การสาวไหม


วิธีการสาวไหม
ภูมิปัญญาการสาวไหม

                                การศึกษาภูมิปัญญาการสาวไหมหัตถกรรมของเกษตร  ผู้มีภูมิปัญญาการสาวไหมของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สกลนคร  ทำการเก็บข้อมูลขบวนการสาวไหมของเกษตรกรผู้มีภูมิปัญญา  จำนวน  10  ราย  เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์  สังเกต  ในขณะที่เกษตรกรปฏิบัติจริงของเกษตรกรผู้มีภูมิปัญญาแต่ละราย  แล้วนำมาสรุปเป็นภูมิปัญญา  และวัดคุณภาพเส้นไหมที่สาวได้  พบว่า  การสาวไหมหัตถกรรมเป็นขบวนการดึงเส้นไหมออกจากรังไหมของชาวบ้านผ่านพวงสาว มีการพันเกลียว แล้วดึงลงภาชนะเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดความรู้ทักษะมาจากบรรพบุรุษ  ที่สามารถแยกชั้นคุณภาพของเส้นไหม  คือ  เส้นไหมหัว (ไหม 3)  เส้นไหมน้อย (ไหม  1)  และเส้นไหมเลย (ไหม  2)   

  อุปกรณ์ที่ใช้สามารถทำขึ้นเองและหาซื้อได้ในท้องถิ่น  ประกอบด้วย  1.  พวงสาวไหม2.  หม้อต้มรังไหม (หม้อดิน)  เป็นอุปกรณ์พื้นบ้าน3.  ไม้คืบเกลี่ยรังไหม 4.  เตา5.  กระบุง6.  ถังใส่น้ำ7.  ขันตักน้ำ  8.  ไม้ฟืน หรือถ่าน9.  เก้าอี้นั่งสาวไหม 10.  ช้อนกระชอนและอื่น ๆโดยวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดถูกจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ  บริเวณที่ใช้สาวไหมเพื่อการใช้งานที่สะดวก  สำหรับการสาวไหมพบว่า  เกษตรกรจะเก็บรังไหมออกจากล่อที่ผ่านการทำรังมาแล้ว  2-3  วัน  วางเรียงในกระด้งก่อนนำไปสาวจะตากแดด/ผึ่งลม  ประมาณ  1-2  ชั่วโมง  แล้วลอกปุยทำความสะอาดรังและคัดรังเสียออกก่อนนำไปสาว  ขั้นตอนการสาวไหมจะต้มน้ำสะอาด  (น้ำฝน)  ให้ร้อนเกือบเดือด  อุณหภูมิประมาณ 82-90  องศาเซลเซียส  แล้วกำรังไหม  2-3  กำมือ    (ประมาณ  120 150  รัง)  ลงต้มในหม้อต้มแล้วใช้ไม้คืบกดรังไหมจนน้ำพลิกกลับไปมา  3-4  ครั้ง ยกไม้คืบขึ้น  เส้นไหมจะติดขึ้นมาก  ใช้มือรวบเส้นไหมสอดใส่รูพวงสาวไหม  แล้วพันเส้นไหมรอบพวงสาว  1  รอบ  พันเกลียว  4- 5  รอบ  ใช้มือซ้ายดึงเส้นไหมลงภาชนะที่ตั้งไว้ทางซ้ายมือด้านหลัง  ทำการสาวจนเส้นไหมเปลือกนอกหมด  สังเกตสีของรังไหมเปลี่ยนจากสีเข้มเป็นสีจาง  ผิวรังไหมเรียบสม่ำเสมอและเส้นไหมที่ออกจากรังไหมมีเส้นเดียว  ใช้กระชอนตักรังไหมออกจากหม้อมาวางไว้บนกระด้งที่เตรียมไว้  โดยให้เหลือรังไหมในหม้อ  4-5  รัง  แล้วเติมรังไหมใหม่เข้าไปครั้งละ  2 -3  กำมือ  ทำการสาวไหมหัว (ไหมเปลือกนอก)  จนหมดรังไหมที่เตรียมไว้  แล้วจึงเริ่มต้นสาวไหมน้อย (ไหม 1)  เป็นขั้นตอนต่อไป                                การสาวไหมน้อย  (ไหม 1)   เกษตรกรผู้มีภูมิปัญญาทุกคนจะเปลี่ยนน้ำสาวไหมใหม่  ต้มน้ำจนความร้อนพอเหมะ  ประมาณ  85 -90  องศาเซลเซียส   นำรังไหมที่สาวไหมหัวออกแล้วประมาณ  70 80  รัง  ลงในหม้อสาว  ใช้ไม้คืบกดรังไหมจนน้ำพลิกไปมาก  จกไม้คืบขึ้น  เส้นไหมจะติดขึ้นมาก  เอามือรวบเส้นไหมสอดใส่รูพวงสาว  พันพวงสาว  1  รอบ  แล้วพันเกรียว  10 -11  รอบ  เอามือซ้ายดึงเส้นไหมผ่านพวงสาวลงภาชนะที่เตรียมไว้  ขณะเดียวกันมือขวาถือไม้คืบคอยบังคับและเกลี่ยรังไหมในหม้อไปมา  การดึงเส้นไหมลงภาชนะมีความเร็วระหว่าง  60 -65  ครั้ง/นาที  สำหรับการควบคุมขนาดเส้นไหมจะใช้การสัมผัสเส้นไหม  ถ้ารู้สึกเส้นไหมมีขนาดเล็กลงก็จะเติมรังไหมเข้าไปครั้งละ 5 -10  รัง  และถ้าเส้นไหมมีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะตักรังไหมในหม้อออก  ถ้าเส้นไหมสกปรกหรือมีปุ่มปมก็หยุดแคะสิ่งสกปรกปุ่มปมออกก่อน  เติมรังไหมทุกครั้งจะตักดักแด้หรือรังไหมที่สาวหมดแล้วออก  แล้วเติมรังไหมเข้าไป  สำหรับการควบคุมความร้อนของน้ำในหม้อต้มจะสังเกตจากการสาวออกของเส้นไหม  คือ ถ้าน้ำเย็นลงจะสาวยาก  ถ้าน้ำร้อนมากเส้นไหมจะสาวง่าย ก็เติมฟืน  ถ้าอุณหภูมิน้ำร้อนไปก็เติมน้ำเย็นและหรือดึงฟืนออกจากเตา  เมื่อสาวไหมหมดแล้วนำเส้นไหมที่สาวได้ออกจากภาชนะเก็บไว้ในที่ปลอดภัย  แล้วหาวัสดุที่มีน้ำหนัก  เช่น  หม้อน้ำ  ท่อนไม้  ก้อนหิน  ทับเส้นไหมไว้  วันต่อมาหลังจากเส้นไหมแห้งแล้วจะนำมากรอใส่อักเพื่อทำความสะอาดเส้นไหม  ตีเกลียวเส้นไหม  นำไปใส่เหล่งเพื่อมัดทำใจ  แล้วจึงนำไปฟอกเอกกาวไหมออกก่อน   นำไปย้อมสีเพื่อทอผ้าผ้า  หรือเก็บรักษาในที่ที่ปลอดภัยต่อการทำลายของหนู  แมลง               
หมายเลขบันทึก: 129582เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากได้วิธีการแปรรูป ลูกหม่อนกินผล มากเลยค่ะ

ไม่รู้อยู่ที่ไหน      ช้วยบอกหน่อนแหงกานปลัตป้าไหมอยูจังหวังอัไร

-การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นการสืบสาน ศิลปวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท