การสอนการคิดวิจารณญาณ


มีโอกาสได้เปรียบเทียบความคิดของตนเองกับกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่


           การคิดวิจารณญาณ เป็นกระบวนการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ และประเมินเกี่ยวกับข้อมูล หรือสภาพการณ์ที่ปรากฎโดยใช้ความรู้  ความคิด และประสบการณ์ของตนเองในการสำรวจหลักฐานอย่างรอบคอบ เพื่อนำไปสู่การสรุปอย่างสมเหตุสมผล


           วิธีการในการสอนคิดวิจารณญาณ  มีขั้นตอน  ดังนี้
          ขั้นที่  1  การเสนอปัญหา  ประเด็น สถานการณ์ หรือหลักการ เพื่อเป็นสิ่งเร้าให้นักเรียนได้คิด
          ขั้นที่  2  เป็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนคิด  โดยอาศัยสภาพการณ์ต่าง ๆ ในการฝึก  ได้แก่

        กิจกรรมการคิด                         การสนับสนุนการฝึกคิด


- บอกตามความจำ  อธิบาย  นิยม     - ครูใช้คำถาม
- รวบรวมข้อมูล  ยกตัวอย่าง              - ให้เวลาในการคิด
- จำแนกประเภท  จัดกลุ่ม                   - สร้างสถานการณ์ให้เหมาะสม
- การวิเคราะห์                                       - ใช้เครื่องมือช่วยแนะขั้นตอนการคิด
- ประยุกต์หลักการ ฯลฯ                       - ร่วมมือกันคิด


           ขั้นที่  3  กระตุ้นให้นักเรียนบอกผลการคิดของตนเอง
          ขั้นที่  4  ให้นักเรียนฝึกการใช้ทักษะการคิด
          ขั้นที่  5  ให้นักเรียนประเมินผลวิธีการคิด  กระบวนการคิดอย่างไร

           โดยสรุปขั้นตอนในการพัฒนาการคิดวิจารณญาณ  ควรเริ่มจาก
          1) การระบุหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหา ข้อคำถาม ข้ออ้าง หรือข้อโต้แย้ง ซึ่งจะต้องอาศัยความสามารถในการพิจารณาข้อมูลหรือสถานการณ์ที่ปรากฎ เพื่อกำหนดประเด็นปัญหา ข้อสงสัย และประเด็นหลักที่พิจารณา
          2) การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นที่พิจารณาจากแหล่งต่าง ๆ ที่มีอยู่  ซึ่งจะต้องอาศัยความสามารถในการรวบรวมข้อมูล  เช่น  ข้อมูลโดยอาศัยการสังเกตทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการใช้ข้อมูลจากประสบการณ์เดิม
           3) การพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการระบุความพอเพียงของข้อมูล  โดยอาศัยการจากการพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล  การประเมินความถูกต้องของข้อมูล และการพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตามประเด็นที่พิจารณา
           4) การระบุลักษณะของข้อมูล  โดยอาศัยความสามารถในการพิจารณาความแตกต่างของข้อมูล  การตีความข้อมูล การสังเคราะห์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาตั้งสมมติฐาน
          5) การตั้งสมมติฐาน เพื่อการกำหนดขอบเขต แนวทางการพิจารณาข้อมสรุปที่อาจเป็นไปได้ของคำถาม ประเด็นปัญหา หรือข้อโต้แย้ง
           6) การลงข้อสรุป  โดยอาศัยความสามารถในการใช้เหตุผลทั้งแบบอุปนับและนิรนัย
          7) การประเมินข้อสรุป  เป็นการประเมินความสมเหตุสมผลของข้อสรุป โดยอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์และการประเมิน
          

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนการคิด
หมายเลขบันทึก: 127171เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 18:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เข้ามาอ่าน ได้ความรู้เพื่อทำการบ้านส่งอาจารย์ ขอบคุณมากนะคะ กำลังเรียนปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท