การบริหารความเสี่ยงทำนายอนาคตองค์กรได้จริงหรือ


การทำนายอนาคตช่วยเราผ่านพ้นความเสี่ยงได้อย่างไร

เราสามารถทำนายอนาคตได้จริงหรือ

          แม้ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้อย่างถูกต้องในทุกๆ กรณี แต่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถทำนายอนาคตได้เลย  อันที่จริงเราสามารถทำนายอนาคตได้ถ้าเรามีข้อมูลและใช้ข้อมูลนั้นเอย่างเพียงพอ  มีการวางแผนอย่างเหมาะสมในการทำนายอนาคตที่จะเกิดขึ้น  เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นความเสี่ยงต่าง ๆ  โดยมีการจัดเตรียมทรัพยากรหรือการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รองรับให้ทันและเหมาะสม    ซึ่งจะทำให้มีการพัฒนาองค์กรสู่ความสำเร็จได้โดยไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยที่สุด

ในหลาย ๆ บริษัท  ผู้บริหารจะยอมใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูงเพื่อศึกษาแนวโน้มอนาคตนำมาสร้างความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ  เพราะถ้าเราสามารถทำนายอนาคตได้ เราก็จะสามารถเตรียมการรับมือได้อย่างเหมะสม  การเตรียมการที่ดีจึงมีผลดีต่อการบริหารจัดการในระยะยาว

         ความลับของการเตรียมการที่ดีคือ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก เพียงแค่พัฒนาและทำความเข้าใจอย่างชัดแจ้งถึงสิ่งที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และวางแผนเตรียมการณ์อย่างดีในการเผชิญเหตุการณ์ทีคาดการไว้นั้น   ก็จะสามารถทำให้หน่วยงานหรือองค์กรผ่านพ้นความเสี่ยงที่คาดการณ์และประสบความสำเร็จได้

            องค์กรหรือหน่วยงานที่มีการเตรียมการณ์ที่ดีจะมีโอกาสในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าพึงพอใจได้ในอนาคต  และกลยุทธ์เหล่านี้ก็จะนำพาองค์กรหรือหน่วยงานสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย จากการพัฒนาองค์กรสู่ความได้เปรียบเชิงแข่งขันในโลกธุรกิจ  ทั้งนี้เนื่องจากแผนงานที่ดี  สามารถพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ผ่านกระบวนการคิดร่วมกันในการพัฒนาและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ผลลัพธ์คือนอกจากสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าแล้วยังประหยัดงบประมาณเนื่องจากสามารถป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้นั่นเอง

 

         การวางแผนป้องกันที่ดี  ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้นกับหน่วยงานหรือองค์กรของเรา อนาคตองค์กรอยู่ในมือของเราทุกคน  เราจะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้โดย  เพียงแค่เรา

          1.      มีการวางแผนกับอนาคต

          2.      มีการคาดการณ์ความเสี่ยง

          3.      ทำงานร่วมกันเป็นทีม

           4.      มีการบริหารความเสี่ยง

 

การค้นหาและบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ

แนวทางการบริหารความเสี่ยง   กระทำได้โดย

           1.      ค้นหาปัญหาโดยเร็วที่สุด  ก่อนที่เหตุการณ์จะขยายใหญ่ออกไป  เพราะการค้นพบปัญหาได้ก่อนหรือเร็วจะง่ายต่อการป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           2.      ตอบสนองต่อปัญหาในขอบเขตที่เพียงพอและเหมาะสม  ทั้งนี้เนื่องจากความไม่แน่นอนยิ่งมาก ยิ่งต้องการการตอบสนองในขอบเขตที่กว้าง

           3.      เรียงลำดับความสำคัญของความเสี่ยง  โดยมีการกำหนดผลกระทบ และความน่าจะเป็นของแต่ละความเสี่ยงที่คาดการณ์  อาจมีการใช้สีเพื่อบอกความสำคัญของความเสี่ยง เช่นความเสี่ยงสูงใช้สีแดง ความเสี่ยงที่มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดใช้สีเหลือง  และสีเขียวหมายถึงไม่มีความเสี่ยง  เป็นต้น    และวางแผนกลยุทธ์สัมพันธ์กับลำดับความสำคัญของความเสี่ยง   เลือกบริหารความเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูงก่อน 

          4.      มีการวางแผนงานกับความเสี่ยงที่เราได้ลำดับความสำคัญ มีแผนหลักในการบริหารความเสี่ยง และควรมีแผนสำรองไว้ด้วย  การบริหารความเสี่ยงที่ดีคือ  การป้องกันความเสี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น  โดยการสร้างสรรค์แผนงานเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หรือ ทำให้ความเสี่ยงลดลง

........................  เพิ่มเติมข้อมูลได้นะคะ

คนึงนิจ อนุโรจน์

หมายเลขบันทึก: 121852เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2007 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท