บทเรียนจากการไปทำงานกับชุมชน


โอกาสบางโอกาส...ถ้าไม่วิ่งเข้าหาเราก็จะไม่รู้ความเป็นไปของโลกสากล

     วันนี้ดิฉันได้ไปร่วมกระบวนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ชาวบ้านนำเสนอผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันปฏิบัติเรื่อง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน  10  หมู่บ้านที่เป็นกรณีศึกษาภาคกลาง  ณ  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

    การร่วมงานดังกล่าวนั้น เมื่อได้ฟังชาวบ้านนำเสนอการปฏิบัติที่เขาและชุมชนได้ใช้อยู่จริง เป็นสัจธรรมถึงการอยู่ร่วมกันที่มี "สำนึกของความพอเพียง"  และเมื่อได้ฟังการวิเคราะห์ผลของเจ้าหน้าที่ก็ยิ่งทำให้เห็นถึง "แนวทางการปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันที่ชุมชน"

     ฉะนั้น ความเป็นจริงของการสร้างองค์ความรู้  การสร้างนวัตกรรมของชุมชน  การทำงานเสริมหนุน  และความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก "ใจ...ที่ร่วมกันสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา" ที่มิใช่เพื่อใคร แต่ทำเพื่อชุมชนและความอยู่รอดของเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเดียวกันนั่นเอง

     ดังนั้นกระบวนการสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มีการจัดลำดับขั้นตอนคือ

     1. มีการชักชวนให้คนมาเล่าและมาฟัง

     2. มีการชักจูงให้คนฟังสนใจสิ่งที่คนเล่าจะเล่าให้ฟัง

     3. มีการกระตุ้นให้เห็นถึงภาพรวมของงานที่ทำและผลที่เกิดขึ้นทั้งหมด

     4. มีการนำเสนอเนื้อหาสาระรายละเอียดที่เป็นการสรุปเรื่องของแต่ละกรณีศึกษา โดยเจ้าของเป็นผู้เล่าให้ฟัง

     5. มีการวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อสรุปผลสิ่งที่ทุกคนได้ลงไปร่วมกันทำกับประโยชน์ของการนำไปใช้

     6. มีการชี้ช่องทางและเปรียบเทียบเพื่อเปิดโลกกว้างของความคิดในการรับและแลกเปลี่ยนความจริงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติระหว่างกัน

     สิ่งที่เกิดขึ้นทุกคนต่างมีส่วนได้ของการเรียนรู้และการนำผลที่เกิดขึ้นไปพัฒนาและขยายผลกับภารกิจงานของตนเองได้ เช่น  การนำสิ่งที่ชุมชนมาพัฒนาต่อยอด  นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เป็นฐานในการทำงาน และอื่น ๆ.

    

หมายเลขบันทึก: 127147เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท