ดูงานมหาวิทยาลัยชิกะ ชมเมืองเชียงใหม่แห่งญี่ปุ่น


เราถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยชิกะให้เกียรติเชิญเราไปร่วมงานเลี้ยงภายในของเขา

  (ต่อจากตอนที่แล้ว) 

 

ศึกษาดูงาน

มหาวิทยาลัยชิกะ

    —————————————–                                                                      เราออกเดินทางไปยังเมืองอัตสึ (Otsu) เพื่อไปศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยชิกะ ซึ่งมีโครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  เราไปถึงตอนบ่ายแก่ๆ จึงมีเวลาไปชมวัดสำคัญของเมืองอัตสึ นั่นคือ วัดอิชิยามา  การไปชมวัดอิชิยามา เราจะไปโดยรถเมล์ระบบหยอดเหรียญ ค่าโดยสาร <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คนละ 220 เยน (75 บาท) รถวิ่งเพียงสองป้าย ใช้เวลา 5 นาที ก็ถึงแล้ว  ความจริงถ้าจะเดินไปก็ไม่ไกลมากนัก แต่ที่ขึ้นรถก็เพื่อความสบายและเป็นประสบการณ์ วัด Ishiyama เดิมเรียกว่า Setsu Kouzan ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ Seta  ทางตอนใต้ของเมือง Otsu  วัดแห่งนี้ตั้งบนเนินเขาลูกหนึ่งชื่อ Garan  เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในช่วงยุคนาราเป็นเมืองหลวง  โดยถูกค้นพบเมื่อ 1,250 ปีมาแล้ว  สิ่งที่น่าสนใจเริ่มที่ประตูทางเข้าที่เรียกว่า ประตูแห่งภูเขา (Todaimon)  สร้างเมื่อ 750 ปีมาแล้ว ริมประตูทั้งสองด้านมีรูปแกะสลักยืน ตนหนึ่งคือ โอ  อีกตนหนึ่งคือ อม  รวมกันแล้วออกเสียงเป็น  โอม  คล้ายคำเริ่มร่ายมนต์  ในภาษาญี่ปุ่นเรียก Tankei  และ  Unkei </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>                 เมื่อผ่านประตูวัดเข้ามาและขึ้นบันไดไปบนเนินเขาจะพบหอพระ Tahoto ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 750 ปีมาแล้ว และถือว่าเป็นหอพระที่เก่าแก่ที่สุดและสวยงามที่สุดในญี่ปุ่น </p><p> </p>ทางการได้นำรูปหอพระนี้ไปพิมพ์บนแสตมป์ด้วย ภายในหอพระเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป Dainichi  เมื่อเดินขึ้นไปบนเนินอีกชั้นหนึ่ง จะพบวิหารใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดชิกะ สร้างขึ้นเมื่อ 850 ปีที่แล้ว ในยุค ฟูจิวะระ  ภายในวิหารมีพระพุทธรูปสำหรับสักการะบูชาและเสี่ยงทาย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภายในวิหารยังมีห้องสำคัญห้องหนึ่ง เรียกว่า “The Room of Genji” ซึ่งเป็นคำพูดของกวีหญิง Murasaki  ผู้ที่เขียนเรื่อง The Tale of Genji ในห้องนี้ในคืนพระจันทร์เต็มดวงเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1004 หรือ พันปีมาแล้ว  เสียดายที่ผู้เขียนไม่มีความรู้ในวรรณกรรมเรื่องนี้  คงต้องหาโอกาสศึกษาค้นคว้าบ้าง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

           

   

         บริเวณวัดอิชิยามานี้มีบรรยากาศเป็นธรรมชาติมาก มีทั้งป่าไม้ธรรมชาติและสวนดอกไม้ ที่ปลูกเรียงรายทั่วไป ทั้งดอกซากุระ ดอกบ๊วย  ดอกท้อ  เสียดายที่ยังไม่ถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกไม้ยังบานสะพรั่งไม่มากนัก โดยเฉพาะดอกซากุระที่พวกเราอยากเห็น ยังไม่ออกดอกเลย  

                  บริเวณจุดชมวิวบนวัดก็มีหลายจุด โดยเฉพาะจุดที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมือง Otsu ที่ตั้งอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ Sata และไกลออกไปจนสุดสายตาก็จะเห็นทะเลสาบบิวา (Biwa Lake) อันกว้างใหญ่ไพศาล

   

                    เมือง Otsu  เป็นเมืองที่มีความสวยงามน่าอยู่มาก มีลักษณะคล้ายคลึงกับเชียงใหม่ เพียงแต่เชียงใหม่ไม่มีทะเลสาบอันกว้างใหญ่ใกล้เมืองแบบนี้  ทะเลสาบบิวา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่กว้างใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น สามารถผลิตน้ำจืดหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 30 ล้านคน ที่อยู่ในส่วนคันไซ (เกาะทางตะวันตก)   ในช่วงฤดูร้อน ชาวเมืองนิยมมาพักผ่อนบนหาดทรายริมทะเลสาบ บ้างก็ว่ายน้ำ หรือเล่นกีฬาทางน้ำแบบเดียวกับชายทะเลทั่วๆ ไป

                      เมื่อเสร็จจากเที่ยวชมอิจิยามาแล้วก็เข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัยชิกะ ซึ่งได้ต้อนรับและเชิญไปรับประทานอาหารค่ำในงานเลี้ยงอำลาอาจารย์ผู้เกษียณอายุราชการที่โรงแรมบิวาโกะ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ถือเป็นการเลี้ยงต้อนรับอาจารย์ทุกท่านอย่างเป็นทางการ   พวกเราถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยชิกะให้เกียรติเชิญเราไปร่วมงานเลี้ยงสำคัญภายในของเขา </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                         โรงแรมบิวาโกะ เป็นโรงแรมที่หรูหราใหญ่โตริมทะเลสาบบิวาที่สวยงามบรรยากาศโรงแรมดีมาก มองจากระเบียงกระจกของห้องจัดเลี้ยงชั้นบนสุด จะเห็นทิวทัศน์ของทะเลสาบที่สวยงามมาก โดยเฉพาะทะเลสาบด้านหน้าโรงแรมจะมีน้ำพุพวยพุ่งเป็นสายโค้ง ยามค่ำเขาจะเปิดไฟสีประดับไว้ดูน่าตื่นตาตื่นใจดี ทราบมาว่า ใครที่ไม่ค่อยมีสตางค์อย่างผู้เขียนนี้อยากมาพักโรงแรมหรูริมทะเลสาบที่นี่ต้องคิดกันหนักหน่อย คืนหนึ่งอาจต้องใช้เงินเดือนทั้งเดือนพักได้สักคืนสองคืนกระมัง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>                        งานเลี้ยงอำลาอาลัยอาจารย์ผู้เกษียณอายุราชการของมหาวิทยาลัยชิกะดูหรูหราเหมาะสมกับสถานที่และบรรยากาศมาก เพราะเขาจัดอาหารแบบธรรมเนียมตะวันตก  เมนูอาหารแบบฝรั่งเศส 8 อย่าง ถูกเสริฟทีละอย่างพร้อมเครื่องดื่มให้กับแขกถูกต้องตามธรรมเนียม เช่นเสริฟปลา ก็ต้องเสริฟไวน์ขาวควบคู่กันไป  อุปกรณ์ช้อน ส้อม มีด และแก้วรูปทรงและขนาดต่างๆ ถูกจัดวางเต็มโต๊ะ  เราต้องเลือกใช้ให้ถูกชนิดอาหาร ผู้เขียนก็ชักลืมๆ ไปหมดแล้วว่าอะไรใช้กับอะไร ไม่ได้ถามอาจารย์วรพล จากโปรแกรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมาเสียด้วย ก็ได้แต่ชำเลืองมองชาวบ้าน เอ๊ย ไม่ใช่ ที่จริงเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยซึ่งได้รับเชิญมาและในบัตรเชิญจะระบุไว้ชัดเจนว่าใครนั่งโต๊ะไหน โต๊ะหนึ่งมีราว 10 คน สำหรับพวกเราก็ถูกจับแยกนั่งกระจายกันไปเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสสนทนาทำความรู้จักกับอาจารย์ของเขา  ผู้เขียนกับผู้นำนักศึกษาภาคพิเศษได้นั่งร่วมโต๊ะกับท่านรองอธิการบดี และอาจารย์อีก  8  ท่าน และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกันอย่างออกรสออกชาติเพราะภาษาอังกฤษของเราไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร แต่ก็พอเอาตัวรอดได้ตลอดงานเลี้ยงเหมือนกัน โดยเฉพาะได้พูดคุยกับอาจารย์ไซโตะมากเป็นพิเศษเนื่องจากนั่งใกล้กัน และท่านเองก็ไม่เคยมาเที่ยวเชียงใหม่เลย แต่เคยได้ยินได้ฟังและเห็นทางอินเทอร์เน็ตบ้างก็ทราบว่าเชียงใหม่สวยงามมาก ถ้ามีโอกาสท่านจะไปเชียงใหม่แน่นอน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">งานเลี้ยงดำเนินไปอย่างเรียบง่าย พิธีเปิดก็เพียงแต่เชิญอธิการบดีขึ้นไปกล่าวเปิดงาน กล่าวแสดงมุทิตาจิตแด่อาจารย์ผู้เกษียณอายุ 3 ท่าน (มหาวิทยาลัยชิกะเกษียณอายุราชการ เมื่อครบ 65 ปี)  และเชิญชวนดื่มแชมเปญต้อนรับทุกคน รวมทั้งต้อนรับพวกเราด้วยจากนั้นกล่าวเปิดงาน  อาหารเริ่มเสริฟ  ไม่นานนักพิธีกรก็กล่าวเชิญอาจารย์ผู้เกษียณแต่ละท่านกล่าวแสดงความรู้สึกความผูกพันที่มีต่อมหาวิทยาลัย บางท่านก็ร้องเพลงประกอบด้วย  อาจารย์ไซโตะช่วยเป็นล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ฟังว่าแต่ละท่านพูดถึงอะไรบ้างพอสังเขป </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

                      เรื่องการเกษียณอายุราชการที่อายุ 65 ปี ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์สูง ไว้ให้นานที่สุด ซึ่งก็ต้องพิจารณาถึงสุขภาพด้วย ที่ประเทศญี่ปุ่นปัญหาขาดแคลนประชากรเด็กเริ่มรุนแรงขึ้น รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหานี้เพื่อไม่ให้สัดส่วนประชากรแตกต่างกันมากเพราะจะเกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะการพัฒนาประเทศในอนาคต  มหาวิทยาลัยชิกะมีลักษณะคล้ายกับมหาวิทยาลัยของเราอย่างหนึ่ง นั่นคืออาจารย์ส่วนใหญ่ล้วนอยู่ในวัยสูงอายุ  อาจารย์วัยหนุ่มสาวมีน้อยมาก และคงจะเกิดปัญหาเมื่ออาจารย์ส่วนใหญ่นั้นเกษียณอายุราชการไป อาจารย์วัยหนุ่มวัยสาวที่มาใหม่ๆ ยังไม่มีประสบการณ์หรือการสั่งสมความรู้ยังไม่มากนัก ก็อาจมีปัญหาในการทำงานเพราะขาดคำชี้แนะ  ถึงตรงนี้ผู้เขียนก็เห็นด้วยกับอาจารย์ไซโตะ และมองเห็นภาพชัดเจนมากที่มหาวิทยาลัยของเรา ใน 5 ปี ข้างหน้านี้จะมีอาจารย์เกษียณอายุราชการไปเป็นจำนวนมาก อาจารย์และบุคลากรที่มาทดแทนอาจเชื่อมรอยต่อได้ไม่สนิทนัก เรื่องนี้ต้องฝากผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ได้ช่วยกันคิด วางแผนแก้ปัญหาให้ทันท่วงที และคงต้องถือเป็นเรื่องจริงจัง ด้วย  ไม่ใช่แค่หาบุคลากรมาทดแทนเท่านั้น แต่อาจารย์และบุคลากรวัยหนุ่มสาวที่ทำงานอยู่ในขณะนี้ มหาวิทยาลัยต้องให้โอกาสเขาได้ทำงานเพิ่มพูนประสบการณ์ให้มากขึ้น ต้องใช้เงินในการพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย  ให้โอกาสไปศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างประเทศ   และฝึกฝนทักษะการทำงาน สร้างเสริมประสบการณ์อย่างเต็มที่ จะใช้เวลาช่วงวันหยุด   ปิดภาคเรียน  หรือช่วงที่คิดว่าเหมาะสมก็ได้ทั้งนั้น  ที่สำคัญไม่ควรวางระเบียบอะไรที่ทำให้ติดขัดจนอาจารย์ไม่อยากจะพัฒนาตัวเอง   เพราะไม่เช่นนั้นมหาวิทยาลัยจะสูญเสียโอกาสอันดีในการพัฒนามหาวิทยาลัย  

