คณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว
คณะทำงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพแรงงานต่างด้าว จังหวัดชลบุรี

ศูนย์สุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง


Best Practices

ความเป็นมา

          ปี 2550 อำเภอบ่อทองมีแรงงานต่างด้าวที่มาตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลบ่อทอง จำนวน 668 คน (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2550) พบมากที่สุดที่ตำบลบ่อทอง จำนวน 265 คน โดยเป็นชาวกัมพูชาถึง 182 คน พม่า 58 คน และลาว 25 คน ตามตารางที่ 1

ตำบล พม่า ลาว กัมพูชา รวม
บ่อทอง 58 25 182 265
บ่อกวางทอง 160 3 7 170
ธาตุทอง 108 4 28 140
วัดสุวรรณ 28 0 6 34
เกษตรสุวรรณ 20 8 18 46
พลวงทอง 4 1 8 13
รวม 378 41 249 668
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนแรงงานต่างด้าวตรวจสุขภาพ แยกรายตำบล แยกรายสัญชาติ ปี 2550(ถึงมิถุนายน 2550)                                ปี 2550 อำเภอบ่อทองมีการสำรวจแรงงานต่างด้าวที่มารับบริการที่หน่วยงานสาธารณสุข และไม่มีบัตรประกันสุขภาพ พบมีจำนวนถึง 658 คน (ข้อมูล ณ มิถุนายน 2550) พบมากที่สุดที่ตำบลบ่อทอง จำนวน 282 คน โดยเป็นชาวกัมพูชาถึง 186 คน พม่า 64 คน และลาว 32 คน ตามตารางที่ 2
ตำบล พม่า ลาว กัมพูชา รวม
บ่อทอง 64 32 186 282
บ่อกวางทอง 34 4 18 56
ธาตุทอง 92 10 26 128
วัดสุวรรณ 14 0 16 30
เกษตรสุวรรณ 26 6 82 114
พลวงทอง 12 0 36 48
รวม 242 52 364 658

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนแรงงานต่างด้าวมารับบริการที่หน่วยงานสาธารณสุข และไม่มีบัตรประกันสุขภาพ แยกรายตำบล แยกรายสัญชาติ ปี 2550(ถึงมิถุนายน 2550) ดังนั้น จากตารางที่ 1 และ 2 สรุปได้ว่าพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวมากที่สุดอยู่ที่ตำบลบ่อทอง ซึ่งอำเภอบ่อทองมีระบบการปฏิบัติงานแบบกลุ่มพื้นที่สุขภาพ มี 4 กลุ่มพื้นที่ และกลุ่มพื้นที่ที่รับผิดชอบตำบลบ่อทอง ได้แก่กลุ่มพื้นที่ 3 สำหรับแรงงานต่างด้าวในตำบลบ่อทองอาศัยอยู่มากที่สุดในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านคลองใหญ่ ตำบลบ่อทอง จำนวน 326 คน เป็นสัญชาติกัมพูชา 285 คน ลาว 21 คน และพม่า 20 คน                แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่หมู่ 8 บ้านคลองใหญ่ ตำบลบ่อทอง จะมีนายหน้าเป็นคนรับมาส่งให้นายจ้างในพื้นที่ และในกลุ่มแรงงานข้ามชาติกันเองก็มีการชักชวนกันมาอยู่  ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติกัมพูชา คิดเป็นร้อยละ 87.42 ของแรงงานข้ามชาติทั้งหมด ที่เหลือเป็นพม่าและลาว  มีนายจ้างรวมกันประมาณ  17 ราย ส่วนใหญ่มีอาชีพ รับจ้างผ่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในโรงงาน และรับจ้างทางด้านการเกษตรกรรมทั่วไป เช่น ปลูกยาง ปลูกมัน ดูแลสวนปาล์ม ถางหญ้ารายวัน เก็บเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาและลาว เนื่องจากเป็นงานหนัก , และมีเลี้ยงหมูประมาณ 20 คน เป็นชาวพม่า ซึ่งชอบทำอาชีพนี้เนื่องจากเป็นงานที่เบากว่างานในสวนในไร่ มีรายได้วันละ 120 บาท  ถ้าเป็นประเทศตนเองมีรายได้ 50 บาท/วัน                 การทำงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยกับแรงงานข้ามชาติ ในด้านการรักษาพยาบาลจะมีปัญหาด้านการสื่อสารโดยเฉพาะภาษาเขมร และพม่า แต่ส่วนใหญ่ 8 ใน 10 ครั้งของการมารับบริการ จะมีล่าม หรือคนที่อยู่นานเป็นคนพามาและช่วยสื่อสารให้ผู้ป่วย อีกประมาณ 2 ครั้ง ไม่แน่ใจว่าสื่อสารกันรู้เรื่อง ถ้าเป็นแรงงานถูกกฎหมายจะเบิกค่ายาจากโรงพยาบาลได้  ถ้าเป็นแรงงานผิดกฎหมายจะเบิกไม่ได้  แต่สถานีอนามัยยังสามารถเก็บเงินค่ารักษาได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านการส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลในรายที่มีอาการหนัก เช่น ปวดท้องมาก , ปวดท้องคล้ายเป็นไส้ติ่ง นายจ้างจะไม่กล้าพาไปโรงพยาบาลเนื่องจากกลัวความผิดเรื่องการให้ที่พักพิงกับแรงงานข้ามชาติ และตัวแรงงานข้ามชาติก็กลัวถูกจับ                ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ จะมีมารับบริการฝากครรภ์ วางแผนครอบครัว และฉีดวัคซีนเด็ก  งานฝากครรภ์รายใหม่เดือนละ 1-2 ราย มีปัญหาในการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ไปโรงพยาบาล ในกรณี เช่น เด็กไม่ดิ้น หรือครรภ์แรกส่งให้ไปเจาะเลือดแต่ไม่ยอมไป เพราะไม่มีบัตร กลัวจะถูกจับส่งกลับบ้าน , ตั้งแต่ปี 2542 เคยมีแรงงานข้ามชาติมาคลอดที่สถานีอนามัยปีละ 3-4 คน แต่ในปี2545 เป็นต้นมาไม่มีมาคลอดที่สถานีอนามัย , ในเรื่องการฉีดวัคซีนเด็กมีปัญหาไม่มาตามนัด โดยครั้งที่ 2 มีมาประมาณ ร้อยละ 70 ของครั้งแรก สถานีอนามัยก็แจ้งหัวหน้าคนงานให้ตามเด็กมาฉีดวัคซีน ก็มาเพิ่มเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 80 ของครั้งแรก , สำหรับการคุมกำเนิดจะมารับบริการกันน้อยประมาณร้อยละ 40 ของทั้งหมด  โดยจะใช้วิธีกินยาคุมมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 80 ส่วนฉีดยาคุมร้อยละ 20                ในด้านการป้องกันและควบคุมโรค ยังไม่มีโรคติดต่อใหม่ๆที่เป็นปัญหาในพื้นที่ มีแต่โรคที่พบทั่วไป เช่น อุจจาระร่วง  สาเหตุเกิดจากการกินอาหารที่ไม่สะอาด การกินอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ลาบ ก้อย  กุ้งเต้น การไม่มีส้วมใช้ คิดเป็นร้อยละ 30 ของครัวเรือนแรงงานข้ามชาติ สำหรับการออกควบคุมโรคส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะออกคนเดียว ถ้ามีโรคระบาดจะออกเป็นทีมโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่นำหน้า และประสานติดต่อกับเถ้าแก่ จะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารบ้าง แต่เถ้าแก่จะให้ล่าม หรือคนที่อยู่นานพอพูดไทยได้มาช่วย , สำหรับแรงงานข้ามชาติที่เป็นโรควัณโรคส่วนใหญ่ไม่มีบัตร เถ้าแก่ก็จะส่งกลับบ้าน                ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยกับนายจ้างของแรงงานข้ามชาติจะมีความไว้วางใจกันอยู่  เจ้าหน้าที่สามารถทำงานกับแรงงานข้ามชาติได้ และในส่วนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับแรงงานข้ามชาติจะมีความคุ้นเคยกันมาก ไม่เป็นปัญหาในการทำงาน                จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปปัญหาในการดำเนินงานได้ดังนี้

1.             ไม่สามารถสื่อสารให้ความรู้กับแรงงานข้ามชาติได้

2.             ไม่มีสถานที่ที่สะดวกในการนัดหมายทำกิจกรรมด้านสาธารณสุขกับแรงงานข้ามชาติ

3.             ไม่มีการดูแลสุขภาพกันเองในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

4.             ไม่มีเครือข่ายในระบบการส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ 

                สำหรับกลุ่มพื้นที่สุขภาพ 3 ซึ่งประกอบไปด้วยสถานีอนามัย 3 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยบ้านคลองตาเพชร สถานีอนามัยบ้านทับเจริญ และสถานีอนามัยบ้านคลองใหญ่ ได้ปรึกษาหารือกันที่จะจัดระบบการบริการสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ตำบลบ่อทอง ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2550  โดยได้ข้อสรุปที่จะจัดให้มีศูนย์สุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 บ้านคลองใหญ่ ตำบลบ่อทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่มากที่สุด จึงได้ไปปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิก อบต. อสม. และนายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าว และได้ข้อสรุปที่จะตั้งศูนย์สุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติที่บริเวณห้องแถวขนาดพื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร ของ นายธวัช  ลีลาสุขสันต์ ที่บริจาคให้ใช้พื้นที่ชั่วคราว ซึ่งนายธวัช  ลีลาสุขสันต์ เป็นอดีตกำนันตำบลบ่อทอง และเป็นนายจ้างของแรงงานต่างด้าวด้วย

4.วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้มีศูนย์ประสานการดำเนินงานสาธารณสุขในแรงานต่างด้าวระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแรงงานต่างด้าว

2. เพื่อให้อาสาสมัครแรงงานต่างด้าวมีสถานที่นัดหมายและดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว

3. เพื่อลดงบประมาณค่ารักษาพยาบาลในแรงงานต่างด้าว

 5.วิธีการดำเนินงาน

1.  ประชุมเจ้าหน้าที่ในกลุ่มพื้นที่สุขภาพ กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย สถานีอนามัยบ้านคลองตาเพชร สถานีอนามัยบ้านทับเจริญ และสถานีอนามัยบ้านคลองใหญ่

2. ประชุมผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต. อสม. และนายจ้างแรงงานต่างด้าว

3. จัดทำโครงการเสนอสาธารณสุขอำเภอบ่อทอง

4. จัดสถานที่บริเวณห้องแถวที่นายจ้างบริจาคให้ใช้ชั่วคราว

5. จัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในศูนย์สุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ

6. จัดอบรมอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวที่จะปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ

7. ดำเนินการเปิดศูนย์และให้บริการแรงงานต่างด้าว

8. ประเมินผลการดำเนินงาน 

6.ผลการดำเนินงาน

6.1.  ประชุมปรึกษากับผู้นำชุมชน  นายจ้าง  ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ  เพื่อหาข้อสรุปในการจัดตั้งศูนย์สุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ

6.2.  มีคณะกรรมการดำเนินงาน 5 คน  เป็นอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ  สัญชาติกัมพูชาทั้งหมด  และมีการ

คำสำคัญ (Tags): #migrant
หมายเลขบันทึก: 122461เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท