แก่นHA


ทำอะไรก็ตาม หากจับได้ถึงแก่นของมันแล้ว การปฏิบัติจะทำได้ง่ายขึ้น

             ในการพัฒนาคุณภาพหลากหลายมาตรฐานที่ออกมาในปัจจุบันนี้ ก็เป็นที่ยอมรับ ชื่นชอบในการปฏิบัติแตกต่างกัน แต่เท่าที่ผมได้พยายามวิเคราะห์ดูแล้ว ผมกลับคิดว่าแก่นแท้จริงๆแล้วไม่ได้แตกต่างกันนัก แต่จะแตกต่างที่การใช้ภาษา คำพูดและวิธีการปฏิบัติเท่านั้น

             การมองให้เห็นแก่นหรือเนื้อใน(Content)จะทำให้เราเข้าใจได้มากกว่าการติดอยู่ที่เปลือกนอก(Context) การพูดอย่างนี้ ไม่ใช่Contextไม่สำคัญ ยิ่งมีความสำคัญมาก แต่ที่สำคัญต่อความสำเร็จของเราคือContextของเรา ไม่ใช่Contextของคนอื่น เราเอาแนวคิดหรือเนื้อในหรือContentของคนอื่นมาได้ แต่อย่าเอาContextของคนอื่นมาด้วย

               หากจะพัฒนาคุณภาพตามแนวทางของHA ผมคิดว่าแก่นของHAมีแค่ 3 ประการคือ

1.  ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง(Patient-centered Approach)

2.  ทำงานเป็นทีม(Multidisciplinary Teamwork)

3.  พัฒนาอย่างต่อเนื่อง(Continuous Improvement)

               พอเข้าใจแก่นทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว ก็ไปประยุกต์เป็นวิธีปฏิบัติได้ตามที่เราเห็นสมควร เหมาะสมกับบริบทของเราได้

               ในการนำแก่นHAไปปฏิบัตินี้ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับที่อาจารย์หมออนุวัฒน์ได้เสนอไว้ 3 ประการคือ

1.  ทำงานประจำให้ดี

2.  มีอะไรให้คุยกัน

3.  ขยันทบทวน

               ซึ่งแนวทาง 3 ข้อนี้ จะสะท้อนให้เห็นการนำแก่นของHAไปปฏิบัติในงานประจำของตนเองได้จริง

คำสำคัญ (Tags): #kmกับคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 12971เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2006 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ที่สำคัญคือใจ ครับผม
เห็นด้วยครับ ต้องได้ใจก่อน จึงจะสำเร็จจริง
เชื่อในเรื่องของคุณภาพ...และเชื่อในความเป็นมนุษย์...ที่ทุกขบวนการของการดำเนินในแต่ละวันได้มีการทำกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...แต่เมื่อระบบของความเป็นวิชาการเข้ามา...กลับทำให้คนคุณภาพงงงวย...HA..คืออะไร...หลงทาง...

          เมื่อ 2 ปีก่อน ผมถามพี่คำ คนขับรถโรงพยาบาลบ้านตาก ขณะนั่งรถไปรับใบรับรองHAว่า "คิดว่าHAคืออะไร" เขาตอบโดยไม่ต้องคิด(อาจจะคิดแต่เร้วมาก)ว่า HAคือการทำงานประจำของตนเองให้ดีที่สุด" ผมงี้ทึ่งมาก

          แต่การทำให้ดีที่สุดต้องเป็นในสายตาหรือมุมมองของผู้ป่วยและลูกค้าด้วย และบางครั้งสายตาลูกค้ามองลงไปไม่ถึงบริการทางเทคนิคซึ่งซับซ้อนหรือต้องใช้ความรู้เฉพาะทางมาก จึงต้องมีบุคคลที่สามที่เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ป่วยมาดูให้ นั่นคือผู้ประเมินและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพนั่นคือพรพ.หรือองค์การที่รับรองISO

      สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ ความเข้าใจในคำว่า คุณภาพ และเป้าหมายด้วย  บางคนทำเพื่อ ใบรับรองบอกได้ว่า ไม่จีรังยั่งยืนหรอกค่ะ
ใบรับรองเป็นแค่กิจกรรมปลายทาง(ไม่ใช่เป้าหมาย) แต่กว่าจะถึงกิจกรรมส่วนปลายได้ อาจใช้เวลานาน หากใจเรามุ่งที่ใบรับรองหรือมุ่งแต่มองที่ปลายทาง จะทำให้เรามองผ่านความสำเร็จเล็กๆที่เกิดขึ้นในเส้นทางที่ผ่านไปในแต่ละกิจกรรม ทำให้ไม่ได้รับความสุขใจที่ได้จากความสุขเล็กๆเหล่าอย่างน่าเสียดาย ทุกกิจกรรมที่ทำได้ดีนั่นแหละคือความสุขและความสำเร็จในกิจกรรมของเราครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท