หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์   ความพอเพียง  หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งที่จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน  และการดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ         นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตว์สุจริต  และให้มีความรอบคอบที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติปัญญา  และความรอบคอบ  เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี                ทางสายกลาง

    พอประมาณ

                                                                            

  มีภูมิคุ้มกันในตัวดี

                                                         

   มีเหตุผล

ชีวิต / เศรษฐกิจ / สังคม

สมดุล / มั่นคง / ยั่งยืน
เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์  สุจริต  ขยัน  อดทน  แบ่งปัน)
เงื่อนไขความรู้(รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง)
           คำนิยาม ความพอประมาณ               หมายถึง                 ความพอดี  ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและ ผู้อื่น ความมีเหตุผล                     หมายถึง                การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว       หมายถึง         การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้าน                                                 ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เงื่อนไข                 หมายถึง                 การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน  กล่าวคือ -   เงื่อนไขความรู้                ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ -   เงื่อนไขคุณธรรม            จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 

 

คำสำคัญ (Tags): #kmobec
หมายเลขบันทึก: 128020เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2007 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท