ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับทักษะชีวิตของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติด


จากผลการศึกษาพบว่าสัมพันธภาพในครอบครัวของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดมีความสัมพันธ์กับทักษะชีวิตด้านความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และด้านการตัดสินใจ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดขณะเข้ารับการบำบัดรักษาควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับวัยรุ่น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกัน และเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับไปใช้ชีวิตภายหลังการบำบัดรักษา
จินตนา  เทพดินินทร์: ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับทักษะชีวิตของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติด                  การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive  Research) เรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัวกับทักษะชีวิตของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติด  โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้   1. เพื่อศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัว และทักษะชีวิตของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติด   2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว และทักษะชีวิตของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดประชากรที่ศึกษา เป็นวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติด ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี ที่เข้ารับการบำบัดรักษาระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่สถาบันธัญญารักษ์  โดยผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลกับวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดทุกราย ทั้งเพศหญิงและเพศชาย  อายุระหว่าง 15-25 ปี  ซึ่งเข้ารับการบำบัดรักษาระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ  ที่สถาบันธัญญารักษ์  ตั้งแต่วันที่  1-30 เมษายน  2550  จำนวน  102  ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง  โดยศึกษาหลักเกณฑ์  วิธีการสร้างแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง  ศึกษาทฤษฎี  งานวิจัย  บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  สร้างเครื่องมือตามกรอบแนวคิด  และคำจำกัดความของงานวิจัย  การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดสอบใช้กับผู้ป่วยยาเสพติดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง  แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  30  ราย  และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach ’s Alpha  Coefficient)  ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของ แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัวได้ค่า  a  ทั้งฉบับเท่ากับ  0.8600   แบบวัดทักษะชีวิตได้ค่า  a  ทั้งฉบับเท่ากับ  0.7455  นี้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่    ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน                 จากการศึกษาสามารถสรุปผลการวิจัยได้  ดังนี้1.        วัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดเป็นเพศชายร้อยละ 51.0  เพศหญิงร้อยละ  49.02.        วัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-25  ปี  คิดเป็นร้อยละ 57.8  และที่มีอายุระหว่าง 15-19  ปี   คิดเป็นร้อยละ  42.2  มีอายุโดยเฉลี่ยอยู่ที่  20.37 ปี3.        วัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา  คิดเป็นร้อยละ 48.0  รองลงมาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาคิดเป็นร้อยละ 43.14.        สถานภาพสมรสของบิดามารดาของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน  คิดเป็นร้อยละ  43.1 รองลงมาแยกกันอยู่  คิดเป็นร้อยละ 19.65.        วัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดามารดาและพี่น้อง  คิดเป็นร้อยละ  37.3  รองลงมาอาศัยอยู่กับมารดา  คิดเป็นร้อยละ  24.56.        วัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดอาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนที่มียาเสพติด  คิดเป็นร้อยละ  46.1  และที่ไม่มียาเสพติด  คิดเป็นร้อยละ 53.9    7.        วัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดโดยส่วนใหญ่จะมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ใช้ยาเสพติด  คิดเป็นร้อยละ  94.1  และที่ไม่มีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ใช้ยาเสพติด  คิดเป็นร้อยละ  5.98. วัยรุ่นที่เสพยาบ้ามีสัมพันธภาพในครอบครัวโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  2.51  (S.D.= 0.576)  ทักษะชีวิตด้านความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.72  (S.D.= 0.473)  ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  2.80  (S.D.= 0.461) ทักษะชีวิตด้านการแก้ไขปัญหามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.98 (S.D.= 0.424)9. สัมพันธภาพในครอบครัวของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดมีความสัมพันธ์กับทักษะชีวิตด้านความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ  และด้านการตัดสินใจ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  (r= .283 , .300 ตามลำดับ)                     ข้อเสนอแนะ1.  จากผลการศึกษาพบว่าสัมพันธภาพในครอบครัวของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดมีความสัมพันธ์กับทักษะชีวิตด้านความคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ  และด้านการตัดสินใจ  ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวของวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดขณะเข้ารับการบำบัดรักษาควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับวัยรุ่น  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกัน  และเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งผู้ป่วยและครอบครัวในการกลับไปใช้ชีวิตภายหลังการบำบัดรักษา2.  จากผลการศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติดอาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนที่มียาเสพติด และมีเพื่อนหรือคนรู้จักที่ใช้ยาเสพติด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นที่ใช้ยาเสพติด ต่างก็ต้องเผชิญอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการใช้ยาเสพติดได้ง่าย ดังนั้นจึงควรมีดำเนินงานเชิงรุกในระดับชุมชนโดยการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนและวัยรุ่นที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ทั้งนี้ในพื้นที่ที่มียาเสพติดก็ควรมีการปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างจริงจัง 
คำสำคัญ (Tags): #สังคมสงเคราะห์
หมายเลขบันทึก: 131268เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท