จะโยงความรู้ในคลาสเรียนจากรายการ AF มาใช้สำหรับการเขียนนิยายอย่างไรดี (3)



<table border="0" cellspacing="0" cellpadding="3" width="100%" style="border: #f1eeda 5px dashed" bordercolor="#f3e3b1"><tbody><tr><td width="85%" valign="top" style="padding: 25px" bgcolor="#ffffff"><p> </p>

แอ็คติ้ง..เปรียบเหมือนการบรรยาย การบรรยายควรจะนำมาใช้ประกอบสิ่งที่เราต้องการสื่อ  เช่น คำพูด การเจรจาของตัวละคร ตลอดจนการดำเนินเรื่อง การบรรยาย ควรพอดีที่ทำให้เกิดความ "ชัด" ในมโนภาพที่ผู้อ่านจะมองเห็น และบังเกิดอารมณ์ร่วม.."

 

3. แอ็คติ้งแค่ไหนถึงจะพอดี  ?

ในคลาสว้อยซ์ กับคลาสแอ็คติ้ง มีหลายครั้งที่ครูดูนักล่าฝันร้องเพลง แล้วคอมเม้นต์แนะนำ  บางเพลง..ครูบอกนักล่าฝันว่า ให้ลองลดแอ็คติ้งลงสักนิดเพราะว่ามันล้นไป

แต่ขณะเดียวกัน ในคลาสแอ็คติ้ง.. ขณะที่ให้นักล่าฝันออกมาแสดงละคร โดยการสื่อ "สาร" ส่งถึงกัน

ครู..มักจะให้นักล่าฝัน แสดงภาษากายประกอบกับเสียงที่พูดสื่อสารต่อกันในระหว่างการแสดง เพราะภาษากายจะ "เน้น" ทำให้สิ่งที่ตัวละครในเรื่องกำลังพูด มันดูแล้วชัดเจนยิ่งขึ้น

ภาษากายดังกล่าว ก็คือแอ็คติ้ง นั่นเอง

เท่าที่เข้าเรียน (ฟัง+ดู) พร้อมนักล่าฝันทั้งหลายมาหลายคลาส ทำให้มีบทสรุป (เอาเอง) ว่า แอ็คติ้งขณะร้องเพลงหรือในการแสดงละครนั้น ควรจะมีระดับที่มากกว่าปกติสักเล็กน้อย เพื่อย้ำให้เกิดความชัดใน "สาร" ที่เราจะบอกกับคนฟังได้  คล้ายๆกับเวลาที่เราพุดคุยกับเพื่อน หรือคนทั่วไปแบบปกติ เราก็จะมี

แอ็คติ้งประกอบเสียงพูดระดับหนึ่ง  แต่ถ้าหากเราจะออกไปพูดบรรยายบนเวที หรือหน้าชั้นเรียน หรือพูดโต้วาที เราจะต้อง "ใส่" แอ็คติ้ง ที่มากขึ้นกว่าการพูดธรรมดา แล้วจะทำให้สิ่งที่เราพูดนั้น น่าสนใจขึ้น

อย่างไรก็ตาม.. แอ็คติ้งที่ "ล้น" เกินไป มากเกินไป ก็จะทำให้ดูเรากลายเป็น  "ตัวตลก"  แทนที่จะน่าเชื่อถือ ก็จะกลายเป็น "ขาดความน่าเชื่อถือ" ไปได้เช่นกัน

ทำให้นึกเทียบกับการเขียนนิยาย   แอ็คติ้ง..เปรียบเหมือนการบรรยาย การบรรยายควรจะนำมาใช้ประกอบสิ่งที่เราต้องการสื่อ  เช่น คำพูด การเจรจาของตัวละคร ตลอดจนการดำเนินเรื่อง การบรรยาย ควรพอดีที่ทำให้เกิดความ "ชัด" ในมโนภาพที่ผู้อ่านจะมองเห็น และบังเกิดอารมณ์ร่วม  แต่การบรรยายที่มากเกินไป หรือเยิ่นเย้อ วกวน ก็จะทำให้เกิดความน่าเบื่อในการอ่านขึ้นมาได้

อ่านมาถึงตรงนี้.. บางคนอาจจะงง ว่าแอ็คติ้งประกอบการร้องเพลงเพื่อให้เกิดความชัดยังไง เปรียบเทียบกัล การบรรยายประกอบบทสนทนา หรือประกอบการเดินเรื่อง เพื่อให้เกิดความชัด ในเนื้อหาและอารมณ์ เป็นอย่างไร จึงขอยกตัวอย่างมาให้ดูก็แล้วกัน  (ขออภัยที่ตัวอย่างอาจจะไม่ได้ดีนัก แต่เพราะเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงขออนุญาตยกตัวอย่างจากนิยายของตนเองก็แล้วกัน)

....

 

优秀CG插画壁纸100张(二)| 4 种尺寸1 - CG人物插画 CG Artwork desktop stock


เด็กชายกลั้นลมหายใจพลางแอบขบกรามแน่น.. อาการปวดในอกที่จางไปชั่วคราว ดูเหมือนกำลังเริ่มรู้สึกตุ๊บๆขึ้นมาอีกครั้ง แต่เขายังพอทนทานได้ หากทนได้เขาก็พยายามจะทน ทนให้ถึงที่สุด จะไม่ส่งเสียงครวญครางแม้แต่คำเดียว ไม่ใช่เพราะคำสั่งของท่านพ่อที่สอนเขาอยู่เสมอว่า

" ลูกผู้ชายต้องรู้จักอดกลั้นและอดทน เจ้าคือลูกชายของอาคัสตา คือรัชทายาทผู้จะต้องสืบบัลลังก์กษัตริย์ปาซาลองค์ต่อไป ดังนั้น.. เจ้าต้องมีความอดกลั้นและอดทนที่มากกว่าคนอื่นๆทั่วไป.. "

แต่เหตุผลยังเป็นเพราะ.. เขาไม่อยากเห็นท่านแม่ทุกข์ใจ

เขาไม่ต้องการเห็นคนที่เขารักเจ็บปวดทุกข์ใจเพราะเขาอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะท่านแม่…

" ข้าจำได้.. ท่านพ่อเคยเล่าเรื่องตอนพบกับท่านแม่ครั้งแรกให้ฟัง .."

เมื่อความเจ็บร้าวเริ่มจางลงบ้าง เขาก็รีบฝืนยิ้มชวนมารดาคุยต่อก่อนที่อีกฝ่ายจะจับพบความรู้สึก "เจ็บ" ที่เขาพยายามกล้ำกลืนซ่อนอยู่

" ท่านพ่อทรงเขินจนหน้าแดงทุกครั้งเลย เวลาที่เล่าเรื่องตอนแรกพบกับท่านแม่…"

ใช่สิ.. บุรุษผู้นั้นยามอยู่ต่อหน้าเหล่าขุนนางข้าราชบริพาร มักเปี่ยมประกายบุคลิกภาพอันทรงอำนาจราชศักดิ์ ที่ทุกคนล้วนยำเกรง ความสง่าเข้มแข็งของบุรุษผู้นั้นคือความภาคภูมิใจของเขา พอๆกับความงดงามอันหาสตรีใดในแผ่นดินมาเทียมได้ของผู้เป็นมารดา

แต่ความภูมิใจสูงสุดที่เหนืออื่นใดทั้งหมด คือความรักที่บุรุษผู้นี้มอบให้ต่อท่านแม่ ความรักความเข้าใจที่ผู้เป็นบิดามารดามีต่อกันคือภาคภูมิใจของผู้เป็นลูกเสมอ

" ท่านพ่อ.. รักท่านแม่มาก… ลูกรู้…"

" แม่ก็รู้…"

เสียงตอบนั้นเบาแผ่ว…เจือความปวดร้าว

หากเพราะรู้.. จึงยิ่งเจ็บปวด…

แต่สิ่งนี้ อาจเป็นเพราะเขายังเยาว์เกินไป จึงมิอาจทำความเข้าใจได้ว่า.. ทำไม ?

" ท่านแม่รักท่านพ่อไหม ? "

เป็นคำถามอันธรรมดาสามัญที่เด็กหลายคน มักชอบถามผู้เป็นบิดามารดาของตนเอง เพียงเพื่อยืนยันความมั่นใจ

หากเด็กชายกลับไม่รู้ คำถามนี้คล้ายดาบคมกริบเล่มหนึ่งเสียบทิ่มใส่หัวใจของผู้เป็นมารดาจนเจ็บปวดแปลบแทบพูดไม่ออก

รักไหม…?

คนภายนอกที่เห็นก็คงดูออกว่ารัก..

หากทำไมในใจของนางกลับเหมือนมีบางอย่างที่กล้ำกลืนอยู่ ซุกเก็บซ่อนไว้อย่างเร้นลับ ราวกับกริ่งเกรงว่า หากเปิดเผยออกมา ก็อาจทำให้ทุกคนรอบข้างผิดหวังเสียใจ

........

::: จากเรื่อง "ประกาศิตแห่งรัก"

 

 

 

优秀CG插画壁纸100张(二)| 4 种尺寸43 - CG人物插画 CG Artwork desktop stock


เนื้อหาของเรื่องในช่วงนี้ หากเล่าออกมาแบบห้วนๆก็คือ

เด็กชาย (พระเอก)โดนพิษเจ็บปวดแสนสาหัส แต่พยายามกล้ำกลืนไว้ไม่แสดงออก  ไม่ใช่เพราะคำสอนของบิดาที่ให้เขาเข้มแข็ง แต่เป็นเพราะเขาไม่อยากเห็นท่านแม่ทุกข์ใจ

" ข้าจำได้.. ท่านพ่อเคยเล่าเรื่องตอนพบกับท่านแม่ครั้งแรกให้ฟัง .. ท่านพ่อทรงเขินจนหน้าแดงทุกครั้งเลย เวลาที่เล่าเรื่องตอนแรกพบกับท่านแม่…" "

เด็กชายชวนแม่คุย

" ท่านพ่อ.. รักท่านแม่มาก… ลูกรู้…"

" แม่ก็รู้…"

" ท่านแม่รักท่านพ่อไหม ? "

"........."


ซึ่งถ้าหากไม่มีการบรรยาย บทสนทนาก็มีเพียงแค่นี้.. แต่คนอ่านจะสร้างจินตนาการได้แค่ไหน มีอารมณ์ร่วมเข้าใจบรรยากาศขณะนั้น และอารมณ์ความรู้สึก

ของตัวละครขณะนั้นได้ชัดเจนแค่ไหน ?

 

" ท่านพ่อ.. รักท่านแม่มาก… ลูกรู้…"

" แม่ก็รู้…"

เสียงตอบนั้นเบาแผ่ว…เจือความปวดร้าว

หากเพราะรู้.. จึงยิ่งเจ็บปวด…

แต่สิ่งนี้ อาจเป็นเพราะเขายังเยาว์เกินไป จึงมิอาจทำความเข้าใจได้ว่า.. ทำไม ?

" ท่านแม่รักท่านพ่อไหม ? "

เป็นคำถามอันธรรมดาสามัญที่เด็กหลายคน มักชอบถามผู้เป็นบิดามารดาของตนเอง เพียงเพื่อยืนยันความมั่นใจ

หากเด็กชายกลับไม่รู้ คำถามนี้คล้ายดาบคมกริบเล่มหนึ่งเสียบทิ่มใส่หัวใจของผู้เป็นมารดาจนเจ็บปวดแปลบแทบพูดไม่ออก

รักไหม…?

คนภายนอกที่เห็นก็คงดูออกว่ารัก..

หากทำไมในใจของนางกลับเหมือนมีบางอย่างที่กล้ำกลืนอยู่ ซุกเก็บซ่อนไว้อย่างเร้นลับ ราวกับกริ่งเกรงว่า หากเปิดเผยออกมา ก็อาจทำให้ทุกคนรอบข้างผิดหวังเสียใจ

........

 

บทบรรยาย (ตัวหนาข้อความสีเขียว) ดังกล่าว คือตัวอย่างการเขียนบรรยายบทสนทนาและการแสดงออกของตัวละคร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในอารมณ์ยิ่งขึ้นนั่นเอง



 

</font></td></tr></tbody></table>

หมายเลขบันทึก: 122921เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท