จิตตปัญญาเวชศึกษา 18: palliative care รักที่ไม่มีเงื่อนไข


palliative care รักที่ไม่มีเงื่อนไข

 ปัญหาที่ได้ตัวอย่างมาจากตัวแทน stake-holders ทั้งสาม คือ พี่สุรีย์ พี่อร และหมอสิริโรจน์นั้น ดูเผินๆ เหมือนกับเป็นเรื่องการสื่อสาร การฟัง เท่านั้นเอง แต่จริงๆแล้วพฤติกรรมมนุษย์ที่ออกมานั้น มีมิติด้านลึก มีแรงผลักดันภายใน ขึ้นอยู่กับว่าคนแต่ละคน "วาดภาพโลกภายในของตนไว้อย่างไร" เรื่องนี้เป็นอะไรที่เกียวกับ cognitive science ว่าการ "รับรู้" และการ "เรียนรู้" นั้น มีขั้นตอน มีบริบท เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างไร

ตัวอย่างของที่อาจารย์หมอโกมาตรพูดถึง การซักประวัติมุ่งไปหาอวัยวะก็สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ตอนเราเรียนหมอ เราเรียนเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค วินิจฉัยได้ก็จะหาทางรักษาได้ แนะนำได้  จะนำไปให้ยา ผ่าตัด ฉายแสง หรือทำอะไร ก็จะเริ่มต้นจากการวินิจฉัยแยกโรคก่อน ดังนั้นการหาอวัยวะที่เป็นต้นเหตุนั้น อยู่ใน mission สำคัญ อันดับแรกๆทีเดียว สำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เวลาที่เราประเมินนักเรียนแพทย์ ก็วางอยู่บนเงื่อนไขนี้เช่นกัน ว่าเราสามารถหาอวัยวะต้นเหตุ และนำไปสู่การรักษาพยาบาลได้หรือไม่

ส่วนเรื่องความหวัง ความหมายของโรคต่อตัวคนไข้เอง ความหมายของการเกิด การให้กำเนิด การเจ็บ การตาย ในมิติของสังคม มิติจิตใจ จิตวิญญาณนั้น ไม่ได้อยู่ในการแสความคิดคำนึง และไม่ได้ถูกมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นสักเท่าไร พอรักษาโรคหาย อวัยวะกลับคืนมาเป็นปกติ เราก็เห็นว่าคนไข้ก็ดูจะชื่นชมยินดี มิติต่างๆเป็นอย่างไรที่เราไม่ทราบนั้น ก็ดูเหมือนจะกลับคืนไปพร้อมๆกัน กับอวัยวะนั้นๆ ตรงนี้เองกระมัง ที่สร้างเจตนคติว่า เราไม่จำเป็นจะต้องล่วงรู้ถึงความรู้สึก ความหมายอะไรต่อมิอะไรของคนไข้มากนัก ที่เขามาก็เพราะทุกข์กาย เป็นจุดเริ่มต้น รักษาทุกข์ทางกายไปสิ เดี๋ยวก็ดีเองแหละ

จริงหรือ?

 ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงของสุขภาพนั้น เป็นอะไรที่เราไม่สามารถจะแยกส่วนออกเป็นท่อนๆ และรักษาเป็นเศษส่วน นำไปประกอบกลับ แล้วดีเหมือนเดิม 

การศึกษาก็เฉกเช่นเดียวกัน ที่เราแยกออกเป็น cognitive domain, psychomotor domain, attitude domain นั้น แท้ที่จริง ในกระบวนการเรียนรู้  contextual learning ที่จะใช้จะต้องบังเกิดตอนเรียนด้วย จึงจะมีการบูรณาการ เหมือนกับการประเมินกายวิภาคศาสตร์ นักเรียนจะต้องเอาไปใช้ตอนตรวจร่างกาย ตอนผ่าตัด และเพื่อการหายที่ดี สมบูรณ์ของแผล ต้องทำด้วยความอ่อนโยน นุ่มนวล ทั้งสามมิติของการเรียนรู้จะต้องสอดประสานเป็นเรื่องเดียวกัน

 มิฉะนั้นเราก็จะได้นักเรียนบางคนที่ท่องกายวิภาคได้ แต่ตรวจร่างกาย ผ่าตัดไม่เป็น หรือผ่าตัดคล่องแคล่วว่องไว แต่ก็ไม่ทราบว่าต้องระมัดระวังเส้นประสาท เส้นเลือดตรงไหนบ้าง หรือสักแต่ว่าจะตรวจ จะผ่า แต่ไม่เคยคำนึงว่าคนไข้จะมีความละอาย ความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึง ขณะถูกตรวจ ถูกผ่าอย่างไรหรือไม่

 นันคือความน่ากลัวของการแยกมิติการเรียนรู้ออกเป็นท่อนๆ เป็นเศษส่วน ไม่ได้เป็นองค์รวม และดันไปหวังว่าที่ได้สอนไปเป็นท่อนๆ เป็นเศษๆนั้น จะมารวมกันได้ทีหลัง ซึ่จะเป็นการใช้ intellectual ไม่ใช่ใช้ heart หรือ will ก็จะไม่มีความซาบซึ้ง ไม่มีความ "เข้า(ไปใน)ใจ" อย่างแท้จริง

ลักษณะของ palliative care

  • Unconditional love

  • Non-judgmental attitude

  • For them

  • Drive with conviction, back-up with medical sciences

  • Create comfort and safety zone

Unconditional Love

เนื่องจากคนไข้ระยะสุดท้าย กำลังเตรียมตัวที่จะเผชิญหน้ากับความจริงที่สุดของชีวิต คือ ความตาย ณ เวลานี้คนที่จะร่วมเดินทาง เป็นเพื่อน เป็นคนถือตะเกียงให้ จะทำด้วยความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น ไม่ได้หวังอะไรตอบแทน ไม่มีชัยชนะที่จับต้องได้ แต่เป็นการตระหนักรู้ว่ากำลังได้ทำปฏิบัติหน้าที่ที่คนๆหนึ่งสามาถจะทำให้กับคนๆหนึ่งได้ เพียงเพราะเป็นสิ่งสมควรเท่านั้น

ในสภาวะ unconditional love นี้ คนทำจะอยู่ในสภาวะ no fear (หรือคำแปลของ อ.ส. ศิวรักษ์ คือ "อภัยทาน") หากผู้ช่วยตกอยู่ในวิตกจริต หวาดหวั่น เกรงกลัว ต่อการเดินทางไปข้างหน้า ก็จะไม่สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้

ด้วยเหตุผลนี้เองที่แพทย์ พยาบาล ควรจะมีความรู้ ความเข้าใจ และเจตนคติต่อความตายที่ดี ที่ซื่อตรง พอสมควร จนจิตอยู่ในความ no fear ได้ จึงจะสามารถรวบรวมกำลังเพียงพอที่จะเอื้อเฟื้อให้แก่คนไข่บางราย ที่ไม่สามารถจะรวบรวมพลังจิตในการเดินทางช่วงสุดท้ายนี้ต่อไปเพียงลำพังได้

Non-judgmental Attiude การไม่ตัดสิน

สิ่งที่แพทย์ พยาบาล พึงระมัดระวังคือ การด่วนตัดสิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพราะความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความเชื่อ

คนเราเติบโตมาคนละบริบท และบริบทต่างๆเหล่านี้เองก่อเป็นสัญญา เวทนา ต่างๆของปัจเจกบุคคล ทำให้สภาวะ "ดีที่สุด" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้แต่คนในครอบครัวเดียวกันก็ตาม ก็ยังไม่เหมือนกัน สิ่งที่แพทย์ พยาบาล พอจะช่วยได้ ก้ได้แก่ การประคับประคองอาการทางกายเท่านั้น แต่เมื่อถึงที่สุดแล้ว ณ สมดุลที่ "ดีที่สุด" เป็นเช่นไร ก็ต้องเป็นการพิจารณาจาก "มุมมองของคนไข้เป็นสำคัญ"

non-judgmental attitude สามารถพัฒนาได้หลายกระบวนการประกอบกัน อาทิ cultural competency ก็สำคัญ ได้แก่ ความสามารถในการรับฟัง รับรู้ ปรับตัว และเคารพในวัฒนะรรม ประเพณี ความเชื่อที่ผิดแผกแตกต่างกันได้ทั้งหมด ทุกรูปแบบ ผนวกกับ interpersonal skill

For Them ทำในวาระของผู้ป่วย

ตระหนักรู้ และมีสติอยู่ตลอดเวลาว่าเรากำลังทำในวาระของคนไข้ และครอบครัวของเขาอยู่ ไม่ใช่วาระของเรา คนไข้คนไทยเกรงใจหมอ เกรงใจพยาบาล และมีแนวโน้มที่จะ "เห็นใจหมอ เห็นใจพยาบาล" มากกว่าในทำนองกลับกัน กลายเป็นคนไข้มักจะ empathy หมอ และ "เสียสละ" ความสะดวก ความต้องการส่วนตน เพื่อให้หมอมีความสะดวกสบายมากที่สุด จนบางทีแม้แต่การเสีบสละ "เวลา ซึ่งมีอยู่น้อยมาก" ของคนไข้เองก็ตาม คนไข้บางคนไม่ยอมขอร้องให้หมอเลือนเวลานัดการตรวจต่างๆให้เร็วที่สุด เพื่อที่เขาจะได้กลับไปบ้าน อยู่กับลูก เมีย สามี คนรัก เพราะเกรงใจหมอ พยาบาล

เราจะทำอย่างไร ให้นักศึกษาแพทย์มีสติ และตระหนักรู้ และสามารถ "คิดเผื่อ" คนไข้ ในประเด็นยเหล่านี้ empower ให้ผู้ป่วยมองหมอเป็นเสมือนผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือ และเต็มใจช่วยเหลือ ไม่ใช่คอยแต่จะเกรงใจจนเกินไป จนกระทั้งการดุแลรักษากลายเป็นสะดวกหมอ สบายหมอ และคนไข้กลายเป็นผู้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความราบรื่น ง่าย ของหมอไปแทน

Drive with conviction, Back-up with Medical Sciences

เรื่องนี้ก็คือการพัฒนา พลังเจตน์จำนง ให้แก่นักศึกษาแพทย์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ Moral Courage นั่นเอง

เนื่องจากผู้ป่วยระยะสุดท้าย กำลังอยู่ในสภาวะที่กำลังเดินทางใหม่ไปสู่พื้นที่ไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นเช่นไร (บางคน บางศาสนา) หรือทราบแต่ก็มีความกลัว บุคลากรทางการแพทย์อาจจะมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือได้หลากหลายวิธี symptoms control นั้น เป็นเรื่องประเด็นที่เราจะต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์ที่ดีที่สุดมาบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้ได้ เพื่อที่เขาจะได้รวบรวมพลังใจ พลังจิต พลังวิญญาณนำตัวเขาไปสู่ภพภูมิที่สันติสุขได้ตามความปราถนาที่สุดของชีวิต แม้ว่าตัวหมอเองจะไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น หลังจากความตายก็ตาม แต่เราก็จะยังคงทำตามหน้าที่ด้วยความเชื่อถึงที่สุดใน หน้าที่ของอาชีพ ของเราที่ทำให้เรามาอยู่ ณ ตำแหน่งนี้ มีความสัมพันธ์เยี่ยงนี้กับคนไข้ กับครอบครัวนี้

Create safety and comfort zones for patients and family

ถ้านักศึกษาแพทย์เข้าใจเรื่อง thanatology หรือ มรณวิทยา ก็จะทราบว่าพันธมิตรที่มีพลัง และสำคัญที่สุดของหมอ พยาบาล ก็คือครอบครัว ผู้ดูแล ญาติสนิทมิตรสหายของคนไข้นั่นเอง

ถ้าเราสามารถจะดึงเอากำลังส่วนนี้มาอยู่ในทีมการรักษาได้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงแต่เราจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการดูแลคนไข้ได้ครบถ้วนทุกมิติ เรายังมีโอกาสเพิ่มขึ้นในการป้องกันการเกิด pathological grief and bereavement ในกลุ่มญาติหลังจากผป.เสียชีวิตไปแล้วได่ด้วย และความอบอุ่นจากการถูกแวดล้อมด้วยคนที่หวังดี มีความรัก ต่อคนไข้เองก็จะเป็นเพื้นที่ที่ปลอดภัย อบอุ่น และมีกำลังใจอย่างยิ่ง

ในบรรยากาศทั้งหมดนี้อันเป็นคุณลักษณะของการทำ palliative care จะเห็นได้ว่าสามารถมีผลกระทบต่อระบบการคิด กระบวนทัศน์ของแพทย์ และพยาบาล ซึ่งควรจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษาแต่เนิ่นๆ จึงจะได้ผลดีที่สุด

หมายเลขบันทึก: 122460เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
อ่านแล้วคิดว่า เจตคติแบบนี้นั้นน่าจะจำเป็นกับทุกวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนเลยนะคะ และน่าจะเป็นประโยชน์มาก ไม่เฉพาะทาง Paliative care (อ่านต่อเนื่องมาจากบันทึกก่อนด้วยค่ะ อยากให้เรื่องแบบนี้มีให้นักศึกษาแพทย์อ่านกันเป็นระยะๆนะคะ ปรับใจให้ค่อยๆซึมซับกับจริยธรรมของการดูแลสุขภาพคนไปเรื่อยๆสม่ำเสมอ เรื่องแบบนี้ต้องค่อยๆบ่มเพาะสร้างสมไปเรื่อยๆ ใช่ไหมคะ)
อ่านแล้วประทับใจ ซาบซึ้ง น้ำตาจะไหล จังเลยค่ะอาจารย์  

ดีใจที่น้อง extern รับรู้เรื่องราวและสะเทือนใจครับ น้องใช้พลังงานแบบนี้ไปเป็นประโยชน์ได้แน่ๆ

แล้วเราจะได้ซาบซึ้งว่า เราได้มาอยู่ในวงการของงานบุญที่แท้จริง จะเป้นพลังของน้องในการทำงานต่อๆไป ไม่เหน็ดเหนื่อยครับ

 

 ... ... ...

 

 

 

 

 

อาจารย์เข้าใจว่า คุณ น้องextern เวรศํลย์ เค้าประทับใจ ซาบซึ้ง น้ำตาจะไหล

ด้วยเรื่องอะไร ... หรือคะ

แล้วคุณ lucifer คิดว่าเรื่องอะไรหรือ?

เรื่องที่ว่า .... 

 

 

"เสียงกระซิบในสายลม"

 

มันอาจจะพัดผ่านไป ... ติด ... อยู่ในใจใครสักคน ... บ้าง ...

 

มั้งคะ .... หรืออาจารย์คิดว่าอาจเป็นเรื่องอื่น ... เรื่องอะไร

สวัสดี  ค่ะอาจารย์

    สิ่งนี้ใช่ไหมค่ะที่เขาเรียกว่า  การดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์   หากทุกคนมีโลกนี้ก็สันติสุข.

  ช่วยๆกันนะคะ

เรามีความสัมพันธ์กันอยู่ เสมือนญาติ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอยู่แล้ว นับไล่ๆไปเถอะ ไม่เกิด 6 ทอด หากพยายามจะแยกจากกัน กลับจะยากกว่าเสียอีกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท