วิถี KM ไท


เรียนรู้ KM จากเรื่องเล่าชาว ม.น

QA_KM_NU กู่สร้างสรรค์ มุมมองจาก JJ        

  AAR and ALR by JJ จากหนังสือ วิถีไท เรียนรู้ Km จากเรื่องเล่าชาว มน. นับเป็นโชคและวาสนา ที่ได้มีโอกาสเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของ การนำกระบวนการจัดการความรู้ มากู่สร้างสรรค์กับชาวมหาวิทยาลัยนเรศวร ข้างล่างเป็นการสะท้อนที่ JJ มอบให้ครับใน งานมหกรรม KM ภูมิภาค ครั้งที่ ๑ ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครับ

มหกรรม KM ภูมิภาค

 JJ ได้รับมอบหมายจากทีมงานต้องเรียกว่าสหายร่วมพัฒนาชาว ม.น ที่เข้าสัมมนา การจัดการความรู้ที่บ้านผู้หว่าน ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๔๗ ประเด็นที่ให้ลิขิตเป็นเรื่อง มุมมองจากกัลยาณมิตรถ้าจะให้สะท้อนฐานะเพื่อนที่ได้เข้ามาเรียนรู้กับทีมงานชาวมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่รู้จักกันตั้งแต่คราวเข้ามารับการสัมมนาด้านประกันคุณภาพการศึกษาสมัย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองจันทร์ หงส์ลดารมณ์ จัดและ จากการที่ได้เข้ามาเป็นผู้ประเมินในหลายโอกาสและหลายวาระ

 ประเด็นที่อยากจะสะท้อนให้เห็น Good Practice หรือ Best Practice และ เห็นพัฒนาการที่ทางทีมงาน ผู้นำตั้งแต่ระดับสภามหาวิทยาลัยที่สนใจ เข้าใจ ให้กำลังใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งอธิการบดี รศ.ดร.มณฑล สงวนเสริมศรี ที่ให้โอกาสบุคคลกรภายนอกเข้าไปเรียนรู้ โดยใช้การประเมิน เป็นตัว สะท้อน กระตุ้นการพัฒนา

  เล่าต่ออีกว่าตั้งแต่รู้รักกับท่านผู้ช่วยอธิการบดี (ตำแหน่งขณะนั้น) จนกระทั่งท่านได้รับความไว้วางใจให้เป็นรองอธิการฝ่ายประกันคุณภาพ และ วิจัย ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร ในฐานะผู้นำท่านเป็น ผู้กระตุ้น ให้โอกาส สร้างเวที ตั้งแต่ก่อนที่ Km จะเข้ามาเต็มรูปแบบ ถ้าพูดกันจริงๆแล้ว การจัดการความรู้ ในมหาวิทยาลัยนเรศวรมีอยู่ในเนื้องานและเป็นเนื้องานประจำจริงๆ คือ เรื่องการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษามาอย่างตลอด ถ้าจะให้เห็นเป็นรูปธรรมก็จะยกตัวอย่างว่า ทุกครั้งที่การประเมินของการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะวิชาต่าง ท่านอธิการบดี รองอธิการบดี รวมทั้งผู้สนใจต่างคณะจะเข้ามาร่วมเรียนรู้ รับฟังการสะท้อน หรือ การให้ข้อคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง และ ทุกๆรอบของการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา ทีมงานผู้บริหารระดับสูงก็จะมา แลก เปลี่ยน ปรับปรุง เพื่อพัฒนา ที่ทรัพย์ไพรวัลย์ แล้วนำมาสร้างแผน เพื่อพัฒนาในปีการศึกษาต่อไป ดังนั้นจะสะท้อนว่าการนำการจัดการความรู้ เข้ามาที่มหาวิทยาลัยนเรศวรไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ต้องสะท้อนว่า ความเป็นผู้นำตั้งแต่ระดับนายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และ ฝ่ายสนับสนุนทำงานเข้ากัน สอดประสาน แถมนำเครื่องมือ อย่างKm หรือการจัดการความรู้มาเป็นตัวเสริม มีเครื่องมือ Blog เข้ามาเป็นตัวเชื่อมเครือข่ายที่กระจายและลิขิตกันอย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย               

  โดยสรุปจากการที่ได้สัมผัสกับชาวมหาวิทยาลัยนเรศวร ต้องบอกว่า จริงๆแล้ว การจัดการความรู้ เป็นเพียงเครื่องมือที่เข้าเสริมทำให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ น่าเข้าไปเรียนรู้ ภาวะผู้นำ และ การบูรณาการนำเครื่องมือ การจัดการความรู้เข้ามาเนียนสนิทกับเนื้องาน แถมมีตัวช่วย คือ การสร้างเครือข่าย โดยใช้ www.gotoknow.org เข้ามาเสริมทำให้เกิดการ "สร้างองค์การเรียนรู้ (Learning Organization) อย่างเป็นรูปธรรม "

JJ2007

หมายเลขบันทึก: 133155เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • ขอบคุณครับ สำหรับข้อเขียนที่ท่านอาจารย์ JJ กรุณาเขียนมอบให้ทาง มน.
  • ภาพประกอบถ่ายที่ไหนเอ่ย
  • มีท่านใดอยากจะตอบบ้างครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท