เวลาละศีลอด : ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่าถูกต้อง


                 ทุกปีและเท่าที่จำความได้พวกเราจะละศีลอดตามรางเวลาที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามแจก แม้ว่าบางครั้งจะฉบับของนักการเมือง(เพื่อหาเสียง) หรือขององค์กรต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วจะคัดลอกมาจากปฏิทินฮิจเราะฮฺที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

                เมื่อหลายปีมาแล้วผมเคยทำงานที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ครั้งหนึ่งมีหนังสือจากโรงพิมพ์ในจังหวัดเสนอขอพิมพ์ปฏิทินฮิจเราะฮฺโดยที่เขามีเนื้อหาและตารางเวลาเรียบร้อยแล้ว  ใครเป็นคำคำนวณตารางเวลานั้น ใครเป็นคนกำหนด และได้รับการรับรองจากสำนักงานหรือคณะกรรมการอิสลามแล้วหรือยัง ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ โดยถือหลักว่า โรงพิมพ์ที่ไม่ได้เป็นโรงพิมพ์ของมุสลิมก็ไปซื้อบล็อกมาจากโรงพิมพ์มุสลิม แต่พอพิมพ์ออกมามีข้อสังเกตหลายจุด(ตามประสาคนขี้สงสัย) เช่น

 ·       ทำไมเวลาของจังหวัดยะลากับปัตตานีต้องแตกต่างกันทั้งสองจังหวัดอยู่ในแนวเดียวกัน

·       ทำไมเวลาของจังหวัดยะลากับหาดจึงเป็นเวลาเดียวกันทั้งๆที่อยู่กันคนละแนว

·       ทำไมเวลาในแต่ละวัน บางวันติดกันเวลาห่างกันหลายนาที ทั้งๆที่น่าจะเรียงลำดับ

              ผมก็ไปสอบถามจากโรงพิมพ์ต้นต่อว่าเวลาเหล่านี้มาจากไหน คำตอบที่ได้คือทางโรงพิมพ์ทำเองโดยลอกจากของปีที่แล้วๆมา โดยยึดตามตารางคำนวณของหะยีสุหลง ส่วนกำหนดวันให้เจ้าหน้าที่คนหนึ่งในโรงพิมพ์กำหนดก่อนแล้วไปถามโต๊ะครูบางคนว่าถูกต้องหรือไม่ 

                จากการศึกษาของผม ไม่ว่าจะเป็นของ โต๊ะครูหะยีสุหลง หรือโต๊ะครูหะยีอับดุลวาฮับ อาลี(บิดา รศ.ดร.อิสมาแอ อาลี ผอ.วิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี) การคำนวณของโต๊ะครูที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองมีความแม่นย้ำมากทั้งๆที่ในขณะนั้นไม่มีเครื่องมือคำนวณเหมือนปัจจุบัน

                ผมเข้าใจว่าส่วนผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากคัดลอกและการถ่ายถอดจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อมีผิดพลาดจากปีใดปีหนึ่งปีต่อๆมาก็จะผิดพลาดตาม ก็เลยเกิดคำถามอย่างที่ผมได้ตั้งไว้ข้างต้น

                ผมขอเปรียบเทียบเวลาละศีลอด(ดวงอาทิตย์ตกดิน)ของวันนี้(วันที่ 19  กันยายน) ตามตารางเวลาที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ของ รศ.นิแวเตะ และตารางเวลาของกรมอุทกศาตร์ จากการคำนวณด้วยโปรแกรมของ ดร.มันซูร อัฮมัด

 

จังหวัด/อำเภอ

สนง.กกอ.ยะลา

รศ.นิแวเตะ

ดร.มันซูร

กรมอุทกศาสตร์

ยะลา

18.19

18.13

18.13

18.13

ปัตตานี

18.17

18.13

18.13

18.13

สงขลา

18.16

18.16

18.16

หาดใหญ่

18.19

18.17

18.16

จะนะ

18.15

18.15

บางลาง

18.19

18.14

เบตง

18.19

18.15

(ที่ว่างอยู่จะใส่ข้อมูลภายหลัง ส่วนของกรมอุทกศาสตร์มีเฉพาะตัวจังหวัด)

                จะเห็น ยะลากับหาดใหญ่ตามตารางของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามเท่ากันแต่ของ รศ.นิแวเตะต่างกัน 4 นาที และของดร.มัซูรกับของกรมอุทกศาสตร์ต่างกัน 3 นาที

                ท่านจะยึดเอาอันไหน ได้ทั้งนั้นครับ ผมใช้อยู่ของ ดร.มันซูร ครับ รู้สึกมันตรงดีและตรงกับของคนอื่นด้วย  

หมายเลขบันทึก: 129605เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารณ์น่าจะเอาเวลาของจังหวัดนราธิวาส มาเปรียบเทียบด้วยนะครับ อยากรู้ด้วยนะครับ

แล้วคนกทม.หละจะทำไง ก้เหมือนๆๆที่บอกนั้นเหมือนกันคัดลอกมาเช่นกัน...

แล้วแบบนี้ถ้าละสิลอดก่อนเวลาจะทำไง... 

  • ตารางเวลาที่นำเสนอใน เวบ มุสลิมไทย ใช้ได้ครับ มีความเป็นวิชาการ ไม่ใช่ความเชื่อเพียงอย่างเดียว
    http://www.muslimthai.com/services/falak_ipt/
  • ผมเห็นว่า คณะกรรมอิสลามทั้งสามจังหวัดน่าจะทำเรื่องนี้ให้เป็นวิชาการมากขึ้น คนมีความรู้ในเรื่องนี้ก็มีพอควร ไม่ใช่มอบหมายให้โรงพิมพ์(ซึ่งไม่ใช่องค์กรศาสนา)เขาไปกำหนดให้แบบนี้
  • หรือท่านมีความเห็นอย่างไร

 

ผมเสนอว่า กลับไปสู่รากฐานเดิมดีกว่าครับ คือ ใช้การสังเกตจากสภาพจริงของชุมชน ยกเว้นวันฝนตก เมฆมาก เดาอย่างมีเหตุมีผล ผมคิดเล่นๆ ว่าอันนี้น่าจะสอดคล้องกับซุนนะห์มากกว่า วัลลอฮูอะลัม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท