CTAM ระบบจำลองและวิเคราะห์สถานการณ์ชายฝั่ง


การจัดการชายฝั่ง

CTAM หรือ Coastal Transects Analysis Model คือ ระบบโอเพ่นซอร์ต web application เพื่อจำลองสภาพชายฝั่ง โดยโปรแกรมจะสร้างแบบจำลอง ตามข้อมูลที่ใส่ลงไปในระบบ จากนั้นจะวิเคราะห์ และสร้างภาพจำลองพร้อมฐานข้อมูล

โปรแกรมเปิดเป็นสาธารณะกับผู้ใช้งานสามารถใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ www.coastaltransects.org ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้ามาใส่ข้อมูลของพื้นที่ชายฝั่งต่างๆ จากทั่วโลก

 

ดร.รัตนา ชื่นภัคดี ประธานโครงการวิจัยของแคนนาดาด้านการพัฒนาชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน กล่าวในระหว่างการสาธิตการใช้งานโปรแกรม ในการสัมมนาความสำเร็จและบทเรียนของการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ในโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (CHARM) ที่ กระบี่ ว่า "ตอนนี้โปรแกรมยังเป็นภาษาอังกฤษ แต่คาดว่าอีก 3-4 เดือนโปรแกรมภาษาไทยก็จะสามารถใช้ได้"

ดร. รัตนา สาธิตการทำงานของระบบ CTAM ขั้นที่ 1 โดยเอาอ่าวนาง จ. กระบี่ เป็นกรณีศึกษา โดยใส่ข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่อ่าวนาง กิจกรรมทางเศษฐกิจ การปกครองและองค์กรท้องถิ่น กฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอ่าวนาง เมื่อบันทึกระบบจะออกรายงานภาพรวมของอ่าวนาง ทั้ง Graphic และข้อมูลที่ใส่ลงไปในระบบและสามารถเชื่อมโยงกับระบบแผนที่ได้

CTAM ขั้นที่ 2

เป็นการพัฒนาจากขั้นแรกที่แสดงเป็้นภา พคร่าวๆ แต่ขั้นนี้จะเน้นที่แสดงภาพความสัมพันธ์และของผลกระทบของการประมง รายได้ และแรงงาน เช่น ผลผลิต การให้น้ำหนักความสำคัญและการกระจายต่างๆ และมีการปฏิสัมพันธ์กับชุมชน

วิทยากรสาธิตภาพจำลองของลีเล็ดโดยมีกำนัน ประเสริฐ ชัญจุกรณ์ กำนันตำบลลีเล็ด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี และประธานกลุ่มลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ ให้ข้อมูลชุมชน ลักษณะพื้นที่ เครื่องมือประมง การใช้ประโยชน์ป่าชายเลน การเพาะเลี้ยง การท่องเที่ยว เมื่อโปรแกรมออกรายงานมาแล้วในขั้นที่ 1 มาแล้ว โปรแกรมจะเพิ่มช่องใส่ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนต่างๆ เช่นความแรงของกระแสน้ำ พื้นที่ป่าชายเลน ระดับของความอุดมสมบูรณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับการทำประมงว่า สัดส่วนประมงขนาดใหญ่ เล็ก เป็นร้อยละเท่าไหร่ ชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ และอื่น ๆ ตามที่ใส่รายละเอียดในข้างต้น รวมทั้งผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่

เมื่อเสร็จแล้วโปรแกรมจะออกรายงานและแสดงความสัมพันธ์ ของกิจกรรมผ่านแผนภาพ และสามารถสร้างสถานการณ์จำลอง อาทิ หากเพิ่มหรือลดเครื่องมือประมงก็จะสัมพันธ์กับภาพฝูงปลาในแผนภาพและข้อมูลทั้งหมดจะอยู่บนอินเทอร์เน็ต

การสาธิตโปรแรกม CTAM ในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมการสัมมนามากโดยผู้ร่วมสัมนมนาได้ ให้ความเห็นว่า สามารถนำไปใช้ในการเขียนแผนได้ และหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในอนาคตได้ง่าย และ  สามารถ ใช้เปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละเดือน สามารถใช้อ้างอิงกับทางคู่เจรจา และทางเยาวชนหรือชาวบ้านสนใจที่จะศึกษาจากภาพเพราะเข้าใจง่าย

 ที่มา: www.ict.or.th

หมายเลขบันทึก: 122207เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2007 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท