ร้านค้าสหกรณ์ตลาดนัดเมตตา


ความหวังใหม่สู่ความพอเพียง.....ของชุมชนเคหะบางพลี

ตลานัดเมตตา

ความเป็นมา 

ภาวะความเจริญทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  มีผลกระทบต่อชุมชนและสังคมเป็นอย่างมากซึ่งทำให้เกิดช่องว่างระหว่างชนชั้นอย่างเห็นได้ชัด  ทั้งรายได้  และฐานะความเป็นอยู่  เพียงขีดขึ้นแค่ถนนบางนาตราดกับซอกซอยของ  ชุมชนเคหะบางพลีที่มีบิดา มารดา  หาเช้ากินค่ำ  และค่ำบางวันก็ไม่ได้กิน  จำนวนนักเรียนที่มากขึ้นในชุมชนแออัด  และแฟลตการเคหะ การแต่งกาย  สิ่งของเครื่องใช้ทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็นบ่งบอกถึงสภาวะการใช้จ่ายของ  นักเรียน  อีกทั้งรอบรั้วโรงเรียนเคหะบางพลีล้อมด้วยตลาดนัดที่ผลัดเปลี่ยนแม่ค้าขายรายวัน  มีการค้าขายสินค้าสิ่งของทุกอย่างสารพัดตลอดกาล    นักเรียนของเราก็อยากได้อยากมีของทุกอย่างที่มีขายในตลาด  ซื้อได้บ้าง  ไม่ได้บ้างและโดยทั่วไปทุกคนก็มีและหามาจนได้  นักเรียนและครอบครัวของนักเรียนอยู่ในภาวะใช้จ่ายเกินจำเป็น  แม้โรงเรียนจะมี       กิจกรรมออมทรัพย์  นักเรียนไม่มีเงินพอออม  กิจกรรมส่งเสริมการทำบัญชี  การวางแผนการใช้เงิน  เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ประโยชน์  และช่วยทางบ้านยามจำเป็น  ผลปรากฏว่านักเรียนมีเงินออมน้อยด้วยยังไม่มีรายได้ของตนเอง  อีกทั้งสิ่งแวดล้อมของภาวะเศรษฐกิจ  เสรีทางการบริโภคของชุมชนอยู่ในลักษณะฟุ้งเฟ้อ  ฟุ่มเฟือยประกอบทั้งเพื่อนบ้านใกล้เคียงฝาบ้านเดียวในชุมชนแออัดกัน อวดร่ำ อวดรวย  มีหนีสินทั่วหน้าเพื่อเครื่องเทคโนโลยีทันสมัยดำเนินการผ่อนส่งสารพัด  และจะต้องให้ลูกมีทุกอย่างไม่ได้น้อยหน้า  ชาวบ้าน  เป็นค่านิยมที่ผิด  ซึ่งมองไม่เห็นวิถีสู่ความพอเพียงในชุมชน

          แม้กระทั่งทุกๆ เช้าตั้งแต่ทางเข้าประตูโรงเรียน  จะเห็นนักเรียนมุงหน้าร้านขายของด้านหน้าโรงเรียนกันอย่างแน่นขนัด  นักเรียนจะซื้อของฟุ่มเฟือยทุกอย่างก่อนมาถึงโรงเรียน  ซื้อตั้งแต่ร้านใกล้บ้านมาถึงหน้าประตูโรงเรียน  นักเรียนและครอบครัวของ   นักเรียนอยู่ในภาวะเป็นนักบริโภคนิยมเกินพอดี  ซื้อของใช้  ของเล่น  สิ่งต่างๆ ตามความอยากได้ อยากมี ไม่รู้ใช้ รู้จ่าย ไม่รู้ค่าของเงิน  ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจครอบครัวหนี้สินล้นพ้นตัว  เป็นเหตุของปัญหาครอบครัว  ปัญหาอาชญากรรม  ปัญหาสังคมต่างๆ อีกมากมาย  ซึ่งสวนกระแสนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา  โดยยึดหลัก      คุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจ     พอเพียง  ที่ต้องการคนโดยใช้ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว  ชุมชน  สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา  เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี  มีความรู้และอยู่ดีมีสุข 

      สถานการณ์ปัญหาของนักเรียนชุมชนเคหะบางพลีกับ 8   คุณธรรมพื้นฐาน(ขยัน ประหยัด  ซื่อสัตย์  มีวินัย  สุภาพ  สะอาด  สามัคคี  มีน้ำใจ)นับเป็นภาวะเร่งด่วน  อีกทั้งความต้องการจำเป็นในการดูแลช่วยเหลือ     นักเรียนครอบครัว  สังคม  ชุมชนซึ่งโรงเรียนเคหะบางพลีจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนาการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเร่งด่วน  แม้กระทั่งสภาพปัญหาความยากจน  ปัญหาการใช้จ่ายเกินจำเป็น  ปัญหาเศรษฐกิจ  ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนแออัด  ส่งผลให้นักเรียนของเรามีลักษณะในการส่งเสริมพัฒนา 8 คุณธรรมอย่างค่อนข้างเป็นไปได้ยากและเป็นภาระที่หนัก  จะมองเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ยาก  นี่คือปัญหาที่ท้าทายของการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาแห่งนี้

ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนได้ออกเยี่ยมบ้านเด็กๆ ดูสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว  ประจักษ์แก่ใจดีว่าลูกศิษย์ของเรายากจนใช้เงิน      สุรุย สุร่าย  ใช้จ่ายเกินจำเป็น  ครอบครัวมีหนี้สิน  ในบ้านและรอบบ้านมีการโจรกรรม  ขโมยกันเองรายวัน  ทุกครอบครัวมีของใช้เหลือเกินความจำเป็น  หลายสิ่งหลายอย่างทั้งวางไว้จนลืมว่ามีและไม่ได้ใช้เลย  เมื่อครูสอนให้ประหยัด  รู้จักเก็บออมเงินร่วมกับกิจกรรมออมทรัพย์ของโรงเรียนสอนให้นักเรียนวางแผนการใช้เงิน  ทำบัญชีการใช้จ่าย  แต่ผลก็ปรากฏเป็นรูปธรรมในการเก็บเงิน การรู้คุณค่าและรู้วางแผนการใช้จ่าย  นักเรียนไม่ค่อยอยากทำบัญชีรายรับรายจ่าย  ด้วยไม่มีรายได้อื่นใดนอกจากที่    ผู้ปกครองให้ไว้ใช้ประจำวัน  แม้จะพยายามเก็บออมดีขึ้นบ้าง แต่นักเรียนก็ไม่มีรายได้เก็บออมอย่างภาคภูมิใจ  ปรากฏว่านักเรียนที่มีเงินเก็บออมได้มากคือ นักเรียนที่พ่อแม่ให้เงินมาฝากออม  ดังนั้นนักเรียนควรได้รับการฝึกหัดสร้างรายได้ของตนและตระหนักรู้คุณค่าของเงิน มากกว่าที่เป็นอยู่นี้ร้านค้า  สหกรณ์ตลาดนัดเมตตา   สิ่งของต่างๆ ที่นักเรียนมีอยู่ที่บ้านโดยใช้ประโยชน์คุ้มค่าบ้าง บางอย่างแทบไม่เคยได้ใช้เลย  ในขณะเดียวกันก็มีหลายคนต้องการใช้ไปหาซื้อสิ่งของนั้น ๆ เช่นกัน  ดังนั้นโรงเรียนควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนอย่างสมดุลย์แนวทางดำเนินการตลาดนัดเมตตาจากภาวะเศรษฐกิจปัญหาความจำเป็นของชุมชนการหล่อหลอมสังคมชุมชนให้มีการอุ้มชูดูแลแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้อย่างเมตตาขึ้นในโรงเรียน โดยให้นักเรียน สำรวจสิ่งของเหลือใช้ในบ้านของตนเองออกมา  จัดร้านร่วมในตลาดนัดเมตตาของโรงเรียน  โดยการซื้อขายแลกเปลี่ยน    สิ่งของในราคามีเมตตาหวังดีต่อกันให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันใช้  นักเรียนจะได้มีรายได้ของตนเอง  และได้เลือกซื้อของที่ต้นต้องการใช้ในราคาต่ำกว่าทุนมากๆ  จากการจัดตลาดนัดเมตตาในโรงเรียนหลายๆ ครั้ง  ปรากฏว่าการที่นักเรียนมีร้านค้าเป็นกิจกรรมสร้างรายได้ของตน  มีการทำบัญชีร้านค้าทุกครั้งที่จัดตลาดนัดเมตตาร้านค้าของนักเรียนจะเนืองแน่นเต็มไปด้วยลูกค้าและพ่อค้าแม่ค้านักธุรกิจตัวน้อยเต็ม   โรงเรียนเคหะบางพลี  โดยมีหลักการร่วมกันในการจัดร้านของนักเรียน  คือ1.ให้จัดจำหน่ายสินค้าราคาต่ำกว่าทุน  และเหมาะสมกับสภาพ   สินค้าในราคาเมตตาหวังดีต่อกัน          2.สิ่งของสินค้าที่นำมาจัดจำหน่ายต้องเป็นสิ่งของภายในบ้านของ  นักเรียนที่มีมากเกินความจำเป็น  ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว  และต้องการนำมาจัดจำหน่ายแลกเปลี่ยนกันใช้ด้วยน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดนั่นคือ  กิจกรรมตลาดนัดเมตตาเป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมจากสมาชิกทุกคนของโรงเรียน  จนกระทั่งจัดตั้งเป็น ร้านค้าสหกรณ์ตลาดนัดเมตตา โดยนักเรียนสมัครเป็นสมาชิกขึ้น ทะเบียนเป็นเจ้าของกิจการร้านค้าสหกรณ์ตลาดนัดเมตตาโรงเรียนเคหะบางพลี โดยมีวัตถุประสงค์          1.จัดจำหน่ายสินค้าราคาต่ำกว่าทุน          2.สิ่งของสินค้าที่นำมาจำหน่ายต้องเป็นสิ่งของภายในบ้านของสมาชิกที่มีมากเกินความจำเป็น และต้องการนำมาจัดจำหน่ายในราคาเมตตาหวังดีต่อกัน          3.รายได้ที่สมาชิกได้จากการจำหน่าย ต้องจัดทำบัญชีแสดงต่อทาง สหกรณ์ตลาดนัดเมตตาฯ

          4.สมาชิกมีสิทธิ์แสดงความประสงค์ของความช่วยเหลือ  เพื่อให้ สหกรณ์ตลาดนัดเมตตาช่วยร่วมดูแลแก้ปัญหาของร้านค้าสมาชิกสหกรณ์ได้

    ในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสสร้างรายได้ให้แก่นักเรียนทุกคนที่ประสงค์จะมีรายได้เป็นเงินออมของตนเอง  และนักเรียนที่ต้องการมีร้านค้าจัดจำหน่ายร่วมในตลาดนัดเมตตา  แต่ไม่มีสินค้าเป็นทุนหรือมีน้อย  ก็ให้โอกาสยื่นคำร้องแสดงความประสงค์ขอยืมสินค้าจากฝ่ายส่งเสริมการลงทุนของสหกรณ์  ไปใช้จัดรายการร่วมกับตลาดนัดเมตตา  โดยนักเรียนจะได้เปอร์เซนต์จากการจำหน่ายสินค้า ในระหว่างร้อยละ 10-20 บาท  จากรายได้ของการจำหน่ายสินค้า โดยทางสหกรณ์ได้รับความร่วมมือในการบริจาคสิ่งของต่างๆ จากบุคคลหน่วยงานและสถาบันศาสนา  เพื่อดำเนินการส่งเสริมและอุ้มชูดูแลตามภาวะครอบครัวของนักเรียน  และการลงทุนสร้าง  รายได้ให้แก่  นักเรียนและมาถึงบัดนี้จากตลาดนัดเมตตาที่ได้รับความนิยมด้วยสอดคล้องความต้องการจำเป็นของนักเรียน ครอบครัว ชุมชน พัฒนาสู่กิจกรรมจากความร่วมมือ ร่วมใจของนักเรียนในรูปแบบร้าน ซึ่งนอกจากนักเรียนจะได้จำหน่ายและเลือกซื้อสิ่งของสินค้าในราคาเมตตาหวังดีต่อกันแล้ว ทุกร้านค้าสหกรณ์  สมาชิกเจ้าของร้านจะไม่มีคำว่าขาดทุน เพราะสินค้าเป็นของเหลือใช้ที่นักเรียนมีอยู่แล้ว  สร้างนิสัยรู้ค่าของสิ่งของและการประหยัดได้อย่างเต็มคุณภาพนักเรียนขยันที่จะจัดและพัฒนากิจการร้านค้าของตนและสนุกกับการทำบัญชีร้านค้าที่สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง   นักเรียนมีความซื่อตรงต่อลูกค้าและซื่อสัตย์ในการปฏิบัติภาระกิจหน้าที่ได้ รับมอบหมาย  มีวาจาสุภาพมารยาท อัชยาศัยไมตรีแก่ผู้ตนเอง พบเจอเมื่อต้องติดต่อการค้าด้วยกันและนักเรียนสามารถปฏิบัติตาม      กฎระเบียบของสหกรณ์ตลาดนัดเมตตาตามที่กำหนด นับว่าเป็นการสร้างวินัยทางสังคมแก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี  ประการสำคัญคือนักเรียนรู้และประจักษ์ในคุณค่าของความสามัคคี เสียสละ มีน้ำใจเมตตาหวังดีของบรรดาสมาชิกสหกรณ์ด้วยกันเองเป็นอย่างดี  จากการร่วมมือกันของคณะครู นักเรียน  เผื่อแผ่ไปยังครอบครัวและชุมชนเคหะบางพลียังได้ใช้สินค้าในราคาเมตตาหวังดีช่วยเหลือภาวะเศรษฐกิจของชุมชน  หล่อหลอมความสามัคคีครอบครัว สังคม ชุมชน ให้รู้ใช้รู้จ่าย รู้คุณค่าของเงิน มีการประหยัดรู้คุณค่าของสิ่งของ เหลือใช้ได้ประโยชน์  มีน้ำใจเอื้ออาทรหวังดีต่อกันในชุมชน  ผลความสำเร็จของกิจกรรมตลาดนัดเมตตาครั้งนี้นอกจากโรงเรียนเคหะบางพลีจะจัดอยู่ในแนวหน้าของการนำปฏิรูปการศึกษาที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการศึกษาใน 8 คุณธรรมพื้นฐานแก่นักเรียนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้บรรลุเป้าหมายเป็นอย่างดีแล้ว  จากความสามัคคีมีน้ำใจเสียสละของคณะนักเรียนที่เผือแผ่ไปยังครอบครัว ชุมชนจากโรงเรียนสู่..ชุมชนซึ่งจากการริเริ่มกิจกรรมตลาดนัดเมตตาไม่ได้คาดคิดเลยว่า       โรงเรียนเคหะบางพลีที่อยู่ท่ามกลางชุมชนแออัด  สังคมเผชิญปัญหาความยากจน  ปัญหาว่างงาน  ปัญหาครอบครัว  ปัญหาอาชญากรรม  และปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนต่างๆ นี้  กิจกรรมตลาดนัดเมตตาได้สร้างสรรค์แนวทางชีวิตตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ชุมชนได้เป็นอย่างดี  และ  ส่งเสริม 8 คุณธรรมพื้นฐานให้แก่นักเรียนได้อย่างสมบูรณ์  ทำให้    โรงเรียนมั่นใจว่าร้านค้าสหกรณ์ตลาดนัดเมตตาคือความภาคภูมิใจของ       นักเรียน ครู ผู้ปกครองและพี่น้องประชาชนชาวเคหะบางพลี

หมายเลขบันทึก: 125891เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ด.ญ. ปวีณธนกร และ ด.ญ.ฆโนทัย

หนูคิดว่าโรงเรียนจัดกิจกรรมตลาดนัดเมตตาแล้ว

น่าจะจัดแถวให้เป็นระเบียบมากกว่านี้จะดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท