวมข้อมูลในการเป็นสื่อกลางสืบทอด ๓ วัฒนธรรม (ไทย-ไทพวน-จีน)บ้านเก้าห้องและตลาดเก้าห้อง ตลอดจนการพัฒนาแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์สุพรรณภูมิ ในโอกาสต่อไป.

                                     ขอบคุณครับ

                                 ภูดิท สุรัติรางคกุล

           ทายาทตระกูลตั้งตลาดเก้าหองและไทพวนบ้านเก้าห้อง

ตอบความเห็นที่ 8 คุณภูดิท

    นับว่าเป็นเกียรติอย่างมากที่เจ้าของข้อมูลแวะเข้ามาเยี่ยมและให้ข้อเสนอแนะที่ถูกต้อง เพราะท่านเป็นทายาทตัวจริง  ขอขอบคุณอีกครั้ง ครับ

เป็นก็เป็นทายาท อีกคนครับ(ลูกคนเล็ก)

นับว่าสมัยนี้ ตลาดเก้าห้องกลับมาคึกคักอีกอีกครั้ง มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะมาก

กลับบ้านไปมันแปลกหูแปลกตาแม่ดูมีความสุขมาก ถึงแม้จะขายไม่ดีเท่า สมัยแม่เป็นสาว

แต่แม่ก็ดีใจที่มีคนแวะไปชิมอาหารฝีมือแม่ ตอนนี้ตลาดคึกคัก มีของขายมาย แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับคนในเก้าห้องวันนี้

คือ พวกเขากลับได้มีชีวิตชีวา เหมือนกับสมัยก่อนอีกครั้ง

ตอบความเห็นที่ 10

  • ยินดีมากครับ ที่ได้พบกับทายาทตัวจริงของตลาดเก้าห้องที่สวยงาม
  • ครับ ผมก็อยากที่จะเห็นตลาดเก่าเก้าห้องมีชีวิตชีวาไปนาน ๆ หรือตลอดไป
  • ผมหาโอกาสไปเที่ยวตลาดเก้าห้องหลายครั้ง แต่ก็ต้องแบ่งใจไปยังสถานที่อื่น ๆ ในสุพรรรณฯด้วย
  • ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเข้ามา

ผมเคยอ่านจุลสารรายสัปดาห์ของสยามรัฐหรือมติชนก็จำไม่ได้แล้ว ประมาณปีพ.ศ.2532 เกี่ยวกับบ้านเก้าห้อง โดยสัมภาษณ์

คุณตาวิบูลย์ ประทีปทอง เจ้าของบ้านเก้าห้องปัจจุบัน ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของผม ท่านให้สัมภาษณ์ว่าผู้นำชุมชนที่มาตั้งรกรากที่บ้านเก้าห้องชื่อขุนกำแหง นามสกุล"วงษ์ทองดี" ผมถ่ายเอกสารเก็บไว้แต่หาไม่เจอ เลยไม่มีอะไรมายืนยัน รบกวนอาจารย์หาให้หน่อย

ได้ไหมครับ เพราะผมสับสนมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท