ภาษา+ละหมาด


ภาษา+ละหมาด

ภาษา+ละหมาด

สังเกตการละหมาดในมหาวิทยาลัยแต่ละมหาลัยแล้ว น่าเศร้ายิ่งกว่าน่าเศร้า

ที่บอกว่า  น่าเศร้า คือ มหาลัยทั่วไป  น่าเศร้าตรงไม่มีใครไปบอกกล่าวให้น้องๆเหล่านั้นทราบ เขาไม่รู้ หรือรู้น้อย

ยิ่งกว่าน่าเศร้า คือ  มหาลัยที่เป็นอิสลาม ยิ่งกว่าน่าเศร้า มีคนบอก มีความรู้ แต่น้อยที่จะละหมาดที่มัสยิด กลายเป็นความกังวลประสมอยู่ 

 และนี่เองเกิดคำว่า "ภาษาละหมาด" ขึ้น คือละหมาดอย่างไรก็ไม่รู้ ขอให้ละหมาด  เป็นการละหมาดผิดประเด็นหลักของการละหมาด

แล้วเราจะยืนอยู่แถวหน้าของความสามัคคีอย่างไร  ช่วยตอบผมหน่อยครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษา+ละหมาด
หมายเลขบันทึก: 124876เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2007 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ครับ สมัยผมเรียนป.ตรี อาจารย์วิชาอารยธรรม อธิบายคำว่า มหาลัย ว่า มาจาก มหา ปะลัย (ไม่แน่ใจสะกดถูกหรือเปล่า) แปลว่า ความวินาศที่ยิ่งใหญ่

ถ้าอาจารย์จะเขียนย่อน่าจะได้ มหา'ลัย นะครับ อ่านคำข้างบนแล้ว เสียวๆ ยังไงไม่รู้

อาจารย์จารุวัจน์เข้าใจถูกแล้วครับ ถ้าเป็นภาษาเขียนต้องเขียนว่า มหาวิทยาลัย หรือ มหา'ลัย ครับ เพราะคำว่า มหาวิทยาลัย มาจากคำว่า มหา+วิทย+อาลัย

มหา แปลว่า ยิ่งใหญ่

วิทย หรือวิทยา แปลว่า ความรู้

อาลัย แปลว่า ที่อยู่

เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัย หมายถึง ที่อยู่ของความรู้ที่ยิ่งใหญ่ หรือ สถานที่แห่งองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับที่มหาวิทยาลัยของเรา เด็กเรายังน่าเป็นห่วงกับคำว่า...ละหมาด

ขอบคุณ คำติชมครับ

มหาลัย ผมใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ในการเขียน ที่มุ่งภาษาพูดเป็นสำคัญ อันเกิดจากการลงเสียงหนักทำให้เกิดการกร่อนเสียง ซึ่งจะถูกตัดเสียงได้ จากมหาวิทยาลัย เป็นมหาลัย  และเป็นหมาลัยในที่สุด  แต่ผมเลือกใช้มหาลัย ดูไม่น่าเกลียดเกินไป  มิได้มุ่งที่การเขียน  อย่างไรก็ขอขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท