การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม ช่วยอะไรเราบ้าง?


ผ้าไหมอีสาน

เมื่อต้นสัปดาห์เพื่อนที่ทำงานที่กระทรวงวัฒนธรรมโทรมาสั่งผ้าไหมแบบโบราณอีสาน เพื่อเอาไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ โดยขอให้เป็นผ้าที่มีแบบและทอโดยคนอีสานจริง ๆ

ผมรีบเอาผ้าไหมที่ทอไว้เป็นหมี่ควบคั่นส่งให้เขาดูทันทีเพราะความจริงช่างทอผ้าของออตนั้นมีทั้งช่างทอผ้าลายโบราณและช่างทอผ้าสมัยใหม่ ดังนั้นจึงใช้เวลาไม่มากนัก

ผ้าเป็นช่างทอผ้าโบราณก็จะใช้เทคนิคและลวดลายแบบโบราณ ผ่านเทคโนโลยีแบบพื้นบ้าน ดังนั้นการทอผ้าแบบนี้อีกครั้งจึงเป็นการต่ออายุและลมหายใจของศิลปกรรมพื้นถิ่นประเภทผ้าทอได้

ไปชมกันครับว่าผ้าทอที่ผมส่งไปให้เพื่อนชมเป็นอย่างไร

(ส่วนหัวและตัวสิ่น ผ้าไหมควบคั่นแบบอีสานแท้ ๆ  ควบนี้ใช้เวลานานมากเพราะต้องใช้ไหมสองเส้นตีเกียวเข้าด้วยกัน)

(ส่วนตีนสิ่น ที่ไม่มีลวดลายเป็นตีนสิ่นแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาต่อเป็นผ้าสิ่นของคนอีสาน)

หมายเลขบันทึก: 132961เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2007 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวยมากค่ะ

ลายที่สองเคยซื้อมาตัดเสื้อ 1 ตัวค่ะ แต่ว่าคงเป็นแบบทอสมัยใหม่ค่ะ น้องที่ทำงานบอกว่าเป็นลายสำหรับผ้าถุงคนแก่แถวๆ กาฬสินธุ์.....จะใช่หรือเปล่าคะ

P
อาจารย์จันทรรัตน์
  • เป็นลายผ้าถุงของผู้หญิงครับ
  • แต่ทุกวันนี้ก็เอาไปปรับใช้ให้สมสมัยได้ครับ
  • ออตเคยเอาไปตัดเสื้อตัวหนึ่งสวยมากครับ สวยจนมีคนขอซื้อที่ออตใส่
  • งานนี้เห็นแก่เงินถอดขายเลย ทอเอาใหม่ก็ได้เพราะช่างทอผ้าจะได้มีงานทำ
  • อิอิ

ผ้าไหม...เหมือนของคุณยายชาวบ้าน

ท่านใส่ได้ทั้งวัน ไม่ร้อน

ผ้าไหมโบราณ..ซักแล้วไม่ต้องรีดใช่ไหม

มองดูนิ่มๆบางๆ น่าจะใส่สบาย

พี่อุบลครับP

  • ผ้าไหมเก่า ๆ ถ้าเป็นไหมน้อยจะเนื้อดีมาก
  • ซักแล้วไม่ต้องรีด ก็สามารถใส่ได้
  • เนื้อไม่แน่นมาก จึงไม่ร้อนครับ
ผ้าสวยมาก ลวดลายคลาสสิค วันหลังคงได้มีโอกาสพบกัน อยากได้ผ้าที่คุณออตทำมาใส่บ้าง จะได้แสดงให้เห็นว่าผ้ายังมีชีวิต มีคนใช้กันจริงๆอยู่หลายที่นะคะ

คุณนายดอกเตอร์P

  • ขอบคุณมากครับ ที่ชอบผ้าของช่างทอบ้านนา
  • หากมีคนสวมใส่ คนทอคงชื่นใจ มีแรงทอต่อไป
  • และสืบทอดอาชีพการทอผ้าต่อไป ไม่ใช่ในฐานะของโบราณแต่ในฐานะศิลปะร่วมสมัย

ตีนซิ่น

วิธีการต่อตีนที่ถูกต้อง ส่วนที่เป็นแถบสีแดงคือส่วนล่างสุดของซิ่นนะครับ

ซึ่งจะถูกต้องตามแบบโบราณนะครับ

ลักษณะแบบนี้ที่บ้านผมเรียกว่าผ้าซิ่นคั่น หรือซิ่นควบ ตอนนี้หาชมยากแล้วนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท