ความสุขระยะสั้น เป็นความสุขชั่วครู่ชั่วยาม ชั่วประเดี๋ยวเดียว ถ้าเราทานน้ำตาล เราจะ"รู้สึก"(จิต) ว่า "หวาน"(คุณภาพของความรู้สึก) + ความ "รู้สึก" อร่อย, พอใจ,ชอบ(เจตคติ - อยู่ในกลุ่มของอารมณ์)
ถ้าไม่มี --- น้ำตาลเข้าปาก เกิดละลาย เร้ารีเซ็พเตอร์ เปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นสารทางเคมีบางอย่าง แล้วเดินทางไปตามเส้นประสาท ถึงแดน "การรู้สึกสัมผัสรส" กระบวนการนี้เป็นกระบวนการทาง"กาย" แล้วเกิด "การรู้สึกสัมผัสความหวาน" (จิต) และรู้สึกว่า "หวาน"(จิต) + รู้ว่าเป็นน้ำตาล(รับรู้ - จิต) + รู้สึกอร่อย (อารมณ์ - จิต) + ชอบ,พอใจ,อยากทานอีก(จิต - อารมณ์/เจตคติ) ------ แล้ว --- จะไม่เกิดเหตุการณ์เหล่านี้
เหตุการณ์ที่เกิดในจิตตามตัวอย่างนี้คือ สิ่งที่เรียกว่า "ความสุขระยะสั้น, ความสุขชั่วคราว" ถ้ามันเกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ แล้วหายไป ถามว่าสั้นแค่ไหน ขีดยากครับ ประมาณเอาก็แล้วกัน(นี่คือ - ความยาก - ที่จะทำจิตวิทยาให้เป็นวิทยาศาสตร์ครับ)
ถ้าจะตีความเชิง "สาเหตุ และ ผล" แล้ว น้ำตาลเป็นสาเหตุ - รู้สึกสัมผัส + เหตุการณ์อื่นๆถัดไป เป็น ผล
สำหรับ "รางวัล" นั้น คือ "อะไรก็ได้ที่มีผู้ต้องการซึ่งได้ถูกนำไปตามหลังการกระทำใดๆของผู้อยากได้" เช่น "ผู้วิ่ง - วิ่ง - ถึงเส้นชัยก่อนเพื่อน - ตามหลังการถึงเส้นชัยด้วยถ้วยรางวัล" สังเกตว่า "รางวัลจะตามหลังการกระทำเสมอ เราไม่ยื่นรางวัลให้ก่อนออกวิ่งนะครับ ใครทำก็ตลก !!
ต่อไปก็ + ดีใจ ร่าเริง หัวเราะ น้ำตาไหล ---- (เป็นผลเกิดตามมา - เป็นอารมณ์ - เป็นสุขระยะสั้นๆ) แต่ถ้าเกิดสุขต่อเนื่องกันไปนานเป็นวัน เป็นสัปดาห์ ก็เป็นความสุขระยะยาวได้นะครับ
ความสุขระยะสั้น กับ สาเหตุ หรือกับ รางวัล สัมพันธ์กันนะครับ
คราวนี้ ลองคิดต่อไปซิครับ -- ความสุขระยะสั้น นี้ "เป็นผลพลอยได้ !! จากสาเหตุ" หรือว่า "มันไม่มีอยู่จริง แต่เราไป - สร้าง - มันให้เกิดขึ้นมา" หรือว่า "มันมีอยู่แล้วเราไป - เรียก - มันมา !!"
ช่วยคิดที
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ดร. ไสว เลี่ยมแก้ว ใน EMPIRICAL THEORIES
สวัสดีค่ะอาจารย์
ค่อนข้างจะคิดว่าความสุขระยะสั้นเป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากสภาวะธรรมในร่างกายของเรา ซึ่งมีอยู่จริง แต่ไม่ยั่งยืน... รวมๆ แล้วแทบจะเอาสองคำตอบของอาจารย์มารวมกันค่ะ ^ ^