 

 

                   ยกตัวอย่างตัวผู้เขียนเอง ก่อนหน้านี้ประมาณ 6 - 7  ปี ผู้เขียนได้รับความไว้วางใจ และโอกาสจากผู้บริหารให้ได้ไปสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งทำให้ผู้เขียนพัฒนาความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างประเทศ จนบัดนี้ก็สามารถทำงานสนองคุณแก่มหาวิทยาลัยได้จนถึงทุกวันนี้ ทุกๆ ปี มีนักศึกษาชาวต่างประเทศมาเรียนมาอบรมภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจารย์ผู้ใหญ่ก็ได้ฝึกฝนอบรมชี้แนะผู้เขียนในด้านนี้มาโดยตลอด ทำให้สามารถเชื่อมต่อโครงการสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศให้ยาวนานได้ต่อไป

                     งานเลี้ยงเลิกแล้ว เขาจัดได้กระชับ เรียบง่าย แต่หรูหราและน่าประทับใจก่อนกลับบ้านมหาวิทยาลัยยังแจกของเป็นที่ระลึกติดมือกลับไปบ้านด้วยทุกคน

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                     รุ่งเช้า  อัตสึชุ่มฉ่ำด้วยฝนที่โปรยปรายต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางคืน พร้อมกับความหนาวเย็นที่ดูจะหนาวขึ้นกว่าเมื่อวาน  อาจารย์มาสะ  อาจารย์ศศิพินต์ และอาจารย์ชไมมนก็มารับพวกเราไปรับประทานอาหารที่ห้องอาหารของมหาวิทยาลัย เสร็จแล้วก็พาไปยังอาคารอำนวยการเพื่อฟังคำบรรยายสรุปและศึกษาดูงานตามหน่วยงานต่างๆ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            การศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนภาษาเริ่มต้นที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพราะอยู่ในบริเวณอาคารเดียวกัน  ห้องสมุดที่วิทยาเขตแห่งนี้ค่อนข้างเล็ก เพราะให้บริการนักศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์เป็นหลัก แต่จำนวนหนังสือก็มีถึง 2 แสนเล่มซึ่งก็ไม่น้อยเหมือนกัน  หนังสือที่นี่ใช้ระบบบาร์โค๊ดทั้งหมด การยืม-คืนใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ทำงานทั้งหมดเพียง 5 คน เพราะส่วนบริการต่างๆ จะให้นักศึกษาบริการตัวเอง เช่น ที่ห้องบริการคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต มีทั้งหมด 8 เครื่อง เมื่อต้องการพิมพ์เอกสารทางเครื่องปริ๊นเตอร์ ก็สามารถทำได้โดยใช้ระบบหยอดเหรียญ รวมถึงเครื่องถ่ายเอกสาร ก็เป็นระบบหยอดเหรียญเช่นเดียวกัน  นอกจากนี้ยังมีบริการเครื่องเล่น VCD DVD อีกด้วย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                    ห้องสมุดที่นี่ดูสะอาด ทันสมัย แต่ที่ชอบมากที่สุด คือ  มีชั้นหนังสือที่นักศึกษาของเขาไปศึกษาอบรมที่ประเทศไหน เขาก็เอาตำรับตำราที่ได้จากการเรียนมาบริจาคให้ห้องสมุดเพื่อเป็นวิทยาทานแก่รุ่นน้อง เขาจัดเป็นประเทศๆ น่ารักมาก ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเราน่าจะนำความคิดอย่างนี้มาปรับใช้บ้างก็ดี  ชั้นหนังสือที่อาจารย์เราชอบมากที่สุดก็เห็นจะเป็นชั้นหนังสือเด็ก ที่มีหนังสืออ่านสำหรับเด็กมากมาย น่าสนใจทั้งสิ้น คงจะเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับสาขาวิชาที่เกี่ยวกับ Chiled Study  ซึ่งในบ้านเมืองของเราดูจะยังขาดแคลนหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชนค่อนข้างมาก  ถ้าห้องสมุดของเราจะรวบรวมหนังสือสำหรับเด็กไว้เป็นหมวดหมู่หนึ่งก็น่าจะดีไม่น้อย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                    เสร็จจากการดูห้องสมุด อาจารย์มาสะและซูกิเอะ ก็พาพวกเราไปที่ห้องฝึกการเขียนอักษรคันจิด้วยพู่กัน  โดยอาจารย์นากามูระ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการสอนอักษรคันจิเป็นผู้บรรยาย ซึ่งท่านจะให้พวกเราฝึกเขียนจริงๆ ด้วย</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                   อาจารย์นากามูระอธิบายว่า อักษรคันจิ เป็นอักษรที่มีรากฐานมาจากอักษรภาษาจีน ซึ่งเขียนได้ยาก อ่านก็ยาก ปัจจุบันเยาวชนคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นค่อนข้างจะไม่สนใจเรียนเขียนอ่านกันสักเท่าไร  อักษรภาษาญี่ปุ่นที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันนั้นไม่ใช้อักษรคันจิ แต่จะใช้อักษรที่เรียกว่า อักษรฮานากาตะ ซึ่งมีอิทธิพลในชีวิตประจำวันมากกว่า  อาจารย์นากามูระอธิบายวิธีการจับพู่กัน การจุ่มหมึก และการนั่งเขียนในท่าที่ถูกต้อง ตลอดจนอธิบายลักษณะตัวอักษรคันจิที่ถูกต้องสวยงามด้วย ดูท่าทางลูกศิษย์ชาวไทยทุกคนจะตั้งอกตั้งใจกันเต็มที่ จากนั้นก็ลองให้เราฝึกทดลองเขียนบนกระดาษเป็นคำๆ โดยให้นักศึกษาญี่ปุ่นนั่งประกบพวกเราหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อให้คำแนะนำ  ฝึกเขียนไปก็ชมกันไป เสียงกู๊ดๆ ดังเป็นระยะๆ จนสำเร็จออกมาโชว์จนได้</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>                    จากห้องฝึกเขียนคันจิ เราไปดูห้องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอนซึ่งเป็นห้องขนาดเล็ก มีประมาณ 30 เครื่อง ทั้งหมดเช่ามาจากบริษัท ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่บริษัทมาดูแล <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ซ่อมแซมให้ หมดอายุการใช้งานก็เปลี่ยนใหม่ ซึ่งแนวคิดนี้น่าจะดีมาก เพราะไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณเพื่อไล่ตามเทคโนโลยี่ เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นนั้นพัฒนาไปเร็วมาก   จากนั้นเราไปดูห้องปฏิบัติการทางภาษา เพื่อใช้ในการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ (ถ้ามี Solfwere)  ซึ่งห้องหับเครื่องมือของเขาดูทันสมัย จำนวนก็เพียงพอต่อการใช้ในการเรียนการสอน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>                 เราสิ้นสุดการดูงานเที่ยงพอดี จากนั้นก็เป็นการไปชมสถานที่ต่างๆ ในเมืองอัตสึต่อไป  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"> </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">(ยังมีต่อ)</p></span>

หมายเลขบันทึก: 126374เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2007 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
หนูเคยอ่านเรื่อง Genji นิดหน่อยเมื่อนานมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจำผิดหรือเปล่า มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Genji ที่เป็นเจ้าชายนักรัก playboy ในยุคนั้น ชื่อเรื่องที่อ่านคือ Gengimonogatari ประมาณว่า ตำนานรักเกนจิ ยังงงว่าเป็นเรื่องเดียวกับ The Tale of Genji ที่อาจารย์พูดถึงหรือเปล่า เลยลองไป search หาดูเจออันนี้ค่ะ http://www.taleofgenji.org/ 
 สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ขี้เกียจอ่านตอนนี้ เดี๋ยวไว้ค่อยไปลองอ่านดูค่ะ 

อาหารฝรั่งเศสที่อาจารย์เล่านี่ 8 อย่างเลยหรือคะ หนูเคยกินเต็มที่ 7 ก็ว่า Full course แล้ว นั่งกินกันจนจะหลับไปข้างนึง กินตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 5 ทุ่มครึ่ง หัวจะทิ่มลงจานชีสสุดท้าย คนฝรั่งเศสนี่เขากินข้าวกันนานมากจริงๆ โดยเฉพาะมื้อเย็น มื้อเช้าง่ายๆ กลางวันก็ดีขึ้นมาหน่อย มากินล้างแค้นกันตอนเย็นนี่เอง ญี่ปุ่นก็ได้รับวัฒนธรรมอาหารจากฝรั่งเศสมาเยอะทีเดียว เห็นได้ชัดในขนมและการตั้งชื่อร้านอาหาร

คุณ Little Jazz

         ผมไม่มีความรู้เรื่องนี้ แต่ที่คุณ serch มาให้อ่านนี้ ใช่ครับ คลิกไปที่ อิชิยามา ก็จะเป็นที่นี่ครับ ที่กวีหญิงผู้นี้รำพันไว้ ผมก็จะค่อยๆ อ่านต่อไปครับ เรื่องภาษาอังกฤษกับผมนี่ต้องค่อยๆ เจรจากันไปเรื่อยๆ ครับ  "ใช้เวลาสักนิด ชีวิตจะเข้าใจ"

         ขอบคุณมากครับที่คุณ Little Jazz นำอะไรดีๆ มาให้ ขอเยลให้เลย

  • อาจารย์ขา...ตามมาดูซากุระคะ
  • สวยจังคะ..ตอนที่ไปญี่ปุ่นปีที่แล้วไม่ใช่ช่วงซากุระคะ..เลยไม่เห็นดอก..แต่ได้ไปดูซากุระที่ออสเตรเลียแทนคะ...มีดอกช่วงต้นเดือนกันยาคะ...และมีแค่ 2 อาทิตย์เหมือนกัน...มีเยอะพอๆกันคะ

คุณ naree suwan ครับ

         ซากุระ คือจิตวิญญาณหนึ่งของชาวญี่ปุ่น ผมเห็นแล้วก็ประทับใจมากครับ ขนาดเราคนไทยยังเป็นปลื้ม ถ้าเป็นชาวญี่ปุ่นเขาจะปลื้มขนาดไหน  ก็เหมือนกับดอกบัวที่ผูกพันชีวิตเรากับพระพุทธศาสนาไว้ด้วยกันนั่นเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท