6Q ที่องค์การต้องสนับสนุน


เพื่อให้ได้มีคนที่มีศักยภาพทั้งทางร่างกาย ด้านสติปํญญา ด้านอารมณ์ คุณธรรมจริยธรรม คนที่มีทักษะทางสังคม คนที่มุ่งมั่นทำงานเผชิญปัญหาอุปสรรคอย่างไม่ท้อถอย องค์การควรให้การสนับสนุน การพัฒนา IQ EQ AQ MQ SQ และ PQ ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ หรือบุคคลอาจจะมองในแง่ของการพัฒนาตนเองให้ถึงพร้อมทั้ง 6Q เพื่อดำรงตนให้เป็นผู้ที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน

6Q ที่องค์การต้องสนับสนุน 

 มีแนวคิดทางจิตวิทยากล่าวไว้ว่า คนเราจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้  ต้องประกอบไปด้วยความฉลาดทางปัญญา (IQ)  และ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) .ใช้สติปัญญาและการควบคุมอารมณ์ให้อยู่อย่างปกติสุข  หากแต่ปัจจุบันความสามารถหรือความฉลาดของมนุษย์ได้แตกแขนงออกไปอีกหลายด้าน แต่ละด้านมีองค์ประกอบสำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการทำงานเช่นกัน เช่น AQ PQ MQ LQ CQ หรือแห่งก็แบ่งออกไปตั้งแต่  AQ-ZQ  เลยทีเดียว แต่ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงเพียง 6 คิว ซึ่งมีความสำคัญและการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อยและเป็นสิ่งที่องค์การควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์การของท่าน มารู้จักกับ 6Q ที่ว่าดังต่อไปนี้นะครับ 

 

Intelligence Quotient (IQ) หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา  เชาวน์ไหวพริบ และมีความสามารถในการแก้ไขปัญหา  ในการทำงานแน่นอนว่า จะต้องใช้สติปัญญาที่จะคิดสร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา  คิดหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  โดยสามารถเสริมสร้างได้โดยการเรียนรู้ การฝึกอบรม การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง  

Emotion Quotient (EQ) หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ มีความสามารถในการระงับอารมณ์ เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีทักษะสร้างสรรค์ มีจิตนาการ  มีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขทั้งกายและใจ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่ต้องไปดูอื่นไกล เพียงเห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่น มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ อาจทำได้โดยการฝึกสมาธิบ่อยๆ เพราะหากคุณมีสมาธิแล้วก็ทำให้เกิดปัญญา  ไม่ตัดสินใจอะไรด้วยอารมณ์ความรู้สึก  ควรใช้เหตุและผลในการตัดสินใจแทน  การแสดงออกด้านอารมณ์ที่เหมาะสม  จะทำให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การที่คุณแสดงออกด้านอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้คุณมีความเหมาะสมในการขึ้นตำแหน่งด้วย   

Adversity Quotient (AQ) หมายถึง ความฉลาดในการเผชิญปัญหาหรือความสามารถที่จะเผชิญกับความยากลำบาก  อันนี้อาจจะเรียกว่า เป็นพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธ์ ไม่ย้อท้อต่อความยากลำบาก ไม่ถอดใจอะไรง่ายๆ เปรียบเทียบได้เหมือนกับ นักไต่เขา ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่งยวดกว่าจะถึงยอดเขา  โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ         

-กลุ่มแรก คือประเภทถอดใจตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่ม แค่เพียงเห็นความสูงของภูเขา และระยะทางอันยาวไกล ก็พาลล้มเลิกความคิดที่จะปีนเสียแล้ว แน่นอนว่าลักษณะพฤติกรรมแบบนี้ ถ้าเป็นการทำงาน คงไม่เป็นที่ต้องการขององค์การ การทำงานใดๆ ก็คงไม่ถึงเป้าหมาย          

-กลุ่มที่สอง ประเภทเอาสนุกเข้าว่า ตราบใดที่ยังรู้สึกสนุกอยู่ก็ยังไปต่อได้เรื่อยๆ แต่พอลำบากหนักๆ เข้า ทำให้หมดสนุก ก็จะเลิกล้มความตั้งใจเสียดื้อๆ          

-กลุ่มสุดท้าย คือ นักไต่เขาตัวจริง ที่สู้ไม่ถอย จะลำบากตรากตรำแค่ไหนก็ไม่หวั่น ยินดีที่จะทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และสติปัญญาเพื่อไปให้ถึงยอดเขาให้ได้ ที่แหละ คือ พวกที่มี AQ สูงจริงๆ และเป็นคนที่องค์การส่วนใหญ่ต้องการ องค์การสามารถสนับสนุนได้โดยการกำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ชี้ให้เห็นชัดว่าภูเขาลูกไหนกันแน่ที่เราจะต้องปีนให้ถึงยอด         

-สร้างแรงจูงใจ กำหนดรางวัลที่จูงใจให้พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และควรเป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น         

-มอบอำนาจให้ทีมงาน ให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด  และควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร         

-สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น ใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียด เอาใจใส่ในทุกข์สุขจากหัวหน้า จะเป็นกำลังใจอย่างมหาศาลแก่ลูกน้องด้วย         

-พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคได้         

-เมื่อเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหาหรือซ้ำเติมกันเอง แต่ต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน ในขณะเดียวกันหากใครทำดี ควรช่วยกันชื่นชมยกย่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีม         

-เฉลิมฉลองเมื่อทำงานเสร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจแก่ทีมงาน ทำให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่งผลถึงการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น 

Moral Quotient (MQ) หมายถึง ความฉลาดทางคุณธรรม มีความสามารถในการควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ความกตัญญู เป็นคนดี มีระเบียบวินัย  การฝึกตัวเองให้มีคุณธรรม คือ การฝึกให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีความเที่ยงตรง และมีธรรมะในการทำงาน นั่นคือ อิทธิบาท 4 ได้แก่          -ฉันทะ ความพอใจ  รักงานที่ทำ          -วิริยะ ความเพียร ความพยายาม          -จิตตะ มีความเอาใจใส่ เรียนรู้ในการทำงาน          -วิมังสา หมั่นทบทวนเอาใจใส่ต่องานโดยองค์การสามารถสนับสนุนได้โดยการส่งเสริมกิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ในองค์การ  

Physical Quotient (PQ) หมายถึง ความฉลาดทางพลานามัยมีความมั่นใจในการเคลื่อนไหว ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง นั่นคือการมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง การที่มีร่างกายที่แข็งแรง ก็เป็นพื นฐานที่ดีในการทำงาน หากร่างกายไม่พร้อมก็คงไม่สามารถทำงานได้   สุขภาพพลานามัยจะแข็งแรงได้ ก็ต้องมีเวลาออกกำลังกาย ดังจะเห็นได้ในบางองค์กร มีการจัดกิจกรรมและพื้นที่การออกกำลังกายให้กับพนักงาน  

Social Quotient (SQ) หมายถึง ทักษะทางสังคมการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น  เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากทุกๆคน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งกับสังคม จึงต้องใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่น โดยเฉพาะกับสถานที่ทำงาน ต้องพึ่งพาอาศัย และสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน มีการทำงานเป็นทีม จึงทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ องค์การควรให้สมาชิกในองค์การเข้าใจเรื่องการทำงานเป็นทีม การเข้าใจในเรื่องความแตกต่างของมนุษย์ การละลายพฤติกรรมให้สมาชิกได้มีเวลาใช้ชีวิตทำกิจกรรมร่วมกัน 

ดังนั้น  เพื่อให้ได้มีคนที่มีศักยภาพทั้งทางร่างกาย ด้านสติปํญญา ด้านอารมณ์ คุณธรรมจริยธรรม คนที่มีทักษะทางสังคม คนที่มุ่งมั่นทำงานเผชิญปัญหาอุปสรรคอย่างไม่ท้อถอย องค์การควรให้การสนับสนุน การพัฒนา IQ EQ AQ MQ SQ  และ PQ ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ หรือบุคคลอาจจะมองในแง่ของการพัฒนาตนเองให้ถึงพร้อมทั้ง 6Q เพื่อดำรงตนให้เป็นผู้ที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน 

หมายเลขบันทึก: 120915เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2007 03:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท