BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๑


การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมกับการกระทำเหนือหน้าที่ ๑

เมื่อผู้เขียนศึกษาเรื่องการกระทำเหนือหน้าที่ จึงได้ทราบว่าแนวคิดเรื่องการกระทำเหนือหน้าที่เริ่มต้นจากการวิจารณ์การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมตามประเพณีของ เอิร์มสัน (Urmson, J.O) ว่ายังไม่เพียงพอต่อความจำเป็นทางศีลธรรม ทำให้ผู้เขียนต้องศึกษาประเด็นนี้ด้วย ดังนั้น  จะนำมาเล่าพอเป็นอาหารสมองสำหรับผู้สนใจ....

แนวคิดของเอิร์มสันในบทความชื่อ saints and heroes  ได้อ้างถึงการจัดประเภทฯ ตามประเพณี ๓ ประการ คือ

  1. การกระทำที่เป็นหน้าที่ (duty) หรือ ข้อผูกพัน (obligatory)
  2. การกระทำตามปกติ (right) หรือ ยอมรับกันได้ (permissible)
  3. การกระทำที่ผิด (wrong)

เอิร์มสันแย้งว่าการจัดประเภทฯ ตามประเพณีทำนองนี้ ยังไม่เพียงพอต่อความจำเป็นทางศีลธรรม เพราะยังมีการกระทำ แบบนักบุญและแบบวีรบุรุษ (saintly and heroic) ซึ่งเขาได้นำคำว่า  การกระทำเหนือหน้าที่ (supererogation) เพื่อใช้เรียกการกระทำแบบนักบุญและวีรบุรุษนี้

...........

เอิร์มสันได้ยกตัวอย่างว่า เมื่อมีการหัดขว้างลูกระเบิดจริงของทหารหมู่หนึ่ง บังเอิญลูกระเบิดที่ถอดสลักแล้วได้พลัดหล่นลงมาในท่ามกลางทหารหมู่นั้น... ขณะที่ทหารนายอื่นตกตะลึงนั้น ก็มีพลทหารนายหนึ่งกระโจนไปทับลูกระเบิดไว้... การกระทำของพลทหารนายนี้จะประเมินค่าว่าเป็นการกระทำชนิดใด ?

เอิร์มสันให้ความเห็นว่า ถ้าว่าเขารอดชีวิตมา เขาอาจจะพูดโดยความถ่อมตนว่า ทำตามหน้าที่ ... แต่การกระทำของเขานั้น ใครๆ ไม่อาจกำหนดให้เป็นหน้าที่ได้... การกระทำนั้นจัดเป็นการกระทำแบบวีรบุรุษ และควรจะเรียกว่า การกระทำเหนือหน้าที่ .....

จากบทความนี้ ทำให้การจัดประเภทการกระทำทางศีลธรรมในสมัยต่อมา ได้เพิ่มการกระทำเหนือหน้าที่เข้ามา แต่ความเห็นในการให้ความหมายของคำนี้ก็ยังแตกต่างกันไป......  

หมายเลขบันทึก: 122314เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2007 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท