ยังไม่อยากเขียนบันทึก เพราะสิ่งที่เขียนไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง


เรื่องเล่าครับ

    วานนนี้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนสนทนากับเพื่อนสนิท

    ซึ่งตอนนี้กำลังเรียนต่อจิตแพทย์....

    เป็นเพื่อนที่สนิทมากครับตอนเรียนแพทย์ เหมือนพี่น้องกัน ญาติกันมากกว่า...

   พูดคุยเกี่ยวกับการเขียนบันทึก  และประโยชน์ของบันทึก

   ในฐานะเพื่อนผมอยากให้เพื่อนแพทย์ท่านนี้เข้ามาเขียนบันทึก  เพื่อแลกเปลี่ยนกับคนทั่วไป  โดยเฉพาะเรื่องของการทำงาน  การเรียน

 

   เพื่อนได้ให้ข้อคิดเห็นว่า...

       ...ยังไม่อยากเข้าไปเขียนเพราะว่า  ตนเองนั้นยังไม่ดีพอ  ยังมีอีกด้าน  ที่เป็นด้านมืดอยู่  ไม่อยากเขียนเพราะว่าสิ่งที่เขียนนั้น  อาจจะไม่ใช่ตัวตนของเราที่แท้จริง

     ถ้าเราเขียนในเรื่องที่ไม่ใช่ตัวเรา  วันหนึ่งเมื่อมาพบกับคนที่เข้ามา ลปรร. เราก็จะรู้สึกไม่ดี..

       ผมมองว่าก็เป็นมุมมองหนึ่งที่สะท้อน  ความคิดความเข้าใจ

และได้ตรวจสอบตัวตนของเราเองว่า

 .......จริงๆแล้วสิ่งที่เราเขียนออกมา.เป็นตัวเราจริงๆแล้วหรือไม่

  ...เพราะว่ามันควรจะเป็นตัวเราจริงๆ  เราจึงจะภูมิใจในสิ่งที่เราเป็น

   ...และในสิ่งที่เรานำเสนอต่อสาธารณะ..

 

   แต่ผมก็ยังหนุนเพื่อนให้เขียน  โดยบอกว่าก็เขียนในสิ่งที่เป็นเราคือ

   เขียนเรื่องราวของเรา  เรื่องที่เราเรียน  เรื่องคนไข้  เรื่องเกม  เรื่องเล่นหุ้นก็ได้   หรือเรื่องความรัก..ในมุมที่ให้ข้อคิดดีๆ มากมาย

    เขียนในสิ่งที่เราเป็น  และสิ่งทีเราเข้าใจ  เเละเรียนรู้เรื่อยงราวจากการเข้ามาลปรร  และอ่านบันทึกคนอื่น  ก็จะเป็นการต่อยอดความคิด  ความเข้าใขของเราได้...

หมายเลขบันทึก: 130030เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ให้พยายาม ชักชวนต่อไป  นะครับ

 

  • มาแบบพวกนัก (เลง) สังคมวิทยาอีกแล้วครับ  คือ ในมุมผมมองว่า การเขียนคือเรื่องของอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการเอ็มพาวเวอร์ตัวเองก็ดี หรือเป็นการต่อรองเพื่อสร้างอำนาจ หรือถูกครอบงำ / ผลิตซ้ำ / รับใช้อำนาจให้กับใครก็ดี
  •  ไม่มีงานเขียนใดที่อยู่นอกปริมณฑลของการใช้อำนาจเลยครับ การเขียนจึงเป็นเรื่องของ "ความรุนแรง" ได้เสมอ แม้บางเรื่อง ดูเบาๆ โรแมนติก แต่ก็นั่นแหละ ที่มันแฝงอำนาจที่รุนแรงในการชักจูงให้เราคล้อยตาม ยิ่งอ่อนหวานเรายิ่งง่ายต่อการขาดวิจารณญาณในการตรวจสอบมัน (เหมือนเจอนางงามสุดสวย หนุ่มๆก็มักจะใจอ่อนระทวยก็เป็นแถวๆ) ทั้งที่ความจริง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง มันย่อมจะเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่เขียน ไม่มากก็น้อย
  • ผมเคยไปพูดที่กรุงเทพในการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา หลายปีแล้วครับ ว่า การเขียนมีข้อจำกัดมากมาย อย่างน้อย เราต่างล้วนเขียนในสิ่งที่ตายไปแล้ว ผ่านไปแล้ว คนละ space & time และเราก็เอาเหตุการณ์จริงซึ่งมีความซับซ้อนหลายมิติ มาถอดออกเป็นส่วนๆจำลองด้วยระบบสัญลักษณ์ถ่ายทอดลงบนกระดาษแบนๆ
  • การบิดเบือน บูดเบี้ยวจาก "ความจริง" จึงเป็นเรื่องธรรมดาของงานเขียนทุกชิ้นในโลก
  • แต่กระนั้น กระบวนการทำความเข้าใจกับบริบทของการเขียน บริบทของผู้เขียน เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราถอดความหมายที่ซ่อนเร้นที่ผู้เขียนนำเสนอออกมาให้ได้
  • ภาษาสมัยที่ผมเรียนมานุษยวิทยา อาจารย์บอกว่า ต้อง "อ่านระหว่างบรรทัด" คืออ่านให้รู้มากไปกว่าสิ่งที่ผู้เขียนเขียนครับ เช่น บริบทของผู้เขียน บริบทของรูปแบบภาษา วิธีคิดของผู้เขียน สิ่งที่ผู้เขียน "เผลอ" แสดงออกมาในงานเขียนซึ่งขัดกับสิ่งที่เขาเขียน เป็นต้น
  • สำหรับผม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรามองว่าการเขียนมันแปลกแยกจากตัวตนของผู้เขียนแค่ไหน แต่น่าจะอยู่ที่ว่า เราจะสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร ให้รู้เท่าทันอำนาจ หรือมายาคติ อคติต่างๆที่แฝงฝังอยู่ในถ้อยคำเหล่านี้
  • อย่างที่ว่า โดยภาพรวม ทางสังคมวิทยาร่วมสมัย มองในแง่มุมว่า การเขียนมันเป็นระบบสัญลักษณ์ ซึ่งชนชั้นหรือกลุ่มชนที่มีอำนาจสร้างขึ้นมาใช้สร้าง "ความจริง" หรือมาตรฐานเพื่อปกครองคนกลุ่มอื่นๆ ภาษาจึงเป็นเรื่องของการใช้อำนาจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆมากมาย 
  • ถ้าเป็นบรรดาเฟมินิสต์ ก็จะมองว่า ภาษาแบบเป็นทางการเป็นสิ่งที่ผู้ชายสร้างขึ้น เพื่อกดขี่กีดกันการสื่อสารแบบผู้หญิง หรือแบบอื่นๆ
  • ถ้าสุพัฒน์สนใจเรื่องเหล่านี้ ผมแนะนำให้ไปอ่านงานของมิเชล ฟูโกต์ ภาคภาษาไทยก็มีนะครับ หรือไป search ดูแนวคิดพวก post modernism นี่รื้อสร้าง (deconstruct) การใช้ภาษาไว้ อ่านแล้ว "หลุด" อะไรต่อมิอะไรไปเยอะ อย่างน้อยก็ไม่ตกหลุมพรางของ "ภาษา" ได้ง่ายๆ
  • (ถ้าชอบที่จะหลุดจากกรอบนะครับ)

สวสดีครับ

  ขอบคุณพี่จิ้นครับ

  ผมจะชวนเจ้าตุ้ยมาเขียนบันทึกต่อไปครับ

  จริงๆแล้วเขามีเรื่องราวที่ดีๆมากกว่าผมมากมายนะครับ

สวัสดีครับพี่ยอดดอย

  เป็นการลปรรที่มีมุมที่แตกต่างมากๆครับ 

ดีมากๆครับ  ผมชอบแบบนี้ด้วยเหมือนกันนะครับ

 แบบว่าไม่ได้ทำให้คล้อยตามอย่งเดียว

  แต่กระชากความคิดให้เราจดจ่อหรือค้นหาคำตอบระวังขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท