AAR ประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพ


ความคาดหวัง

          ได้แนวคิดใหม่ๆ และแนวทางมาปรับใช้ในการส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่สถาบัน

สิ่งที่ได้

          -ได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทเรียน 10 โรงพยาบาลปลอดบุหรี่และที่ได้นำร่อง 5 แห่งซึ่งมีจุดเด่น และความต่างให้เรียนรู้

          -ได้ความรู้ใหม่ๆที่ เป็นปัจจุบันมากขึ้น เช่น จรรยาปฏิบัติเพื่อการควบคุมยาสูบสำหรับบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ(ปี 2548)

          -ได้คู่มือโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้เลยในบริบทของบำราศฯ(ขอมาให้งานยาเสพติด 2 เล่ม)

          -ได้คู่มือปฏิบัติการพยาบาล การส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ในงานประจำ ซึ่งใช้หลัก 5’A เป็นแนวทางปฏิบัติ(ขอมาให้งานยาเสพติด 2 เล่ม)

ผลงาน2วันค่ะ

 ความแตกต่าง 

         ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบงานโดยตรงด้านบุหรี่  เครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้รับผิดชอบหลักของบำราศฯไม่ได้มา ถ้ามาคงได้แรงบันดาลใจเยอะมาก   เรา 2 คน(กับก้อย) ที่ไปก็จะได้นำไปปรับใช้ในงานของเรา

IDEAที่จะนำไปพัฒนาในงาน 

         -แนวทางการช่วยให้บุคลากรบำราศฯเลิกสูบบุหรี่

         -บันทึกเสนอผู้บริหารเรื่อง"สถาบันบำราศฯปลอดบุหรี่

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ประเด็นชวนคิด</p>

           การแก้ปัญหาบุหรี่เป็นเรื่องยาก ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ หนึ่ง บุหรี่เป็นยาเสพติดที่มีอำนาจการเสพติดสูงมากผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่แม้อยากจะเลิกแต่ก็เลิกไม่ได้ สองบริษัทบุหรี่ มุ่งเน้นการตลาดและการโฆษณาให้วัยรุ่นติดบุหรี่มากขึ้น ภายใต้ปรัชญาที่ว่า นักสูบวัยรุ่น คืออนาคตของธุรกิจของเรา         

                                               ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ

</span>

หมายเลขบันทึก: 127145เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ปิ่งทำไปเรื่อยๆน่าจะลดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่สูบได้บ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท