ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (17) ลปรร. เพิ่มเติม Outcome mapping


ถ้าลงไปสัมผัสจริง ทำจริง ก็จะเห็นคน นอกเหนือจากเห็นคนแล้ว ยังเห็นจิตใจของคน เห็นความรู้สึกนึกคิด เห็นภูมิปัญญาชุมชน เห็นการเรียนรู้ของคน นี่คือ สิ่งที่เกิดจาก Outcome mapping ที่เอาไปใช้

 

คุณฉัตรลดา เล่าประสบการณ์ผู้ร่วมก๊วนด้วยคนค่ะ

  • ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่ได้มีประสบการณ์ใช้กับ อ.ชะนวนทอง แบบว่า งงๆ ก็ช่าง แต่ก็ได้เห็น ได้ประจักษ์ ว่า พอลงไปทำแล้วก็เกิดความชัดเจน เกิดกระบวนการเรียนรู้ ของคนที่เราไปทำด้วยส่วนหนึ่ง ไม่ใช่คนเจ้าของพื้นที่ เจ้าของกระบวนการจริงๆ
  • ในส่วนของคนที่เขาไปใช้ คือ พื้นที่ที่เขาไปถอดบทเรียน และเขาสรุปให้เราฟังว่า พออาจารย์เอาเรื่อง OM ไปให้เขาใช้แล้วนี่ ตอนแรกอย่างที่อาจารย์บอกว่า งง ไม่เข้าใจ ปรับไม่รู้ว่ากี่รอบ
  • ตอนหลังจากนั้นมาคุยกัน อย่างที่บอกว่า ใช้ Appreciative inquiry มาคุยกัน พอเราเอาไปใช้จริงๆ แล้ว ตอนแรกไม่อยากทำ แต่พอเอาไปใช้จริงๆ แล้ว ผลพวงตามมา คือ เขาเกิดการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 อย่างนี้ เขาเกิดการเรียนรู้อะไร ได้เพื่อน ได้สมาชิก ได้ภาคีเข้ามายังไง
  • แล้วอย่างที่อาจารย์เล่า อาจเป็นเพราะเวลาน้อย ตอนที่คิดพันธกิจ วิสัยทัศน์ ที่มาคือ ทำให้ปรับกระบวนการคิดของทีมก่อนว่า ทำงานปกติ จะเปรียบเทียบกับภารกิจของกรมอนามัยตลอดเวลา ว่า ภารกิจของเราไม่ใช่คนที่ไปทำงานในพื้นที่ แต่เป็นคนที่ทำงานในภาคีเครือข่ายมากมาย ตั้งแต่ลูกค้าต้นทาง ระหว่างทาง ปลายทาง กำลังมองเชื่อมกันตรงนี้ส่วนหนึ่ง
  • เพราะฉะนั้นตอนที่พื้นที่เอาตรงนี้ไปใช้ ไม่ใช่เอาคนมารวมตัว แล้วมาคิดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ตรงนี้ไม่ใช่นะคะ จะต้องไปหาข้อมูล พื้นที่ข้อมูล ที่ทำทั้งหมด ก่อนที่จะมาทำ Outcome mapping ไม่ใช่อยู่ๆ เอามาใส่ Framework แค่นั้น ต้องรู้จักข้อมูลทุกอย่างเลย ว่าชุมชนเขามีใครบ้าง บ้านแต่ละหลังนี่เจ้าหน้าที่รู้หมดเลย สมาชิกแต่ละครัวเรือนมีใครบ้าง พ่อแม่พี่น้องเป็นใคร ใครเป็นเครือญาติกับใคร ใครมีส่วนได้ส่วนเสียกับใคร ใครเป็นกลุ่ม stakeholder ใครเป็นกลุ่มด้อยโอกาส เขาจะรู้ทั้งหมด เจ้าหน้าที่
  • เสร็จแล้วก็เอาข้อมูลเหล่านี้ มาประมวล กำหนด ข้อมูล วิสัยทัศน์ ที่เขาจะขับเคลื่อน หรือมุ่งโครงการเป้าเดียวกันกับภาคี หาให้เจอในชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ถึงจะมาเข้ากระบวนการในตรงนี้ ทำให้เขาบอกว่า เขาเกิดการเรียนรู้ว่า จริงๆ แล้วการทำงานไม่ใช่มานั่งคิด หรือวาดฝันขึ้นมาในอากาส ต้องไปร่วมคิด (นี่ถอดจากเจ้าหน้าที่)
  • ถ้าลงไปสัมผัสจริง ทำจริง ก็จะเห็นคน นอกเหนือจากเห็นคนแล้ว ยังเห็นจิตใจของคน เห็นความรู้สึกนึกคิด เห็นภูมิปัญญาชุมชน เห็นการเรียนรู้ของคน นี่คือ สิ่งที่เกิดจาก Outcome mapping ที่เอาไปใช้ ก็ขอแลกเปลี่ยนตรงนี้

อ.อ้อ ร่วมแจมด้วยหน่อยค่ะว่า

  • อันนี้อ้อดูว่าเป็นการประเมินโดยเริ่มตั้งแต่วางแผนเลย ทุกวันนี้ที่เราประเมินกันไม่ค่อยออกมา ผลลัพธ์ ผลกระทบมันเป็นยังไง เราก็ใส่ตรงนี้ไปตั้งแต่วางแผนเลย ว่า มันควรจะได้อะไรออกมา และกำลังมองว่า สมมติว่า โครงการที่ไปทำนี้ มันมีระยะยาวแค่ไหน Outcome mapping นี่เราลงไปครั้งเดียวตั้งแต่ต้น สมมติว่า มัน 5 ปี เราต้องลง ทุก 3 ปี ต้องทำใหม่อีกมั๊ย เพราะว่ามันจะมีตัว partner เข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ

อ.ชะนวนทอง เพิ่มประเด็นให้ว่า

  • ขออนุญาติชี้ประเด็น ... เนื่องจากการทำโครงการทางด้านนี้มันจะยาว ช่วงแรกเรายังไม่เริ่ม Outcome mapping เพราะว่าเรายังไม่รู้ตัวตนเราเลย
  • ช่วงแรกเป็นช่วงปรับตัวเรา เรียนรู้บริบทที่เราจะทำงาน ช่วงนี้สำคัญที่สุด และยากสุด เพราะเราจะยึดติดตัวเรามากเลย ว่าเราเก่ง เราลงไปแล้วเราไปดึงคนนั้นคนนี้ เรายังไม่ได้ไปสร้างความสัมพันธ์ ยังไม่ได้ทำให้เขาเข้าใจเรา เรายังไม่ได้เข้าใจเขาอย่างที่เขาเป็น
  • เพราะฉะนั้น ในโครงการที่เราทำ 3 ปีนี้
  • ปีแรกนี่ คือ เรียนรู้ชุมชน เรียนรู้ภาคี เรียนรู้แต่ละจังหวัด โดยที่เราก็ทำเป็นฐานข้อมูล เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรามีฐานข้อมูลเลยว่า พื้นที่นี้มีใครในพื้นที่อย่างไร แล้วก็เอาฐานข้อมูลนั้นมาทบทวนกันในสำนักงาน ช่วงนี้เป็นช่วงที่เราเริ่มเห็นว่า โครงการที่บอกให้เราทำนี้ ที่เป็นไปได้ในแต่ละพื้นที่จะเป็นอะไร อย่างนั้น น่าจะมีใครเป็นภาคี แล้วก็เริ่มออกไปเรียนรู้ เหมือนกับว่า ไปประเมินดูซิว่า ทุนทางมนุษย์ ทุนทางพื้นที่ สังคมที่แต่ละภาคีมีเป็นอย่างไร จึงจะสามารถเริ่มเอ่ยปากชวนเขาว่า ถ้าจะเดินไปด้วยกัน เป้าจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น Outcome mapping จะเริ่มเมื่อ เรามองเห็น รู้ตัวตน รู้จักเขา และมีความสัมพันธ์ในเชิงเป็นมิตรระดับหนึ่ง ไม่เช่นนั้นเราจะไปทำแบบเราเคยทำ
  • ถามว่า ถ้าเก่งขึ้น อาจจะใช้สัก 6 เดือน หรือ 3 เดือน อาจจะพอได้
  •  แต่ตอนที่เราเดิน เราก็มะงุมมะงาหราพอสมควร ก็ไม่รูเหมือนกันหรือเปล่านะคะ
  •  แต่คิดว่าตรงนี้สำคัญ บอกว่า เรารู้ตัวตนของเรานี่ เราดูจากอะไร เราดูจากว่า เราสามารถทำ Roadmap ได้ บังเอิญ ตอนนั้นเราใช้คำว่า Roadmap นี่ ผู้คนในกระทรวงยุติธรรมรู้กับเราหมดเลย เพราะตอนนั้น นายกคนเก่า
  • แต่ Roadmap มันช่วยทำให้คนนี้พูดคุยกันในเรื่องเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขชอบทำ Mindmap ก็ไม่เป็นไร แต่ Roadmap มันช่วยให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงนี้ จะต่อมั๊ย คุยกันง่ายขึ้น
  • พอ Roadmap เสร็จแล้ว เอาข้อมูลมาดูกัน evidence base แต่เวลาเอาไปคุยกับชาวบ้าน เทคนิคการไปคัยกับชาวบ้านนี่ 1) ต้องได้ใจเขาก่อน 2) ไปดูซิว่าแผนชุมชนเขาเป็นอย่างไร และถ้าแผนชุมชนเขามันหน้าตาคล้ายๆ กับเรา นั่นคือ ไม่เขียนคนละตัวแน่ค่ะ แสดงว่า อันนี้ภาคีง่ายมาก แต่ถ้าแผนชุมชนเขาคนละเรื่องกับเรา เราก็ต้องเพิ่มแบบเรา
  • ดังนั้น พอจะไปชวนเขาได้นี่ละค่ะ รู้เขารู้เราพอสมควร และเราก็เรียนรู้ว่า เราจะไม่เปลี่ยนเขาให้เป็นเรา เราเปลี่ยนเราเป็นเขาง่ายกว่าค่ะ นี่บทเรียนสำคัญจาก Outcome mapping เลยค่ะ

คุณวิมล เสริมท้ายสุดว่า

  • และภาคีนี้เปลี่ยนได้ค่ะ
  • เพราะเราเดินไปหาภาคี แล้วเราก็คิดว่าใช่ และเราก็จะไปจับมือ จะไปทำด้วยกันแล้ว แต่ปรากฎว่า ไม่ใช่ ก็ต้องถอยกลับ
  • และที่กรอกไว้ตามแบบแผนนะคะ ดร.มุกดา เก็บได้ประมาณเกือบ 10 แฟ้ม เยอะมาก เพราะเปลี่ยนตลอด ทำไปปรับไป
  • ก็ได้เห็นผลชัดก็คือ มันมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในส่วนภาคีที่มาทำกับเราจริงๆ ทั้งในเชิงที่เป็นวิชาการ และนิสัยส่วนตัวก็เปลี่ยน ตัวทีมงานเองที่ไปเรียนรู้ด้วยกันก็เกิดเห็นการเปลี่ยนแปลง ที่ชัด ... เขาเรียก ความสัมพันธ์ดีขึ้น

นี่คือ ช่วงของการ ลปรร. ของ Outcome mapping ก็สุดสิ้น ณ บันทึกนี้ละค่ะ

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 126375เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท