มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

ความต่างในความดีเด่นของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล


ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
  • หากจะพูดถึงศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลดีเด่นของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปี 2549 กับ2550 นั้น มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้รับความร่วมมือจาก อปท. แต่ในขณะเดียวกันก็มีความต่างที่น่าสนใจ
  • ศูนย์บริการฯ ทรายทอง  อ. บางสะพานน้อย เป็นศูนย์บริการฯ ดีเด่น ปี 2549 ศูนย์นี้มีความโดดเด่นที่ความสามารถในการบริหารจัดการของคณะกรรมการศูนย์ฯ ทุกคนเข้าใจและเต็มใจทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ได้มีการบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ในการให้ความรู้และบริการที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร ซึ่งศูนย์แห่งนี้ มีรูปแบบการดำเนินงานแบบนี้มาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเลขานุการศูนย์ฯ (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร) ไปกี่คนแล้วก็ตาม
  • ศูนย์บริการฯ หนองตาแต้ม  อ. ปราณบุรี เป็นศูนย์บริการฯ ดีเด่น ปี 2550  มีความโดดเด่นที่ความสามารถของเลขานุการศูนย์ (เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร) ในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกับ อปท. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก อบต. จำนวนมาก และมีการประชาสัมพันธ์ทางวารสาร อบต. เป็นประจำทุกเดือน แต่ขณะเดียวกันคณะกรรมการศูนย์ฯ ส่วนใหญ่ยอมรับในความสามารถและเชื่อมั่นในการทำงานของเลขาศูนย์ฯ จนไม่ได้แสดงบทบาทของตนเองเท่าที่ควรจะเป็น
  • จากความต่างของทั้ง 2 ศูนย์ นี้ ทำให้ผู้เขียนนึกถึง ความยั่งยืน และความมีภูมิต้านทานในการบริหารงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ความยั่งยืนที่ว่านี้คือทำอย่างไรให้ศูนย์ฯ เป็นของชุมชน ที่มีการบริหารงานของชุมชนอย่างแท้จริง ส่วนความมีภูมิต้านทานก็เหมือนกับการเลี้ยงลูก หากลูกที่ได้ดื่มนมมารดา ย่อมแข็งแรงมีมีภูมิต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บได้ดีกว่าลูกที่ดื่มนมโค ฉะนั้นทำอย่างไรให้ศูนย์ฯ ได้มีการบริหารจัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน ให้เกิดความยั่งยืนและมั่นคงแข็งแรง
หมายเลขบันทึก: 129592เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

* สวัสดีครับ จากเด็กไชยา

* เป็นข้อมูลที่เยี่ยมมากครับ

* ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกคนสามารถที่จะประสานความหลากหลายเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของการส่งเสริมการเกษตรของไทยครับ

หวัดดีคับ

  • ผมว่า กต. ตกเป็นเหยื่อของระบบ
  • ถูกปล่อยปละ ละเลยจากผู้บริหารมานานมากแล้ว
  • งานจรงานที่ได้รับมอบหมาย (ซึ่งอยู่ลำดับสุดท้ายของรายการ) มีมากกว่างานหลักของตนเอง
  • จะแก้อย่างไรดีน๊า
  • สวัสดีครับพี่มุ่ยฮวง
  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • ชอบการเปรียบเทียบของพี่มากครับ ชัดเจนดีจัง
  • ขอบพระคุณที่บันทึกมาแบ่งปันครับ
  • สวัสดีครับคุณมุ่ยฮวง
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำสิ่งดีๆ ในงานส่งเสริมการเกษตรมาแลกเปลี่ยน

 

ดีมากครับเป็นเสียงสะท้อนที่ดี

ในเรื่องศูนย์บริการที่หลายแห่งกลายเป็น 0

อีกทั้งวิทยากรเกษตรกรที่เป็นส่วนที่ดีกลับขาดการเหลียวแล และถูกทิ้งกลับไปสร้างสิ่งใหม่

ผมเคยทำวิจัยเรื่องวิทยากรเกษตรกรเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป สิ่งนี้อย่าลืมเขานะครับฝากนักส่งเสริมทุกคน ครับผม

 

 

  • แวะมาทักทายค่ะ
  • ขอบคุณที่นำเสนอข้อมูลดีๆ
  • มาชวนเข้าร่วมชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตกด้วยค่ะ
      . แวะมาเยี่ยมครับ  ขอบคุณที่นำข้อมูลดีๆมาให้แลกเปลี่ยน

ต้นพันธุ์ที่ดีและสภาพที่เหมะสมประกอบเข้ากับการดูแลเอาใจใส่ที่อบอุ่น เมื่อผสานเข้าด้วยกันก่อให้เกิดความงาม

น่าคิดค่ะ น่าสนใจมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท