อุปกรณ์เสริมที่เท้า(Orthotics)สำหรับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน


ปกป้องก่อนเกิด รักษาเมื่อมีแผล ป้องกันแผลกลับมาอีก

        เมื่อวานนี้  ผศ. ดร. ประณีต เพ็ญศรี ได้พานิสิตกายภาพบำบัด ปี3จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาที่สถาบันราชประชาสมาสัย เพื่อฟังบรรยายในหัวข้อ Foot orthotic

      งานนี้ คุณภูวสิทธิ์ กลิ่นอุบล ได้ทบทวนกายวิภาคศาสตร์เรื่องเท้า และเท้าในลักษณะต่างๆ ส่วนตัวผมพูดเกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมในเท้า(Foot orthotics)และปัญหาเกี่ยวกับเท้าที่มักพบบ่อยๆ และท้ายสุดอ.สมเกียรติ มหาอุดมพรจะพูดภาพรวมทั้งหมดและปัญหาเรื่องเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ไหนๆ ได้เตรียมความรู้มาแล้ว ก็เลยขออนุญาตนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อใน blog หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อยนะครับ

 

 

อุปกรณ์เสริมที่เท้า(Orthotics)สำหรับเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

              อุปกรณ์เสริมที่เท้า มีบทบาทอย่างยิ่งในการป้องกันและรักษาแผลที่เท้าผู้ป่วยที่เท้าชาสูญความรู้สึก โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานที่มีอาการปลายประสาทเสื่อม  ที่ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่และถูกตัดขามากที่สุด

            หลักการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ คือ ป้องกันก่อนเกิดแผล รักษาขณะเป็นแผลและปกป้องไม่ให้แผลกลับมาเป็นอีก

                  ป้องกันการเกิดแผล   เนื่องจากเท้าผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีการผิดรูปจากกล้ามเนื้อเท้าบางมัดอ่อนแรง(Deformities) ส่งผลให้มีแรงกดเพิ่มขึ้นในบางจุดประกอบกับมักจะมีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อจากขบวนการ nonenzymatic glycosylation ที่เกิดกับ periarticular soft tissue ส่งผลให้เป็นแผลตามมา เช่น ตำแหน่งของแผลที่พบบ่อย ได้แก่ ที่นิ้วเท้า (ทั้งด้าน dorsal หรือ plantar) ตามด้วย plantar metatarsal heads

       การติดตั้งอุปกรณ์เสริมจะสามารถช่วยลดแรงกดเหล่านี้ เป็นการป้องกันการเกิดแผล  

       ใช้ในการรักษาแผล      เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเมื่อมีแผลที่เท้าเกิดขึ้นเท้าชามักจะย่ำบนแผลซ้ำๆ เนื่องจากเท้าชาไม่มีความรู้สึกใดๆ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ และบางรายถึงกับต้องตัดขาอุปกรณ์เสริมจะเข้ามาช่วยยกแผลให้ไม่สัมผัสพื้น

           ใช้ในการป้องกันการกลับมาอีกครั้งของแผล (Recurrence wound) โดยพบว่าโอกาสที่เกิดแผลซ้ำพบได้ถึง 60% ในผู้ป่วยที่เคยเป็นแผลมาก่อนโดยเฉพาะกลุ่มที่มี severe peripheral neuropathy, ดื่มเหล้าหนัก, ควบคุมเบาหวานไม่ดี, พบแพทย์ช้า  และการตัดบางส่วนของเท้าหรือขาก็ไม่อาจหยุดยั้งการเกิดแผลขึ้นอีก

        มีข้อมูลการศึกษาวิจัยจาก California and New Jersey พบว่า 1 ปีหลัง amputation 10-15% ของผู้ป่วยจะเกิด amputation ขึ้นใหม่ในข้างเดียวกันหรือในข้างตรงกันข้าม, 23-30% ใน 3 ปี และ 28-51% ใน 5 ปี

       เพราะว่าความผิดปกติที่เท้า(Deformities) ยังคงอยู่ทำให้มีแรงกดอยู่ที่บริเวณนั้น ประกอบกับเมื่อแผลหายแล้วจะเป็นแผลเป็นซึ่งมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าผิวหนังที่เท้าเท่าไป จึงทำให้บริเวณนี้เป็นจุดอ่อน ง่ายต่อการเกิดแผล อุปกรณ์เสริมจะช่วยลดแรงกดที่บริเวณนั้น  

         อุปกรณ์เสริมที่เท้าหรือรองเท้ามีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในการใช้ เช่น ตำแหน่งแผล กลไกลการเกิด กิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ชนิดรองเท้า

 

หมายเลขบันทึก: 130522เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท